น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    บวชมาแล้วได้อะไรจากพระพุทธศาสนาบ้าง?
    อะไรของท่านที่รู้แจ้งคะ ใช่ตนเองรู้แจ้งใช่มั๊ย?
    ถ้าไม่มีตนเอง แล้วใครหรือ อะไร รู้แจ้งคะ ?

    ถ้าบอกว่าวิญญาณขันธ์ รู้แจ้ง
    วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตนของเรา

    แสดงว่าที่รู้แจ้งมาเนี่ยไม่ถูกนะคะ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เลยรู้แค่สอนหุ่นยนต์
     
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ท่านเชื่อว่า บาปบุญคุณโทษมีจริงหรือไม่?
    อย่าพูดขัดแย้งกันเองสิคะ อายเด็กที่ตามอ่านอยู่นะคะ
    ก่อนหน้านี้ ท่านบอกเองว่า สรรพสิ่งไม่มีตัวตน สรรพสิ่งว่าง พอมาตอนนี้ ยอมรับว่า มีจริง

    สุข-ทุกข์ จะมาเกิดที่ใจได้ไง ในเมื่อท่านเชื่อว่าสรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน
    เมื่อตัวตนไม่มี อะไรๆจะมีได้ยังไง ( สุข-ทุกข์ จะมีได้ไง )

    ความดีความชั่ว มันมีอยู่ในโลกมานานแล้ว มันไม่ได้ลอยไปลอยมานะคะ
    มันต้องมีที่ตั้งค่ะ ตั้งอยู่ที่จิตไงคะ เมื่อจิตดี ก็คิดดี จิตชั่ว ก็คิดชั่ว

    อย่างพวกโจร รู้ว่าการปล้นไม่ดี แต่ทำไมยังทำชั่วอยู่ล่ะคะ
    เพราะพวกโจรไม่มีพลังจิตในการปล่อยวางอารมณ์ ( ความโลภ ความอยาก...ฯลฯ ) ต่างหากล่ะคะ

    พระองค์จึงทรงสอนให้อบรมจิต
    เพื่อให้จิตมีพลังในการปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบจิตทางอายตนะทั้ง ๖
    คือ รู้สักแต่ว่ารู้ กระทบสักแต่ว่ากระทบ ( อันนี้ต้องระดับพระอริยสาวกนะคะ )
    รู้แล้วไม่ยึดสิ่งที่รู้นั้น ไม่ปรุงแต่งต่อ.......

    แต่ปุถุชน รู้แล้วยึดไว้อย่างเหนียวแน่น ปรุงแต่งต่อ...
    ผ้าเหลืองก็เป็นแค่เหมือนเครื่องแบบ ไม่ช่วยให้ รู้สักแต่ว่ารู้ได้
    ถ้าไม่ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘
    ก็จะรู้ผิดจากความเป็นจริง คิดว่ารู้ของตนเอง( มีตนนะเนี่ย) ถูกต้อง
    รู้ของตนอื่น ( ยังมีตนอยู่อีกแหนะ ) ไม่ถูก ตนอื่นโง่กว่าตนเอง

    เฮ้อ ก็บอกแล้ว ถ้าตนไม่มี แล้วเอาตนที่ไหนมาว่าตนอื่นโง่กว่าตนล่ะ
    เอาตนที่ไหนมาบวชเปลืองข้าวสุกชาวบ้านล่ะ
    เอาตนที่ไหนมาแสดงความโง่เขลาเบาปัญญาล่ะ ^_^
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ***ตัวของตัวยังไม่มี บุตรและทรัพย์จักมีมาแต่ที่ไหน(พุทธภาษิต)***

    ตัว(ขันธ์ ๕)ของตัว(ของเรา) ไม่มีสาระ ไม่ควรยึดถือ
    บุตร(เหมือนห่วงผูกคอ)และทรัพย์สิน(เหมือนห่วงผูกเท้า)

    พุทธภาษิตบทนี้ สอนให้รู้ว่า ขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่ไม่มีสาระ ( ไม่ใช่ไม่มีเรา)
    แต่เราไม่ควรจะยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ต่างหากล่ะ

    ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ทุกข์ก็ย่อมเกิดขึ้นกับเราเป็นธรรมดา
    แต่ถ้าเราปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้ ทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับ
    เรา

    อย่างเช่น พอลูกของเราเกิดเรื่อง เราเป็นทุกข์ เพราะเราไปยึดเรื่องที่เกิดขึ้นของลูกว่าเป็นเรื่องของเรา
    แต่พอลูกคนอื่นเกิดเรื่องเช่นกัน เรากลับไม่ทุกข์ เพราะเราไม่ยึดเรื่องที่เกิดขึ้นกับลูกคนอื่นว่าเป็น
    เรื่องของเรา

    สรุปชัดๆก็คือ

    ถ้าเรายึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เราก็ย่อมเป็นทุกข์

    เราฝึกจิตเพื่อให้ จิตของเราปล่อยวางความยึดมั่นในขันธ์ ๕
    จิตรู้อยู่ เห็นอยู่ ว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา( ไม่ใช่จิต) เรา(จิต)ไม่ใช่ขันธ์ ๕
    ถึงขันธ์ ๕ จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างไร
    เรา(จิต)หาเป็นทุกข์กับความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่

    ^_^ เรา ก็คือ จิต ก็คือ ตน

     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    (แอปเปิ้ล เป็นคำสมมุติ ( ไม่ใช่ติต่างนะคะ ) แต่เป็นบัญญัติซ้อนบัญญัติ)
    อันนี้ใครบอกคะ ท่านคิดเอง มั่วเองอีกแล้ว
    ที่เขียนมาหลาย คคห แสดงชัดเจนตลอดว่า
    มีเรา แต่เราไม่ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา

    เราต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘ นะไม่ใช่จินตภาพคิดเอา
    เมื่อปฏิบัติแล้ว เราจะไม่ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา
    เพราะเรารู้แล้วว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ขันธ์ ๕ ไม่เป็นเรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเรา
    ถึงขันธ์ ๕ จะแปรปรวนเป็นอย่างไรไป เราก็ไม่ทุกข์
    เพราะเราไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    และ เรา ก็คือ จิต หรือ ให้ชัดเจนกว่านั้น จิต คือ ตน คือ เรา
    ได้ยกพุทธพจน์แสดงประกอบไว้ใน คคห ข้างบนแล้ว สงสัยท่านจะไม่ได้อ่าน
    อายเด็กๆที่ตามอ่านหน่อยนะท่าน....^_^
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    (บัณฑิตพึงชำระตน คือจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส)
    (มีแต่ นิพพานํ ปรมํ สูญญํ ค่ะ นิพพาน สูญจากกิเลส อย่างสิ้นเชิง
    นิพพาน ว่างจากกิเลส)
    ***อย่างนั้นก็แสดงว่า มี ตน กับ กิเลส ***
    ตน ก็คือ จิต
    จิต มีกิเลส ( อวิชชา ตัณหา อุปาทาน )ครอบงำอยู่
    ยึดขันธ์ ๕ เป็นตน เพราะยังไม่รู้จักตนเอง
    เมื่อชำระจิต ขัดเกลาจิต จนจิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส
    จิตไม่ยึดขันธ์ ๕ เป็นตน เพราะจิตรู้แล้ว เห็นแล้ว ว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน

    ***และมีตนที่บริสุทธ์จากกิเลส รวมทั้งมี ตนนิพพานด้วย ใช่หรือไม่?***
    สภาวะจิตที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ก็คือ พระนิพพาน
    ดังปฐมพุทธอุทานว่า
     
  6. kunchatorn

    kunchatorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +110
    ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ...เราต้องรวมพลังกันต่อสู้เอาหลักสูตรบ้าๆ นี้ออกไป
    ต่อไปในอนาคตโลกคงวุ่นวายที่สุด ถือทำไมศีล 5 ศีล 8 อยากทำอะไรก็จะทำตายไปแล้วก็จบกัน ก็มันไม่มีสวรรค์ นรก จะไปกลัวทำไม ต้องสอนให้เด็กคิดอย่างนี้ใช่มั๊ย...บ้าสิ้นดี...เสียใจจริงๆ....ใครเป็นคนคัดเลือกหลักสูตรนี้ปัญญาอ่อนจริงๆ...โว้ย
     
  7. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบบ้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    (จิตคือธาตุรู้หรือ วิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์)<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p< p O:p<> </O:p<>
    <O:p< p O:p<>(และ เรา ก็คือ จิต หรือ ให้ชัดเจนกว่านั้น จิต คือ ตน คือ เรา )</O:p<>
    <O:p< p O:p<>(จิตก็อยู่ส่วนจิต ขันธ์ ๕ ก็อยู่ส่วนขันธ์ ๕ จิตไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนแล้ว) </O:p<>
    <O:p< p O:p<>(ใช่สิ เพราะจิตมันคือธาตุรู้ แต่อาศัยร่างกายอยู่ เพื่อใช้สำหรับติดต่อกับอารมณ์)</O:p<><O:p< p O:p<><O:p< O:p< font>
    ( จิตอยู่ได้โดยลำพังตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น )

    ***นี่แสดงว่า มีวิญญาณธาตุ(คือจิต หรือตัวตนของเรา) กับ วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นคนละส่วนกันใช่หรือไม่?***

    ***ถ้าใช่ก็แสดงว่า มันมีอีกสิ่งหนึ่งเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งก็คือเป็นขันธ์ที่ ๖ นั่นเอง(แต่ทำไม่ถึงปฏิเสธว่าไม่มีขันธ์ที่ ๖)***

    ***หรือพูดง่ายๆว่า จิตมาอาศัยร่างกายอยู่ แต่ถ้าไม่มีร่างกายแล้วจิตจะเป็นอย่างไร?***

    ***ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องเป็นว่า จิตเกิดมาจากขันธ์ ๕ ปรุงแต่งขึ้นมา ***

    ***อย่าเชื่อใคร แม้แต่ตัวเอง**

    (ฉันคืออะไร? เวบไซต์สำหรับบุคคลอัจฉริยะ www.whatami.net - www.whatami.5u.com )
    </O:p<>
    </O:p<>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2008
  8. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ต้องขอเรียนให้ท่านผู้คิดเองว่า อัจฉริยะ ทราบว่า ต้องเขาตำราว่า " ไปไม่ได้กลับ(อีกนานนนนน) แต่หลับก็ต้องตื่น แต่คงไม่เจอพวกเราแล้ว รอกันไม่ไหว"

    ขอท่านได้โปรดไปทางที่ท่านเลือกแล้วว่าชอบ ๆ เถิด อย่าได้เชิญชาวบ้านเขาไปด้วยเล๊ย ตรงนั้นท่านมีเพื่อนมากมายมหาศาลแล้วไม่ต้องขนไปอีก
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ยังไม่เห็นท่านตอบข้อข้องใจเลยค่ะ
    เห็นแต่ท่านถามแบบคนไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนา
    ทั้งๆที่เป็นพุทธบุตร ได้รับการขานนาคมา

    อรรถาธิบายให้ท่านฟังตั้งหลาย คคห แล้ว
    ท่านก็ยังถามคำถามเดิมๆแบบเด็กๆที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนาเลย

    ควรจะเปลี่ยนสโลแกนได้แล้วนะคะ

    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ
    น่าจะเป็น
    ตอบตามความพอใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เห็นท่าจะเหมาะสมกว่าค่ะ เพราะสิ่งที่ได้แสดงให้ท่านฟังมีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป
    ท่านยังไม่ยอมรับ แถมถามมันซ้ำๆซากๆแบบเดิมๆ

    ท่านลองดูข้อความที่ท่านเขียนไว้ว่า

    ส่วนทางเวบบอร์ดนี้ก็เหมือนกัน อาตมาก็ขอโทษด้วยที่ไม่อาจโต้ตอบด้วยได้
    เพราะยังหาผู้ที่จะเป็นสุภาพบุรุษ มีเหตุผลและยอมรับความจริงไม่เจอ
    อาตมาจะทำได้ก็เพียงตอบข้อข้องใจให้บ้างเท่านั้น.

    เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ลองพิจารณาดูนะคะว่าใครกันแน่ที่ไม่มีเหตุผลและไม่ยอมรับความจริง ^_^

    ท่านลองย้อนกลับไปอ่าน คคห ที่เราได้แสดงตอบข้อข้องใจของท่านดูนะคะ
    ว่าตรงไหนบ้างไม่ตรงกับพุทธพจน์ และตรงไหนไม่ถูกต้อง
    ไม่ถูกต้องอย่างไร ควรชี้แจงแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จะได้โชว์ภูมิรู้ภูมิธรรมของท่านนะคะ ( เพราะยังไม่เห็นเลยค่ะ )

    ^_^
     
  10. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    ควรจะเปลี่ยนสโลแกนได้แล้วนะคะ

    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ
    น่าจะเป็น
    ตอบตามความพอใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ
    ---------------------------------------------

    เหอๆๆ คิดได้ไงครับท่าน ธรรมะสวนัง สโลแกนนี้ถูกใจผมที่ซู๊ดดด

    เห็นด้วย ฟันธง!!!
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ***นี่แสดงว่า มีวิญญาณธาตุ(คือจิต หรือตัวตนของเรา) กับ วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นคนละส่วนกันใช่หรือไม่?***

    วิญญาณธาตุ คือ จิต คือ ธาตุรู้

    วิญญาณขันธ์ คือ กิริยาอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕
    ถ้าไม่มีวิญญาณธาตุ (จิต ) ก็จะมีวิญญาณขันธ์ ไม่ได้

    เพราะร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๖
    ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณธาตุ(ธาตุรู้ คือ จิต)

    อ้างอิง ธาตุวิภังคสูตร
    [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
    ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

    วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕
    เกิดจากการผัสสะของอายตนะภายใน ๖ กับ อายตนะภายนอก ๖
    เป็นวิญญาณ ๖ คือ
    วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก
    วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ

    อ้างอิง ฉฉักกสูตร
    [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว
    คือ บุคคลอาศัย จักษุ และ รูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ
    อาศัย โสตะ และ เสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ
    อาศัย ฆานะ และ กลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ
    อาศัย ชิวหา และ รส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
    อาศัย กาย และ โผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
    อาศัย มโน และ ธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว

    ^_^
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ***ถ้าใช่ก็แสดงว่า มันมีอีกสิ่งหนึ่งเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งก็คือเป็นขันธ์ที่ ๖ นั่นเอง(แต่ทำไม่ถึงปฏิเสธว่าไม่มีขันธ์ที่ ๖)***

    เห็นพระสูตรที่ยกมาแสดงแล้วนะคะ พระองค์ไม่ได้บัญญัติขันธ์ ๖
    บอกตั้งหลายหนแล้วว่า ท่านอย่าเดาสวดเองสิคะ พยายามยัดเยียดให้มีขันธ์ ๖ อยู่ได้

    จิต คือ วิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์

    ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๖ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณธาตุ(จิต)
    มนุษย์จึงรู้อะไรได้

    ส่วนรูปชนิดอื่นเช่น โต๊ะ เก้าอี้ ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    ไม่มีวิญญาณธาตุ(จิต) จึงรู้อะไรไม่ได้

    ^_^



     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ***หรือพูดง่ายๆว่า จิตมาอาศัยร่างกายอยู่ แต่ถ้าไม่มีร่างกายแล้วจิตจะเป็นอย่างไร?***
    ***ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องเป็นว่า จิตเกิดมาจากขันธ์ ๕ ปรุงแต่งขึ้นมา ***

    จิต ก็ยังคงเป็น วิญญาณธาตุ (ธาตุรู้) อยู่นั่นเอง
    จิต คงไม่กลายเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะถ้าไม่มีจิต วิญญาณขันธ์ ก็มีไม่ได้

    ^_^



     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    จิต ไม่ใช่ ขันธ์ ๕

    อ้างอิงฉวิโสธนสูตร

    ฯลฯ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า<O:p</O:p
    จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ฯ

    [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว<O:p</O:p
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ<O:p</O:p
    สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ<O:p</O:p
    จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วแลว่า <O:p</O:p
    ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ

    จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ<O:p</O:p
    และสลัดคืนซึ่ง อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ<O:p</O:p
    และอนุสัย คือ ความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณได้

    ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล<O:p</O:p
    จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

    ^
    พระสูตรนี้ชี้ชัดๆว่า จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕<O:p</O:p
    จิตคือ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ว่าตนหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ แล้ว ^_^<O:p</O:p
     
  15. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    (อ้างอิง นาวาสูตร)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
    เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ของผู้ไม่รู้ ไม่เห็น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคล รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไร จึงมีความสิ้นแห่งอาสวะ

    เมื่อบุคคล รู้อยู่ เห็นอยู่ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังนี้
    ความเกิดขึ้นแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังนี้
    ความดับแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังนี้ จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ

    <O:p</O:pฯลฯดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่
    ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นได้เลย

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร
    เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔
    เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕ เพราะไม่อบรมพละ ๕ เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗
    เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘

    ฯลฯ
    เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ก็จริงอยู่
    ถึงอย่างนั้น จิตย่อมพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

    ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธออบรม เพราะอบรมอะไร
    เพราะอบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะอบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะอบรมอิทธิบาท ๔
    เพราะอบรมอินทรีย์ ๕ เพราะอบรมพละ ๕ เพราะอบรมโพชฌงค์ ๗
    เพราะอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘

    ^
    สรุปจากนาวาสูตร

    จิต คือ ผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่
    ต้องอบรมจิต จิตจึงจะพ้นจากอาสวะ(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เพราะไม่ถือมั่น

    จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์
    แต่จิตพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(ขันธ์) ^_^


    <O:p
     
  16. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อ้างอิง มหาวิยูหสุตตนิทเทส

    [๖๙๑] คำว่า มุนีละอาสวะอันมีก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ความว่า

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนอดีต เรียกว่า อาสวะอันมีในก่อน
    กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึงสังขารส่วนอดีต
    มุนีละ สละ บริจาค สลัด บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสเหล่านั้น
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละอาสวะอันมีในก่อน

    คำว่า ไม่ทำอาสวะใหม่ ความว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนปัจจุบัน เรียกว่า อาสวะใหม่
    มุนีไม่ทำความพอใจ ไม่ทำความรักใคร่ ไม่ทำความกำหนัด ปรารภถึงสังขารส่วนปัจจุบัน
    คือ ไม่ให้เกิดไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ

    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่

    ^
    จิต ย่อมพ้นจาก อาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
    อาสวะ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ขันธ์ ๕

    จิต ไม่ใช่ อาสวะ ดังนั้น จิต ไม่ใช่ วิญญาณขันธ์
    และ จิต ไม่ใช่ ขันธ์ ๖ ไม่เคยบัญญัติขันธ์ ๖ ไว้
    ดังนั้น อย่ามั่งเอง อย่าเดาสวด อายเด็กๆที่ตามท่านมานะคะ ^_^
     
  17. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขอฝากอีกนิดนะคะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่
    ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นได้เลย

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร
    เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔
    เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔
    เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔
    เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕
    เพราะไม่อบรมพละ ๕
    เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗
    เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘

    ^
    ถ้าภิกษุไม่อบรมจิต ไม่ประกอบภาวนานุโยค
    โดยการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘
    จิตก็ไม่พ้นไปจากขันธ์ ๕ ได้และจะหลงผิดเห็นว่า จิต คือ ขันธ์ ๕

    ต้องอบรมจิต ต้องปฏิบัติภาวนานุโยค
    โดยการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘
    จิตจึงจะพ้นจากขันธ์ ๕ ได้และจะเห็นว่า
    ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา


    เรา ก็คือ จิต เพราะเรา(คือจิต)คือผู้ปฏิบัติ เรา(จิต)จึงเป็นผู้รู้ ผู้เห็น
    คนอื่นคงจะเห็นแทนเรา(จิต)ไม่ได้
    ^_^
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมนาคุณธรรมะสวนังครับ
    ถ้าศาสนาพุทธ ไม่มีเรื่องการชำระจิตแล้ว ก็คงไม่ต่างจากศาสนาอื่นซักเท่าไหร่
     
  19. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    (***หรือพูดง่ายๆว่า จิตมาอาศัยร่างกายอยู่ แต่ถ้าไม่มีร่างกายแล้วจิตจะเป็นอย่างไร?***
    ***ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องเป็นว่า จิตเกิดมาจากขันธ์ ๕ ปรุงแต่งขึ้นมา ***

    จิต ก็ยังคงเป็น วิญญาณธาตุ (ธาตุรู้) อยู่นั่นเอง
    จิต คงไม่กลายเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะถ้าไม่มีจิต วิญญาณขันธ์ ก็มีไม่ได้)


    ***นี่ก็หมายถึงว่า เมื่อร่างกายตาย แต่จิตจะไม่ดับหายไป ยังคงสามารถตั้งอยู่ได้(หรือแม้ไปเกิดใหม่ได้)โดยไม่ต้องมีร่างกายก็ได้ใช่หรือไม่?**



    (ฉันคืออะไร? เวบไซต์สำหรับบุคคลอัจฉริยะ www.whatami.net - www.whatami.5u.com )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2008
  20. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ***อาตมาพอจะจับแนวทางของคุณโยม ธรรมะสวนัง ได้แล้ว ***

    ***เรื่องอื่นเอาไว้ตอบกันทีหลัง เอาเรื่องนี้ก่อน คืออาตมาอยากจะถามว่า***

    ***คุณโยมยอมรับหรือไม่ว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นและตั้งอยู่ จะต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ทั้งสิ้น"***

    ***ก่อนตอบควรพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน ถ้าตอบอย่างใดลงไปแล้วจะมาบิดพริ้วภายหลังไม่ได้(ถ้าบิดพริ้วแสดงว่าเป็นคนไม่จริง)***

    ***ขออธิบายอีกนิด คำว่า"ทุกสิ่ง" ก็หมายถึงทุกสิ่งจริงๆไม่เว้นสิ่งใดเลย*

    *คำว่า "เกิดขึ้น" ก็หมายถึง จากไม่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมามีในภายหลัง*

    *คำว่า "ต้งอยู่" ก็หมายถึง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วแต่ยังไม่ดับหายไป*

    *คำว่า"เหตุ" หมายถึง สิ่งที่มากระทำ หรือมาสร้าง(หรือมาปรุงแต่ง)*

    *คำว่า"ปัจจัย" หมายถึง เหตุย่อยๆ หรือ สิ่งที่มาช่วยสนับสนุน*

    ***ถ้ายอมรับ ก็ช่วยอธิบายว่าเพราะอะไร***

    ***แต่ถ้าไม่ยอมรับ ก็ช่วยอธิบายว่าเพราะอะไร?***

    ***ใจเย็นๆ อย่ามี อคติ จึงจะมีสมาธิ ถ้าโกรธ อาฆาตพยาบาท ก็ไม่มีสมาธิ แล้วปัญญาก็จะไม่เกิด***

    (ฉันคืออะไร? เวบไซต์สำหรับบุคคลอัจฉริยะ www.whatami.net - www.whatami.5u.com )
     

แชร์หน้านี้

Loading...