น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ***หายไปครึ่งค่อนเดือน***

    ***กลับวัดท่าใหม่ นึกว่าจะมีอะไรใหม่ๆ***

    ***กลับมาเหมือนเดิม***
    ;aa23
    ***ช่วยตอบหน่อยว่า...***
     
  2. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    มามอบเพลงนี้เพื่อเป็นอนุสติแก่ท่านผู้คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่และทรงปัญญา...หวังว่าท่านคงฉลาดพอที่จะเข้าใจความหมายและคงจะร้องเพลงได้นะค่ะ


    เพลง ถามคนไทย

    หัวใจถูกแทงกี่ขั้ว ตามตัวถูกฟันกี่แผล
    ปู่ไทยตายไปกี่คนแน่ ไทยจึงได้แผ่มาถึงแหลมทอง
    กระดูกไทยกระเด็นไปกี่ท่อน เชิงตะกอนเผาไปกี่หน
    คอขาดกันไปกี่คน ไทยทุกคนจึงได้ไทยครอบครอง
    เสียเลือดกันไปเท่าไหร่ เสียใจกันไปกี่ครั้ง
    น้ำตาของไทยไหลหลั่ง ทุกๆครั้งที่ถูกเฉือนขวานทอง
    เข่นฆ่ากันทำไม เราเป็นคนไทยด้วยกันทั้งผอง

    ไทยฆ่าไทย ให้ชาติอื่นครอง

    วิญญาณปู่จะร้องคุณลูกหลานจัญไร!

    ไทยฆ่าไทย ให้ชาติอื่นครอง

    วิญญาณปู่จะร้องคุณลูกหลานจัญไร!


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  3. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    แล้วช่วยพิจารณาตนเองต่อด้วยอีกนิดว่า เป็นคนครองผ้าเหลือง ต้องถือศีลถึง 227 ข้อนะ แต่ถามแบบกระซิบว่า ศีล 5 นะครบรึป่าวจ๊ะ
     
  4. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    พระศรีอาริย์ ท่านยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่เลยจะรีบไปศึกษาอะไรกันนักหนา....

    ธรรมะของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันยังอยู่ครบ ทำไมถึงมองข้ามกันนัก คนเราก็แปลกๆๆ...
     
  5. Ton_Ton

    Ton_Ton เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,249
    ค่าพลัง:
    +4,750
    อย่างนี้ก็ย่ำแย่มากแล้วละครับ จึงไม่แปลกเลยที่ปัจจุบันสังคมถึงเป็นแบบนี้
     
  6. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    คุณเตช มาทวงรายละเอียดหนังสือที่คุณแต่ง อ่ะ เมื่อไหร่จะโพสให้ซักทีจะได้ร้ององค์กรพุทธให้ตรวจสอบดีกว่าปล่อยปัญหาคาราคาซัง ให้คุณตะแบงเอาสีข้างถูๆไถไปน้ำขุ่นๆไปเรื่อยๆ กรุณากลับไปอ่านที่พวกเพื่อนๆเราๆโพสมาจะได้ไม่ต้องก้อปคำถามซ้ำๆโพสมันส่งๆไปเพราะคุณหมดปัญยาหมดมุข แล้ว (แรงตามลม เพราะนั่งรอคุณเอื้อเฟื้อรายระเอียดส่งฟ้องมานาน) กรุณาให้ความร่วมมือกันหน่อยซิคุณเตช
     
  7. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ***การที่คนจะทำความดีนั้นเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะเขาอยากขึ้นสวรรค์บนฟ้าหรือ? ถ้าอย่างนั้นทุกคนที่ไม่เชื่อว่าสวรรค์บนฟ้ามีจริง เขาก็ไม่ทำความดีกันหมดใช่หรือไม่?***

    ***การที่คนไม่ทำความชั่ว เป็นเพราะเขากลัวตกนรกใต้ดินเช่นนั้นหรือ? ถ้าอย่างนั้น คนที่ไม่เชื่อเรื่องนรกใต้ดิน เขาก็ทำความชั่วกันหมด ใช้หรือไม่?***

    ***คนเราจะทำความดี ก็เพราะมีกิเลสน้อย ใช่หรือไม่?***

    ***ส่วนคนที่ทำความชั่ว ก็เพราะเขามีกิเลสมาก ใช่หรือไม่?***

    ***การสอนให้คนเข้าใจว่ามีตนเอง ก็เท่ากับส่งเสริมให้เขามีความยึดถือหรือมีมีกิเลสมากขึ้น ใช่หรือไม่?***

    ***ส่วนการสอนให้คนเห็นว่าไม่มีตัวเอง จะเป็นการทำลายความยึดถือหรือทำลายกิเลสมิใช่หรือ?***

    ***ใช้ความคิดกันให้มากกว่านี้ ให้สมกับเป็นพุทธบริษัท ที่หมายถึงผู้ที่นั่งห้อมล้มพระพุทธเจ้ากันบ้าง (อย่าให้เสียชื่อพุทธะ)***

    ***อย่าเชื่อใคร แม้แต่ตัวเอง***


    (ฉันคืออะไร? = เวบไซต์สำหรับบุคคลอัจฉริยะ www.whatami.net - www.whatami.5u.com )
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เตชะควรเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพุทธศาสนาเสียใหม่ว่า
    พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าทางโลก
    ย่อมแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ทางโลกโดยสิ้นเชิง

    ซึ่งจะอาศัยเพียงความคิดอย่างเดียวเพื่อให้ความคิดตกผลึก
    ก็อาจจะได้เพียงตรรกะเบื้องต้นไปเท่านั้น
    ไม่สามารถเข้าถึงความสามารถทางจิตที่ต้องฝึกฝนเอาเอง

    เช่นคนเราจะทำความดีไม่ใช่เพราะกิเลสน้อยเท่านั้น
    แต่เป็นเพราะเค้ามีความสามารถในการควบคุมจิตให้เป็นไปตามที่คาดหวัง
    ถึงไม่มีใครเห็นหรือมีเหตุผลพอ เค้าก็ยังทำความดี
    แต่อาจมีกิเลสในส่วนอื่น(โลภในการหาทรัพย์)อยู่มากก็เป็นไปได้

    ผิดกับบางคนที่ยังพอใจกับการที่มีงานทำ มีเงินใช้ ไม่เคยเบียดเบียนใคร
    และดื่มสุราเพียงเพื่อผ่อนคลายเท่านั้น แต่ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร
    จะว่าเค้ามีกิเลสมากหรือถึงได้ทำชั่วโดยการชอบดื่มสุราทุกวัน
    เพราะเค้าไม่มีความสามารถควบคุมจิตในเรื่องนี้ต่างหาก

    ฉะนั้นถ้าเรายังคิดว่านั่งล้อมวงจอมศาสดาอยู่ เราควรเดินรอยตามท่านที่กล่าวไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิ(สัมมาสมาธิ)ให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

    ถ้ายังไม่เคยลงมือปฏิบัติสัมมาสมาธิแล้ว อย่าเพิ่งรีบสรุปอะไรเพียงแค่ตาเห็นเท่านั้น

    ;welcome2
     
  9. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=F11T>แจ้งเวบไซต์ทำลายหรือบิดเบือนคำสอนพุทธศาสนาได้ที่นี่...ด่วน

    http://www.onab.go.th/

    สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    e-Mail : webrad@emisc.moe.go.th

    ********************************
    </TD></TR><TR><TD>ทำไมจึงไม่มีใครมาตรวสอบเวบนี้ ทั้งๆที่เวบนี้เผยแพร่มานานแล้ว
    อาจเป็นเพราะ....
    ๑. ไม่มีเจ้าหน้าที่ในหน่วนงานนี้โดยเฉพาะ
    ๒. หรือมีแต่เขาไม่ว่าง
    ๓. หรือเวบนี้เส้นใหญ่
    ๔. หรือเขาตรวจสอบเล้วไม่พบความผิด
    ๕. หรือเขากำลังรวบรวมหลักฐานอยู่
    ๖. หรือเขาสั่งปิดเวบแล้ว แต่ยังดื้อดึงอยู่
    ๗. หรืออาจยังไม่เคยมีใครแจ้งไปเลยสักราย
    ๘. หรือผู้ที่มาตรวจสอบเมื่อตรวจสอบแล้ว เกิดบังเอิญมีดวงตาเห็นธรรม เขาเลยยิ่งสนับสนุน

    (ฉันคืออะไร? = เวบไซต์สำหรับบุคคลอัจฉริยะ www.whatami.net - www.whatami.5u.com )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    คุณจะให้ผู้ใดมาตรวจสอบคุณหละ (ตรวจสอบตัวเองนั่นแระสำคัญที่สุด) ในนี้เขาขอให้คุณแสดงตัวตน ตอบข้อสงสัยและข้อถกเถียงกัน .. คุณยังไม่กล้าเลย

    ถ้าไม่เชื่อ ลองวางใจเป็นกลาง แล้วไปอ่านทบทวนตั้งแต่หน้าแรกนั่นแระ จนชาวประชาเขาละอายใจตัวเองกันหมดแล้วท่าน...แล้วท่านไม่ละอายแก่ใจตัวเองบ้างเลยหรือค่ะ
     
  11. พระพุทธจิต

    พระพุทธจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นยังไปเป็นไปด้วยเหตุด้วยผลอยู่และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอนัตตานั้น จะต้องทำความเข้าใจให้ดี
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    อนิจจังคือสิ่งที่ยังมีการเกิด ดับ อยู่ เกิดๆ ดับๆ เกิดๆดับๆ มันจึงเป็นทุกข์คือทนได้ยากลำบากต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ยัง เกิด ดับ อยู่ ทนได้ยากต้องเปลี่ยนแปลงไปนั้น มันจึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะเมื่อมัน ยังต้องเกิดๆ ดับๆ ต้องเปลี่นแปลงไปทนได้ยาก มันจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีสาระแก่นสารให้เรายึดถือว่ามันเป็นตัวตนของเรา นี้แลคือหลัก พระไตรลักษณ์ อันเป็นสัมมาทิฎฐิ
    ส่วน นอกเหตุ เหนือผล นั้นคือแก่นแท้ในพระศาสนาคือ พระนิพพาน นิพพานนั้นไม่เป็นไปด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกแล้ว เป็น อสังขตธรรม คือธรรมที่ไม่มีการปรุงแต่ง สิ้นสมมุติ หมดบัญญัติ ไม่ใช่การตรึกตามตรรก ไม่ใช่การหมายรู้ จากสังขาร คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร
    หากแต่จิตยังยึด อนัตตาอยู่แล้วไซร้ สิ่งนั้นก็ยังเป็นพียงสมมุติอยู่ หาใช่ วิมุติ ไม่
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ก็คือ
    การปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือก็คือการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔
    โดยเริ่มต้นจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิ เพื่อให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนของเรา

    เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณ หรือขันธ์ ๕
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    สามัญสัตว์โลก จิตมีอวิชชาครอบงำ จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง
    จิตหลงยึด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตัวตนของตน
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป
    จิตก็แปรปรวนตาม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แปรปรวนไป
    พลอยเกิดพลอยดับตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดดับ
    จึงต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์
    ตกอยู่ใต้อำนาจพระไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    พระพุทธองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติอริยมรรค ๘ ตามเสด็จ
    เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา
    จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง จิตรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตรู้แล้วว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตนของตน
    จิตปล่อยวางการยึดถือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป
    จิตก็ไม่แปรปรวนตาม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แปรปรวนไป
    ไม่พลอยเกิดพลอยดับตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดดับ
    ไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์
    พ้นจากอำนาจพระไตรลักษณ์ ไม่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    หากจิตยังยึดขันธ์ ๕ (ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของตน) อยู่แล้วไซร้
    จิตก็หาได้ถึงวิมุตติไม่
    ต่อเมื่อจิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของตน นั่นแล
    จิตสิ้นการปรุงแต่ง( เป็นวิสังขาร) บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว
    เป็นอมตธรรม ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

    (smile)
     
  13. พระพุทธจิต

    พระพุทธจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    "อันสัจธรรมเมื่อเกิดขึ้นแก่พระอริยเจ้าแล้ว สัจธรรมนั้นย่อมเป็นสัจธรรมแท้
    สัจธรรมใดเมื่อเกิดแก่ปุถุชนแล้ว สัจธรรมนั้นเป็นสัจธรรมปฏิรูป"

    พระพุทธศาสนาที่เรานับถือกันอยู่ทุกวันนี้ นั้นยังเต็มไปด้วยสาระแก่นสาร เป็นศาสนาที่ เมื่อปฏิบัติตามพระอนุสาสนีอันองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพุทธโคคม ย่อมจะทำให้ผู้ปฏิบัติตามสำเร็จประโยชน์ได้

    พระองค์ทรงข้ามโอฆะอันคนอื่นข้ามได้ยาก ทรงละแล้วซึ่งมารแลเสนามารคือกิเลสอาสวะ พระองค์ทรงข้ามภพ ทั้ง ๓ และกำเนิดทั้งปวง สู่พระนิพพานอันยอดยิ่ง ไม่เกี่ยวเนื่องพัวพันด้วยขันธ์ ๕ ระงับจากสังขารทั้งปวง

    เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว พ้นทุกข์แล้วทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนหมู่สัตว์ให้พ้นทุกข์ตามด้วย เป็น นิยานิกธรรม ทรงมีพระมหากรุณาที่คุณหาประมาณมิได้

    ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนทุกท่าน อย่าได้หลงตามผู้ที่ยังมีความหลง จงเป็นพุทธอย่างแท้จริง คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    ธรรมอันใดที่เป็นไปเพื่อความกำหนัดยินดี ความหลง พระพุทธเจ้าท่านไม่สรรเสริญ ทรงสรรเสริญธรรมที่ ปราศจากราคะ สิ้นความหลง มิจฉาทิฎฐิ อวิชา

    มิจฉาทิฎฐินั้น เป็น อธรรม ที่อันตรายอย่างยิ่ง บุคคลผู้ใดเป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของนักปราชญ์ อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น บุคคลผู้นั้นเป็นโมฆะบุรุษผู้มืดบอด ต่อไปจักห่างไกลต่อพระสัจธรรมอันแท้จริง แล้วถ้าสอนให้บุคคลอื่นคล้อยตามด้วยความหลงผิดเป็นเจ้าลัทธินั่นแล้วไซร้ ย่อมผิดโทษมหันต์ ต้องมืดบอดอยู่ในโลกันตนรก

    กุปธรรม คือธรรมยังมีความกำเริบอยู่ ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรมแล้ว บอกว่าตนละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีการกำเริบได้อยู่นั้น แสดงว่าผู้นั้นยังไม่เป็น บุรุษ คู่ ๔ เป็นเพียงปุถุชน
    อกุปธรรม คือธรรมที่ไม่กลับกรอกอีกแล้วไม่มีความกำเริบ เป็นธรรมอันพระอริยชนพึงมี พึงเห็น พึงแจ้งประจักษ์ แก่ใจ

    " พุทธศาสนา สอนให้คนพ้นทุกข์

    วิทยาศาสตร์ ทำให้คนมีความสุข"
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เตชะอย่าให้ราคาตัวเองสูงเกินไปเลย
    ที่ไม่ไปตรวจสอบเพราะเป็นเพียงเวบเล็กๆ<O:p</O:p
    ที่มีนักบวชบางคนที่พยายามแสดงความเป็นอัจฉริยะทางความคิดว่า <O:p</O:p
     
  15. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    <CENTER>บทที่ ๑ หลักพุทธศาสนาโดยสรุป</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>หลักความเชื่อ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>๑. ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือจะสอนให้ผู้นับถือมีปัญญาอย่างแท้จริง </CENTER><CENTER>
    ๒. เชื่อถือธรรมชาติว่าเป็นสิ่งสูงสุด ซึ่งเทียบได้กับพระเจ้าของศาสนาคริสต์ </CENTER><CENTER>
    ๓. เชื่อว่าชีวิตเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ คือเชื่อว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งตายตัว แต่สามารถพัฒนาได้ </CENTER><CENTER>
    ๔. เชื่อความจริง คือเชื่อสิ่งที่ได้พิสูจน์จนเห็นจริงแล้วเท่านั้น </CENTER><CENTER>
    ๕. เชื่อกรรม คือ เชื่อว่าเมื่อเราทำอะไรลงไปด้วยเจตนา มันย่อมมีผลต่อจิตใจเสมอ </CENTER><CENTER>
    ๖. เชื่อความเพียร คือ เชื่อว่าเมื่อมีความพยายามอย่างถูกต้อง ย่อมจะประสบผลสำเร็จได้ </CENTER><CENTER>
    ๗. ไม่เชื่อจากเขาว่ามา คือไม่เชื่อจากผู้อื่นบอกกล่าวมา ไม่ว่าจะกรณีใด </CENTER><CENTER>
    ๘. ไม่มีการบังคับให้เชื่อ คือจะให้อิสระแก่ผู้ที่นับถืออย่างเต็มที่ </CENTER><CENTER>
    ๙. ไม่เชื่อเรื่องงมงาย เช่น เรื่องไสยศาสตร์,สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ,ดวงชะตา,โชค, ลาง, ผี, เทวดา เป็นต้น </CENTER><CENTER>
    ๑๐. ไม่เชื่อเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อน คือพุทธศาสนาจะสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบันเท่านั้น </CENTER><CENTER>
    หลักคำสอน</CENTER><CENTER>
    ๑. สอนว่าทุกสิ่งเกิดมาจากเหตุ และจะดับหายไปเมื่อเหตุของมันดับลง </CENTER><CENTER>
    ๒. สอนว่าจิตสำคัญที่สุด คือจะให้ความสำคัญแก่จิตมากกว่าวัตถุ </CENTER><CENTER>
    ๓. สอนให้พึ่งตนเอง คือไม่สอนให้อ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือใครมาช่วย </CENTER><CENTER>
    ๔. สอนให้รักผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เป็นศัตรูกับใคร </CENTER><CENTER>
    ๕. สอนให้ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย งดเว้นอบายมุข สิ่งเสพติด และสิ่งฟุ่มเฟือย </CENTER><CENTER>
    ๖. สอนให้มีสติ อย่าประมาท ให้หมั่นฝึกฝนสมาธิ และอบรมปัญญาอยู่เสมอ </CENTER><CENTER>
    ๗. สอนให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย เพื่อที่จิตจะได้นิพพาน </CENTER><CENTER>
    ๘. สอนว่า นิพพาน คือความสงบเย็นของจิตใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นขณะที่จิตบริสุทธิ์จากกิเลส </CENTER><CENTER>
    ๙. สอนให้ละเว้นความชั่ว แล้วทำแต่ความดี รวมทั้งทำจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลส </CENTER><CENTER>
    ๑๐. สอนว่า นรก คือ ร้อนใจ , สวรรค์ คือ อิ่มใจ ในขณะที่กำลังทำความชั่วและความดีอยู่ </CENTER><CENTER>
    (ฉันคืออะไร? = เวบไซต์สำหรับบุคคลอัจฉริยะ www.whatami.net - www.whatami.5u.com )
    </CENTER>
    <DD>


    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2008
  16. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ตอบข้อข้องใจเตชปัญโญ

    <CENTER>บทที่ ๑ หลักพุทธศาสนาโดยสรุป</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หลักความเชื่อ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>๑. ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือจะสอนให้ผู้นับถือมีปัญญาอย่างแท้จริง </CENTER><CENTER>๑.แล้วถ้าผู้สอนมีปัญญา+อวิชาอย่างเตชปัญโญ จะสอนให้คนอื่นมีปัญหามากกว่าปัญญา ทางที่ดีสอนตัวเองดีกว่าใหม </CENTER><CENTER>

    ๒. เชื่อถือธรรมชาติว่าเป็นสิ่งสูงสุด ซึ่งเทียบได้กับพระเจ้าของศาสนาคริสต์
    </CENTER><CENTER>๒. น่าจะไปนับถือคริสต์ เข้ารีดเข้ารอยอาจจะดีขึ้น</CENTER><CENTER>



    ๓. เชื่อว่าชีวิตเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ คือเชื่อว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งตายตัว แต่สามารถพัฒนาได้ </CENTER><CENTER>๓. ก็จริงนะครับ แต่เตชะปัญโญไม่เห็นพัฒนาอะไรเลย เดิมๆๆๆ</CENTER><CENTER>


    ๔. เชื่อความจริง คือเชื่อสิ่งที่ได้พิสูจน์จนเห็นจริงแล้วเท่านั้น </CENTER><CENTER>๔. น่าไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ </CENTER><CENTER>


    ๕. เชื่อกรรม คือ เชื่อว่าเมื่อเราทำอะไรลงไปด้วยเจตนา มันย่อมมีผลต่อจิตใจ</CENTER><CENTER>เสมอ </CENTER><CENTER>๕. อันนี้ค่อยเข้าท่าหน่อย แต่เชื่อจริงหรือเปล่า แล้วที่เจตนาบิดเบือนพระธรรมคำสอน เป็นมิจฉาทิษฐิ จิตใจเป็นอย่างไรบ้างล่ะ</CENTER><CENTER>


    ๖. เชื่อความเพียร คือ เชื่อว่าเมื่อมีความพยายามอย่างถูกต้อง ย่อมจะประสบผลสำเร็จได้ </CENTER><CENTER>๖. สาธุ</CENTER><CENTER>


    ๗. ไม่เชื่อจากเขาว่ามา คือไม่เชื่อจากผู้อื่นบอกกล่าวมา ไม่ว่าจะกรณีใด </CENTER><CENTER>๗. ข้อนี้น่าสงสารจริงๆ </CENTER><CENTER>


    ๘. ไม่มีการบังคับให้เชื่อ คือจะให้อิสระแก่ผู้ที่นับถืออย่างเต็มที่ </CENTER><CENTER>๘. ยังมีคนนับถืออยู่หรือ</CENTER><CENTER>


    ๙. ไม่เชื่อเรื่องงมงาย เช่น เรื่องไสยศาสตร์,สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ,ดวงชะตา,โชค, ลาง, ผี, เทวดา เป็นต้น </CENTER><CENTER>๙. ที่งมงายที่สุดก็คือเตชปัญโญ </CENTER><CENTER>


    ๑๐. ไม่เชื่อเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อน คือพุทธศาสนาจะสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบันเท่านั้น </CENTER><CENTER>๑๐. ไปเอามาจากไหนที่ว่าพุทธศาสนาสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบัน?</CENTER><CENTER>



    หลักคำสอน</CENTER><CENTER>



    ๑. สอนว่าทุกสิ่งเกิดมาจากเหตุ และจะดับหายไปเมื่อเหตุของมันดับลง </CENTER><CENTER>๑. แล้วเหตุมาจากอะไร?</CENTER><CENTER>


    ๒. สอนว่าจิตสำคัญที่สุด คือจะให้ความสำคัญแก่จิตมากกว่าวัตถุ </CENTER><CENTER>๒. แล้วจิตคืออะไร มาจากไหน ?</CENTER><CENTER>


    ๓. สอนให้พึ่งตนเอง คือไม่สอนให้อ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือใครมาช่วย </CENTER><CENTER>๓. ที่เตชปัญโญขอข้าวชาวบ้านกิน เป็นการพึ่งตนเองหรือเปล่า</CENTER><CENTER>


    ๔. สอนให้รักผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เป็นศัตรูกับใคร </CENTER><CENTER>๔. สาธุ</CENTER><CENTER>


    ๕. สอนให้ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย งดเว้นอบายมุข สิ่งเสพติด และสิ่งฟุ่มเฟือย</CENTER><CENTER>๕. สาธุ </CENTER><CENTER>


    ๖. สอนให้มีสติ อย่าประมาท ให้หมั่นฝึกฝนสมาธิ และอบรมปัญญาอยู่เสมอ </CENTER><CENTER>๖. ถ้าเป็นปัญญาสัมมาทิษฐิก็สาธุด้วย แต่...........</CENTER><CENTER>


    ๗. สอนให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย เพื่อที่จิตจะได้นิพพาน </CENTER><CENTER>๗. รู้จักนิพพานจริงหรือ</CENTER><CENTER>


    ๘. สอนว่า นิพพาน คือความสงบเย็นของจิตใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นขณะที่จิตบริสุทธิ์จากกิเลส </CENTER><CENTER>๘. นิพพานเตชปัญโญ เกิดขึ้นเป็นขณะๆๆๆ</CENTER><CENTER>


    ๙. สอนให้ละเว้นความชั่ว แล้วทำแต่ความดี รวมทั้งทำจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลส</CENTER><CENTER>๙. สอนตัวเองให้มากๆ โดยเฉพาะที่ทำชั่วแล้วคิดเอาเองว่าดี </CENTER><CENTER>


    ๑๐. สอนว่า นรก คือ ร้อนใจ , สวรรค์ คือ อิ่มใจ ในขณะที่กำลังทำความชั่ว</CENTER><CENTER>และความดีอยู่ </CENTER><CENTER>๑๐. อยากรู้ใหม นรกเป็นอย่างไร ไปอ่านกระทู้นี้เผื่อจะหายโง่บ้าง http://palungjit.org/showthread.php?t=154406</CENTER><CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2008
  17. พระพุทธจิต

    พระพุทธจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    <CENTER>ถึงท่านเตชะปัญโญ</CENTER><CENTER>บทที่ ๑ หลักพุทธศาสนาโดยสรุป</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>หลักความเชื่อ</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>๑. ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือจะสอนให้ผู้นับถือมีปัญญาอย่างแท้จริง </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อถูกต้อง แต่ไม่ได้ห้ามไม่ให้เชื่อนะ เชื่อได้แต่ไม่งมงาย เชื่อโดยมีปัญญานั้นทำให้ไม่หลง แต่ต้องเป็นปัญญาในองค์มรรค คือสัมมาทิฎฐิ ปัญญาในการรู้เรื่องของเหตุปัจจัยตามความเป็นจริงตามทางสายกลาง</CENTER><CENTER>
    ๒. เชื่อถือธรรมชาติว่าเป็นสิ่งสูงสุด ซึ่งเทียบได้กับพระเจ้าของศาสนาคริสต์ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ธรรมชาติและพลังงานที่มีการขับเคลื่อนนั้น เป็นสิ่งสูงสุด ใน โลกทั้งสาม กามโลก ได้แก่ นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา รูปโลก ได้แก่ รูปพรหมณ์ อรูปโลก ได้แก่ อรูปพรหมณ์</CENTER><CENTER>ธรรมชาติเหล่านี้ล้วนเป็นไปด้วย เหตุ ปัจจัย เป็นไปตามหลัก อิทัปปัจยตา พระไตรลักษณ์ มีการเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มีการดับลงเพราะเหตุปัจจัย พระเจ้าของศาสนาคริตส์ ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตามเหตุปัจจัยเหมือนกัน หนีไม่พ้น </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> นักปราชญ์ บัณฑิตของจริงในพุทธศาสนา ท่านรู้เท่าทันเหตุและปัจจัย รู้แจ้งเรื่องของเหตุและปัจจัย สิ่งใดๆเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับลงเพราะเหตุปัจจัย</CENTER><CENTER>ถ้ายังมีเหตุให้เกิดอีกก็ต้องมาเกิด แต่ถ้าสิ้นเหตุให้เกิดแล้วจะเกิดได้จากเหตุใดเล่า</CENTER><CENTER>เรียกว่าความรู้แจ้งใน อริยสัจธรรม ทั้ง ๔ รู้ทุกข์ รู้เหตุปัจจัยของทุกข์ รู้เหตุปัจจัยของเหตุเกิดทุกข์ รู้เหตุปัจจัยของการดับทุกข์ รู้เหตุปัจจัยของทางดำเนินให้พ้นจากทุกข์</CENTER><CENTER>เมื่อรู้แจ้งดังนี้แล้วท่านจึงว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันเกินกว่านี้ไปไม่ได้ มันยิ่งกว่านี้ไปไม่ได้ มันต้องเป็นไปอย่างนั้น เป็นไปตามเรื่องตามราวของมัน ที่เรียกว่า คถาคต </CENTER><CENTER>ท่านรู้เท่าทันเรื่องของเหตุปัจจัย และ ปล่อยวางไม่ยึดมันให้มันเป็นเรื่องธรรมดา ปกติ อิสระเป็นตนที่ไม่มีตนอยู่ในนั้น เป็นตนที่ไม่ยึดตน เป็นตนไม่เป็นเจ้าของตนของใคร ของอะไรท่านเหล่านั้นจึงพ้นเรื่องของเหตุและปัจจัย แล้วไม่ต้องเป็นตามเหตุปัจจัยอีกแล้ว </CENTER><CENTER>
    ๓. เชื่อว่าชีวิตเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ คือเชื่อว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งตายตัว แต่สามารถพัฒนาได้ </CENTER><CENTER>
    ๔. เชื่อความจริง คือเชื่อสิ่งที่ได้พิสูจน์จนเห็นจริงแล้วเท่านั้น </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>การพิสูจน์ได้และเห็นตามเป็นจริง ของพุทธศาสนา นั้นเห็นด้วยใจ ของผู้ปฏิบัติเอง จะให้ผู้อื่นมาพิสูจน์ใจของท่านได้หรือ ตัวท่านเอง ยังไม่ประจักษ์แจ้งแก่ใจท่านเอง แล้วใครจะพิสูจน์ให้ได้ เช่น ถ้าเรายังไม่เคยปฏิบัติธรรม เราก็รู้อยู่แก่ใจว่าตอนนี้เรามีความโลภ โกรธ หลง อยู่เท่าใด ต่อเมื่อ เราได้ปฏิบัติธรรมแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ลดลง เท่าไหร่ มากน้อย เพียงไร มันก็ประจักษ์แก่ใจของผู้ปฏิบัติเอง เป็น สันทิฎฐิโก</CENTER><CENTER>
    ๕. เชื่อกรรม คือ เชื่อว่าเมื่อเราทำอะไรลงไปด้วยเจตนา มันย่อมมีผลต่อจิตใจเสมอ </CENTER><CENTER>
    ๖. เชื่อความเพียร คือ เชื่อว่าเมื่อมีความพยายามอย่างถูกต้อง ย่อมจะประสบผลสำเร็จได้ </CENTER><CENTER>
    ๗. ไม่เชื่อจากเขาว่ามา คือไม่เชื่อจากผู้อื่นบอกกล่าวมา ไม่ว่าจะกรณีใด </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>อเสวนาจพาลานัง บัณฑิตตานันจเสวนา</CENTER><CENTER>ถ้าเช่นนั้นแล้วผู้ใดเล่าได้ชื่อว่าบัณฑิต ผู้ใดเล่าได้ชื่อว่าคนพาล อย่าคบคนพาล ให้พากันคบหาส่องเสพกับบัณฑิต </CENTER><CENTER>บัณฑิตก็ไม่เชื่อ คนพาลก็ไม่เชื่อ แล้วจักเป็นบัณฑิตได้อย่างไร</CENTER><CENTER>มีครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ท่านตรัส กับพระธรรมเสนาบดีว่า เมื่อเราตรัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเธอเชื่อเราเลยหรือไม่ พระธรรมเสนาบดีตอบว่ายังก่อนพระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปฏิบัติตามเสียก่อน เมื่อเห็นว่าดีจริงข้าพเจ้าจึงจะเชื่อ ข้อนี้ก็เหมือนกันเพียงแต่เราเชื่อตามศรัทธา ปรัชญา แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามก็ไม่สามารถเห็นตามจริงได้ พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าอย่าพึ่งเชื่อเราก่อน ให้พิจารณาและปฏิบัติตามจึงจะสำเร็จประโยชน์ได้</CENTER><CENTER>
    ๘. ไม่มีการบังคับให้เชื่อ คือจะให้อิสระแก่ผู้ที่นับถืออย่างเต็มที่ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ให้ปฏิบัติโดยมี มรรค มีองค์ ๘ และ พระไตรลักษณ์ เสมอ</CENTER><CENTER>
    ๙. ไม่เชื่อเรื่องงมงาย เช่น เรื่องไสยศาสตร์,สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ,ดวงชะตา,โชค, ลาง, ผี, เทวดา เป็นต้น </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>เชื่อได้แต่ไม่หลงงมงายเพราะเรื่องเหล่านี้ก็มีอยู่จริงในขั้น สมมุติสัจจะ แต่ในขั้นปรมัตถสัจจะสิ่งเหล่านี้ เป็นเพียง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา</CENTER><CENTER>
    ๑๐. ไม่เชื่อเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อน คือพุทธศาสนาจะสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบันเท่านั้น </CENTER><CENTER>อุจเฉททิฏฐิ ไม่เชื่อกรรมและสังสารวัฏ ไม่มีกรรมจากชาติปางก่อนแล้วชาตินี้กำเนิดมาได้มีเหตุให้เกิดถึงจะเกิดมาได้จะเกิดแบบลอยได้อย่างไร</CENTER><CENTER>เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก หากว่าเราอยู่เพียงแต่ชาตินี้ ชาติเดียวแล้วเราจะปฏิบัติเพื่อมรรคผล นิพพานอันเป็นแก่นพระศาสนากันทำไม </CENTER><CENTER>ถ้าไม่เห็นทุกข์ไม่เบื่อหน่ายในสังสารวัฎเห็นว่าการวนเวียนในภพทั้ง ๓ มีแต่ทุกข์ เป็นเรื่องไร้สาระแก่นสารไม่ใช่ตัวตนแท้จริงแล้วเราจะมีศรัทธาที่จะออกจากกองทุกข์หรือ เมื่อไม่มีอจลศรัทธาแล้วเราจะมีเพียรในการปฏิบัติเพื่อออกจากกองทุกข์หรือ</CENTER><CENTER>พุทธศานาเน้นกรรมในปัจจุบัน เพราะ ถ้าเราไปโยนว่าเป็นเราองของกรรมในชาติปางก่อนทั้งหมดก็ไม่มีกะจิตกะใจทำความเพียร เพราะมัวแต่คิดว่าตัวเองนั้น บุญน้อยวาสนาน้อยไม่สามารถที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพานได้ พระพุทธเจ้าท่านว่าบุญวาสนานั้น ไม่มี ทำให้มีได้ มีแล้วทำให้ยิ่งได้</CENTER><CENTER>ศาสนาพุทธคือทางสายกลาง ฉะนั้นจำเป็นต้องเข้าใจเหตุและปัจจัยทั้งหมด ที่ท่านเรียกว่า โลกวิทู รู้แจ้งโลก จะยึดทิฎฐิของตนเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้</CENTER><CENTER>
    หลักคำสอน</CENTER><CENTER>
    ๑. สอนว่าทุกสิ่งเกิดมาจากเหตุ และจะดับหายไปเมื่อเหตุของมันดับลง </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>เมื่อผู้นั้นแจ้งในเหตุปัจจัยของอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริงแล้ว เหตุปัจจัยทั้งหมด(กิเลส ความไม่รู้ อวิชา)ของผู้นั้นก็ดับลงด้วย</CENTER><CENTER>
    ๒. สอนว่าจิตสำคัญที่สุด คือจะให้ความสำคัญแก่จิตมากกว่าวัตถุ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> กิเลสคือสิ่งที่สูญ จิตไม่ได้สูญ มันก็เป็นไปของมันอย่างนั้น</CENTER><CENTER>
    ๓. สอนให้พึ่งตนเอง คือไม่สอนให้อ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือใครมาช่วย </CENTER><CENTER>
    ๔. สอนให้รักผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เป็นศัตรูกับใคร </CENTER><CENTER>
    ๕. สอนให้ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย งดเว้นอบายมุข สิ่งเสพติด และสิ่งฟุ่มเฟือย </CENTER><CENTER>
    ๖. สอนให้มีสติ อย่าประมาท ให้หมั่นฝึกฝนสมาธิ และอบรมปัญญาอยู่เสมอ </CENTER><CENTER>
    ๗. สอนให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย เพื่อที่จิตจะได้นิพพาน</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สัพเพธัมมานาลัง อภินิวาสายะ สรรพธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น </CENTER><CENTER>
    ๘. สอนว่า นิพพาน คือความสงบเย็นของจิตใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นขณะที่จิตบริสุทธิ์จากกิเลส </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>นิพพาน คือความสงบเย็นของจิตใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นขณะที่จิตบริสุทธิ์จากกิเลสเป็น </CENTER><CENTER>สมุทเฉทปาหาร ไม่มีการกำเริบอีก ดับไม่เหลือเชื้อ ไม่มีเชื่อหรือเหตุให้เกิดอีก
    ๙. สอนให้ละเว้นความชั่ว แล้วทำแต่ความดี รวมทั้งทำจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลส </CENTER><CENTER>
    ๑๐. สอนว่า นรก คือ ร้อนใจ , สวรรค์ คือ อิ่มใจ ในขณะที่กำลังทำความชั่วและความดีอยู่</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>สอนว่า นรก คือ ร้อนใจ , สวรรค์ คือ อิ่มใจ ในขณะที่กำลังทำความชั่วและความดีอยู่ อันนี้ถูกแล้วถือว่าเป็นปัจจุบันธรรม แต่ใช่ว่า สรรค์ บนดิน นรกใต้ดิน ใช่ว่าจะไม่มี </CENTER><CENTER>เป็นเรื่องของปัตจักตัง นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน สวรรค์ พรหมโลกนี้คือภพทั้งสามที่เราเวียนว่ายตายเกิด แต่เรามองไม่เห็นเพราะไม่ ญาณหยั่งรู้ แต่ที่เห็นแน่ๆ เดรัจฉานมันมีลักษณะอย่างไร ในพระไตรปิฎกท่านก็เขียนไว้อย่างละเอียด หาข้อค้านไม่ได้ </CENTER><CENTER>ถ้ามนุษย์คิดว่าตนเกิดเป็นมนุษย์อย่างเดียว แล้วจะมีอะไรไว้ลงโทษคนชั่ว เพราะเมื่อทำชั่วย่อมก่อกรรมชั่วนี้ก็เป็นกฎธรรมชาติ แล้วที่ท่านบอกว่า </CENTER><CENTER>เชื่อกรรม คือ เชื่อว่าเมื่อเราทำอะไรลงไปด้วยเจตนา มันย่อมมีผลต่อจิตใจ เมื่อเชื่อว่ามีผลต่อจิตใจแล้วถ้าเราตายไปแล้ว จิตนั้นก็ลอยนวลไม่ต้องรับผลกรรมนั้นหรือ แล้วจิตนั้นไปไหนต่อ จิตนั้นจะสิ้นกรรมหรือสิ้นเหตุปัจจัยที่ทำให้มันเคลื่อนไปได้หรือไม่</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>
     
  18. สาวกสังโฆ

    สาวกสังโฆ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12

    นี่เป็นการปลอมปนคำสอนของพวกอัญเดียรถีย์แท้ๆ

    พวกเขาจะกล่าวให้ฟังดูคล้ายคำสอนของพุทธ แต่สอดไส้ลัทธิความเชื่อของตนไว้เป็นระยะๆ

    พร้อมกับบิดเบือน หลักธรรมของพุทธที่ไปขัดแย้งกับความเชื่อลัทธิของตน เช่น

    กล่าวตู่ว่า เรื่องกรรมเก่า เรื่องอดีตชาติ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ เรื่องภพภูมิหลังความตาย
    ว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ไม่มีจริง

    มันเป็นความพยายามบ่อนทำลายพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องของพวกอัญเดียรถีย์ มาทุกยุคทุกสมัย
    มีมาทุกรูปแบบ ตั้งแต่ การดิสเครดิตลดความน่าเชื่อถือ ปลอมปน บิดเบือน กล่าวตู่
    กระทั้งปลอมมาบวชเป็นภิกษุ สุดท้ายเมื่อได้โอกาสมีอำนาจในบ้านเมือง พวกนี้ก็จะใช้กำลังเข้าทำลายเอาดื้อๆ อย่างโหดร้ายป่าเถื่อนที่สุด

    กรณีนี้ได้เคยเกิดมาแล้วในเวียดนาม ก็ได้แต่หวังว่ามันคงจะไม่มาเกิดในผืนแผ่นดินไทย อันเป็นที่รักยิ่งของเรา เรามิได้หวังความแตกแยก แต่เมื่อมีผู้คอยคิดร้าย จ้องทำลายพระพุทธศาสนาอันประเสริฐนี้ เราก็ควรที่จะได้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยม กลโกงของคนพวกนี้ไว้ เรามาช่วยกันป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าปล่อยไว้ให้มะเร็งร้ายนี้ลุกลามเรื้อรัง เพราะหากปล่อยให้ย่ำแย่แล้ว จะแก้ทีหลังก็จะสายไป ไม่ทันการ อย่างกรณีศึกษานี้ ซึ่งจะเป็นอุทาหรณ์ เตือนใจชาวพุทธเราทั้งหลายได้ดีทีเดียว



    ตามไปดูการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนของพวกอัญเดียรถีย์ ได้ตามลิงค์นี้ครับ แล้วอย่าลืมแผ่เมตตาให้มากๆ นะครับ

    http://palungjit.org/showthread.php?t=155392


    ส่วนลิงค์ข้างล่างนี้ เป็นการกล่าวตู่ ลดความน่าเชื่อถือ บิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ

    http://palungjit.org/showthread.php?t=2834
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2008
  19. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260


    เห็นด้วยกับ "คุณสาวกสังโฆ" เป็นอย่างยิ่ง
    เพราะถ้าเป็นคนที่มีสามัญสำนึก ไม่มีอะไรแอบแฝงพวกเราหลายคนเตือนสติและแนะนำธรรมที่ถูกต้อง
    ก็ต้องยอมรับในเหตุผลที่แต่ละท่านยกมา
    แต่แกก็ไม่ยอมรับฟังทั้งตะแบงและดันทุลังจนกระทู้ยาวนานไม่จบสักที
    แบบนี้แนะนำเท่าใหร่ก็ไม่เกิดประโยชน์
    พวกเดียรถีย์รับจ้างที่แอบแฝงมาคราบของนักบวชเขาไม่ฟังอะไรอยู่แล้ว
     
  20. forever_love

    forever_love Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +43
    What The Buddha Taught : by Walpola Rahula

    [​IMG]


    What The Buddha Taught : by Walpola Rahula ( ภาษาอังกฤษ (ทั้งเล่ม) )
    http://www.quangduc.com/English/basic/68whatbuddhataught.html





    ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ตามไปอ่านได้ตามลิ้งค์นี้ครับ

    http://board.agalico.com/showthread.php?t=24400

    What The Buddha Taught : คำนำ/บทนำ
    What The Buddha Taught : บทที่ 1 : เจตนคติของชาวพุทธ
    What The Buddha Taught : บทที่ 2 : อริยสัจจ์ข้อที่ 1 "ทุกข์"
    What The Buddha Taught : บทที่ 3 : อริยสัจจ์ข้อที่ 2 "สมุทัย"
    What The Buddha Taught : บทที่ 4 : อริยสัจจ์ข้อที่ 3 "ความดับแห่งทุกข์"
    What The Buddha Taught : บทที่ 5 : อริยสัจจ์ข้อที่ 4 "มรรค"
    What The Buddha Taught : บทที่ 6 : อ นั ต ต า
    What The Buddha Taught : บทที่ 7 : Meditation or Mental Culture
    What The Buddha Taught : บทที่ 8 : พระพุทธศาสนากับโลกปัจจุบัน




    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...