น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ถ้าร่างกายปรุงแต่งขันธ์ ๔ แล้วจะแยกทำไม อุปาทินนกสังขาร (ร่างกายที่มีวิญญาณครอง) กับ อนุปาทินนกสังขาร (ร่างกายที่ไม่มีวิญญาณครอง) ถหากร่างกายเป็นผู้ปรุงแต่งขันธ์ ๔ ที่เหลือขึ้นมา ถ้าอย่างนั้น....เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท่านใช้อยู่คงมีเวนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วยกระมัง เพราะมันมีร่างกายแล้ว
    -------------------------
    คุณเคยมีจิตโดยไม่ต้องมีร่างกายหรือเปล่า?

    เคยได้ยินบ้างหรือไม่ที่ว่า "เมื่ออายตนะภายใน(เช่นตา)มาถึงกันเข้ากับอายตนะภายนอก(เช่นรูป) จึงเกิดวิญญาณขึ้น (วิญญาณทางตา หรือ การเห็นแจ้งรูป)"

    เครื่องคอมพิวเตอร์มันมีเวทนา(ความรู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้)หรือเปล่า? (ถ้ามีคงยุ่งตายเลย เพราะเมื่อใช้งานมันมากๆ มันก็อาจจะบ่นหรือไม่ยอมทำก็ได้)
     
  2. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    อัตตา - ตัวตน ... อนัตตา - ไม่ใช่ตัวตน
    นิรัตตา - สูญจากตัวตน ต้องแยกให้ดีๆนะครับ
    -------------------------------

    อัตตา คือ ตัวตนอมตะ (ไม่ดับหายไปเลย พวกที่เข้าใจเช่นนี้จะบ้าดี เกลียดชั่ว)
    อนัตตา คือ ตัวตนชั่วคราว(ดับหายไปได้เมื่อเหตุปัจจัยของมันดับหายไปก่อน พวกที่เข้าใจเช่นนี้จะเหนือดี เหนือชั่ว)
    นิรัตตา คือ ไม่มีตัวตนเลย (ไม่ยอมรับว่ามีตัวตนแม้ชั่วคราวเลย พวกที่เข้าใจเช่นนี้จะชอบทำชั่ว)
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทุกสิ่งเป็นอนัตตา"
    ****************************************
    ไม่เที่ยงในที่นี้ หมายถึงมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่สภาวะคงที่
    เช่น สสารต่างๆ พลังงานต่างๆ ไม่เที่ยง ... ไม่ได้แปลว่า มันจะสลายนะครับ
    มันกลายสภาพไปเรื่อยๆ ไม่ได้สูญสลาย หายขาด
    -----------------------

    นี่คุณเห็นว่า สภาพที่ไม่เที่ยงนี้มันจะเป็นอย่างนี้(คือไม่เที่ยง)ตลอดไปโดยไม่หยุดเลยหรือ?
    อย่างนี้ก็แสดงว่า คุณเห็นว่ามีความเที่ยง(ถาวร หรือเป็นอมตะ)แล้วหละ ซึ่งความเห็นนี้ก็คือ เห็นว่ามีอัตตา(ตัวตนที่เป็นอมตะ)
    ************************
    เช่น สสารต่างๆ พลังงานต่างๆ ไม่เที่ยง ... ไม่ได้แปลว่า มันจะสลายนะครับ
    มันกลายสภาพไปเรื่อยๆ ไม่ได้สูญสลาย หายขาด

    ---------------------
    อย่าลืมว่า เมื่อสิ่งใดเกิด สิ่งนั้นต้องดับ (ไม่ช้าก็เร็ว) (ผู้เห็นตรงนี้ได้จริงจะมีดวงตาเห็นธรรม)
    อย่างเช่น เมื่อแสงสว่างเกิดขึ้น แล้วมันก็ต้องดับ มันไม่สามารถตั้งอยู่อย่างถาวร(ตลอดไป)ได้
    **************************
    ท่านเตช ไม่เคยยอมรับในอาทิสสมานกาย ก็เลิกพูดได้เลย
    เพราะมองแต่กายหยาบ กินแต่ของหยาบ มันก็วิเคราะห์ได้แบบหยาบๆหละครับ

    ----------------------------
    นี่แสดงว่าคนพูดนี้สามารถพบเห็นหรือถอดจิตจนพบอาทิสสมานกายได้แล้ว ใช่หรือไม่?
    ถ้าได้แล้วก็ค่อยมาสนทนากันใหม่ แต่ถ้ายังไม่ได้ก็เลิกพูดกันได้เลย
    ************************
    ท่านลืมมองไปนะครับ ว่าคนเราไม่เคยปลอดจากทุกข์
    -----------------
    โอ้โห นี่แสดงว่าจิตของคุณนี่ไม่เคยว่างจากความทุกข์บ้างเลย ใช่หรือไม่? (คงบ้าตายแล้วเป็นแน่)
    **************************************************
    แม้แต่อารมณ์อุเบกขา มันก็ยังมาจากการปรุงของจิต
    -------------------------------------------
    แล้วจิตที่มีอุเบกขา มันมีความทุกข์ทรมานหรือเปล่า? ถ้าไม่มีมันก็ไม่มีทุกข์
    *********************
    ดังนั้น เอาอะไรมาพูดว่าจิตดับ มันทำงานของมันเรื่อยๆไม่เคยหยุด
    -----------------------------------
    โอ้โห นี่แสดงว่า คุณไม่เคยหลับสนิทเลยใช่หรือไม่? จึงได้บอกว่าจิตไม่เคยดับ (คือรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาไม่เคยหลับแม้สักวินาทีเดียว)
     
  3. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ไม่ใช่ยุคเก่าที่มองว่าโปรตรอน นิวตรอน อิเล็กตรอน ยังมีสภาพแข็งๆทื่อๆอย่างนั้น
    แต่มันเกิดและดับอยู่เสมอ มันแปรเปลี่ยน ไม่เที่ยงแท้... ตรงมั้ยหละ
    เดี๋ยวนี้เขาไปกันไกลแล้วนะครับ .... มอ~
    --------------------------------
    เอ...แล้วโปรตรอน นิวตรอน อิเล็กตรอน นี่มันเกิดขึ้นมาแล้วมันจะตั้งอยู่อย่างถาวร(เป็นอมตะ)เลยหรือ?
    แล้วโปรตรอน นิวตรอน อิเล็กตรอน นี่มันอาศัยเหตุปัจจัยอะไรจึงเกิดขึ้นมาได้?
    ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยนั้น แล้วมันจะเกิดขึ้นมาได้หรือไม่?
    หรือเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันจะตั้งอยู่อย่าถาวรได้หรือไม่?
     
  4. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    เอ...แล้วโปรตรอน นิวตรอน อิเล็กตรอน นี่มันเกิดขึ้นมาแล้วมันจะตั้งอยู่อย่างถาวร(เป็นอมตะ)เลยหรือ? เมื่อเทียบกับจิตแล้ว อย่างไหนเป็นอมตะกว่ากัน หรืออย่างไหนจะแตกสลาย เสื่อมไปก่อนกัน ๕๕
     
  5. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ท่านเตชฯ เคยไปไหนมาบ้างหรือยังครับท่านนอกเสียจากเฝ้าดูแต่สิ่งที่ท่านเข้าใจไปเองว่ามันคือ จิต

    อยากจะเคลียข้อหกให้ฟัง แต่ก็บอกไป ก็มอ ๆ ๆ เพราะท่านไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น เลยบอกว่ามันไม่มี หุ หุ ...มันเป็นปัจจัยตังรู้ได้เฉพาะตนแม้กระทั่งยังมีขันธ์ ๕ ด้วยซ้ำไป (ถ้ากำลังใจมันมีถึงพอจะสัมผัสได้)

    แม้แต่ผีก็ยังไม่เคยเห็น เพราะเขาไม่อยากจะคุยด้วยเสียเวลาแท้ ๆ ความตั้งใจที่จะปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ก็ยังไม่เกิดเพราะมัวแต่เสียเวลายึดถือแต่ความคิดตัวเอง เฝ้าดูแต่จิตจอมปลอมของตนเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2010
  6. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    โอ ท่านเตช ผมอยากให้ท่านไปนั่งเล่นในป่าช้า
    แล้วใช้สติดูกาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐานดูนะครับ
    กำหนดรู้กายให้เด่นชัด สงบลง จนเวทนาเด่นชัดขึ้นมา
    ใช้กำลังสติกำหนดรู้เวทนาให้ถี่ยิ่งกว่ากำหนดรู้กาย
    แล้วจะจิตจะเด่นชัดขึ้นมา จิตคือผู้รู้ และจะเห็นอาการตามเป็นจริงของจิต
    เมื่อสติแก่กล้าพอมองเห็นอาการของจิตได้ทั้งหมด
    คราวนี้จะได้เห็นธรรมชาติแท้จริงของจิต ธรรมชาติที่เกิด-ดับไวมากๆ
    จากเหตุปัจจัยอันเป็นพันธะ คือ อวิชชา กิเลส อัตตานุปาทาน ฯลฯ

    เมื่อเทียบดู ท่านว่าจิตเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง
    อาจจะถูก จิตเป็นพลังงานอย่างหนึ่งของจักรวาล
    จิตเป็นเช่นนั้นเอง ว่างจากตัวกูของกู ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
    นี้แหละ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร อันไร้การแบ่งแยก
    ...
    พลังงานและสสารทุกชนิด ไม่เป็นอมตะ แต่ไม่ได้สูญสลาย
    เนื่องจากมันแปรสภาพ เกิด-ดับ ไปเรื่อยๆ ไม่จีรัง
    ตามเหตุปัจจัยต่างๆ จากสิ่งนี้ไปสู่สิ่งนี้ โดยมีพื้นฐานที่เหมือนๆกัน
    คือ + - 0 ที่เกิด-ดับเป็นล้านๆครั้ง ภายในหนึ่งวินาที
    ขนาดพื้นฐานยังเกิด-ดับ ไม่จีรัง จะเอาอะไรกับสิ่งอื่น
    เกิด-ตั้ง-ดับ-เกิด-ตั้ง-ดับ... เป็นวงจรอุบาทว์อย่างนี้
    เช่นเดียวกับจิต ที่เกิด-ดับตลอดเวลา ไม่นิ่ง แปรปรวน หาความเสถียรไม่เจอ
    จิต 121 แบบ เกิด-ดับ สลับกันตลอดเวลา ไม่มีเว้นว่าง
    จากแบบหนึ่งไปสู่แบบหนึ่ง ไม่มีหรอก คำว่าจิตดับเว้นว่าง หยุดปรุง
    อันนี้มันขั้นโลกุตตรไปแล้ว...

    สิ่งที่จะไม่แปรเปลี่ยนอีก ในกฏของจักรวาล
    คือสิ่งที่ละเอียดกว่าปรมาณู จะหมดคุณสมบัติที่จะแปรเปลี่ยนอีกแล้ว
    สิ่งนั้นแหละที่เป็นอมตะ เพราะมันไม่แปรเปลี่ยนอีกแล้ว...
     
  7. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ถามจริงว่าท่านหลับ กระบวนการประสาทสัมผัสมันหยุดเหรอครับ-*-
    สัมผัสมันตื่นตลอดเวลานะครับ ไม่เชื่อลองให้คนเอามีดมากรีดเท้าตอนหลับสิ ^^

    อนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเที่ยงแท้ครับ (ไม่ใช่ตัวตนชั่วคราว) อันนี้มาจากตำราพระเตชครับ
    ไม่เที่ยงแท้กับชั่วคราว มันคนละเรื่องเลยนะครับ
    ไม่เที่ยงแท้ คือแปรผัน ส่วนชั่วคราว คือตั้งไว้แล้วก็หายไปเลย
    ซึ่งตามความเป็นจริง มันไม่มีอะไรที่หายขาดไปเลย มันแปรผันเป็นมวลสารต่างๆ
    แต่ไอ้ตัวไม่เที่ยงแท้เนี่ย มันไม่ได้ผสมอัตตาเข้าไปนะครับ
    อัตตา คือตั้งอยู่อย่างนั้น ไม่พัง ไม่เปลี่ยน ยังเหมือนเดิม เป็นนิรันดร์
    อันนี้ไปดูได้ตามโบสถ์คริสต์ครับ (เกิดขึ้น(ครั้งเดียวพระเจ้าสร้าง)-ตั้งอยู่-ตั้งอยู่อย่างนั้น(555+)) อันนี้หละครับ อัตตาเต็มสตรีม
    ส่วนแปรผันไปเรื่อยๆนั้น มันหาความเป็นตัวตนเที่ยงแท้ไม่ได้เลยนะครับ
    เกิด-ดับ พรึบพรับ แวบวาบ &^%^&$%# นี่แหละ อนัตตา...

    อยากเห็นผีมั้ยครับ... ลองส่องกระจกดูสิ ^^อิอิ ล้อเล่นนะครับ
    อีกวิธีหนึ่ง ง่ายๆครับ เอาสาร Diphenyl Ether มาดมเล่นครับ อิอิ
     
  8. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ท่านลืมมองไปนะครับ ว่าคนเราไม่เคยปลอดจากทุกข์
    -----------------
    โอ้โห นี่แสดงว่าจิตของคุณนี่ไม่เคยว่างจากความทุกข์บ้างเลย ใช่หรือไม่? (คงบ้าตายแล้วเป็นแน่)
    **************************************************

    อิอิ ท่าน... ทุกข์มันมีทั้งหยาบยันละเอี๊ยดละเอียด~
    ทุกข์แบบหยาบๆ ก็คือทุกข์แบบที่เข้าใจกัน
    ทุกข์นั้นครอบคลุมเสมอ ทุกข์เป็นรากเหง้า ทุกข์เป็นพันธะเดียว
    มีแต่ทุกข์ที่เกิด มีแต่ทุกข์ที่ดับ ปรุงแต่งใดใดล้วนเป็นทุกข์
    แม้แต่เข้าสู่ฌานมันก็ยังคือทุกข์ เพราะมันยังปรุงแต่งโดยจิตอยู่
    เพียงแต่ปรุงอย่างปราณีต หรือปรุงแบบหยาบๆเท่านั้น

    สรุปแล้ว สรรพสัตว์ไม่มีเป้าหมายอะไรเลย นอกจากการดับทุกข์
    พ้นซึ่งพันธะเหล่านี้ โอฆะอันข้ามได้ยาก ความวิบากกันดารที่เป็นรากเหง้า
    ที่ท่านปฏิเสธเรื่องเวียนว่ายตายเกิด แสดงว่าท่าน ไม่เชื่อในเหตุปัจจัย
    มองโดยอาศัยความบังเอิญเร้นอยู่ในเหตุ เป็นอเหตุทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้...
    ท่านปฏิเสธกรรมปรุงแต่ง - เห็นว่าคนเราเกิดมามีผลที่ต่างกัน นั้นมาจากความบังเอิญ
    ไม่ใช่กฏแห่งวัฏฏะที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ โดยมีกิเลส กรรม วิบาก เป็นตัวเดินเครื่อง...
    ไม่ทราบว่าชาวอาศรมพุทธบุตร เป็นศิษย์ท่านพุทธทาสจริงหรือเปล่า???
     
  9. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ถามจริงว่าท่านหลับ กระบวนการประสาทสัมผัสมันหยุดเหรอครับ-*-
    สัมผัสมันตื่นตลอดเวลานะครับ ไม่เชื่อลองให้คนเอามีดมากรีดเท้าตอนหลับสิ ^^

    ------------------------
    นี่คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณเชื่อว่าจิตเกิดอยู่ตลอดเวลา
    จิตคือสิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ เมื่อใดที่มันไม่รู้สึกนึกคิด ก็เท่ากับมันไม่มี
    แต่จิตเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยพร้อม เมื่อขาดเหตุหรือปัจจัย มันก็จะดับหายไป
    แต่เมื่อเหตุปัจจัยของมันยังคงอยู่ มันก็จะปรุงแต่งให้เกิดจิตที่เหมือนเดิมๆขึ้นมาได้ใหม่เรื่อยไป
    จนก่าวเหตุหรือปัจจัยของมันดับหายไปอย่างถาวร จิตนั้นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ใหม่อีก

    *************************
    อนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเที่ยงแท้ครับ (ไม่ใช่ตัวตนชั่วคราว) อันนี้มาจากตำราพระเตชครับ
    ไม่เที่ยงแท้กับชั่วคราว มันคนละเรื่องเลยนะครับ

    --------------
    ตัวตนที่เที่ยงแท้ ก็คือ ตัวตนที่ตั้งอยู่อย่างถาวร หรือ เป็นอมตะ
    เมื่อไม่ใช่ตัวตนที่เที่ยงแท้ ก็เท่ากับเป็น ตัวตนชั่วคราว นั่นเอง

    ******************************
    พลังงานและสสารทุกชนิด ไม่เป็นอมตะ แต่ไม่ได้สูญสลาย
    เนื่องจากมันแปรสภาพ เกิด-ดับ ไปเรื่อยๆ ไม่จีรัง

    ------------
    นี่คงยังไม่เข้าใจคำว่า "ปรุงแต่ง" "เกิด" "ดับ" อย่างแท้จริง
    ****************
    ส่วนแปรผันไปเรื่อยๆนั้น มันหาความเป็นตัวตนเที่ยงแท้ไม่ได้เลยนะครับ
    เกิด-ดับ พรึบพรับ แวบวาบ &^%^&$%# นี่แหละ อนัตตา...

    -----------------
    ถ้าเห็นว่าการเกิด-ดับนี้จะตั้งอยู่เช่นนี้ตลอดไป นั่นก็คือการเห็นว่ามันเที่ยง นั่นเอง

    ***************

    อิอิ ท่าน... ทุกข์มันมีทั้งหยาบยันละเอี๊ยดละเอียด~

    -----------------
    นี่คงยังไม่เข้าใจหลักอริยสัจ ๔ เรื่องทุกขอริยสัจอย่างแท้จริง
     
  10. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ที่ท่านเข้าใจนั้นเป็นพื้นหยาบๆ สัมผัสได้ง่าย เข้าใจได้เลย (นี่แหละคือกำแพง)
    เพราะท่านคิดว่าความรู้สึกนึกคิดอย่างเดียวคือ จิต...
    เจตสิกยังครอบคลุมไม่หมดเลย แล้วรวมเอาว่าเป็นจิตเสียแล้ว - -

    วงจรแห่งการเกิด-ดับ ดูตามความเป็นจริงแล้ว
    ไม่มีส่วนใดเลย ที่บอกได้ว่าเที่ยง
    ในธรรมดาของคำว่าเที่ยง คือสภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
    เป็นนิรันดร์ ไม่เกิด-ไม่ตาย ไม่เพิ่ม-ไม่ลด
    แต่ในเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่สิ้นสุด ผ่านความเกิดและความตาย
    จะเอาตรงไหนมาเรียกว่า เที่ยงแท้...

    แต่ว่าก็ช่างเถอะ เราคุยกัน เหมือนคนละภาษา...
    หากท่านยังเอาตนเป็นที่ตั้ง แล้วไม่ลองเฝ้าดูจากธรรมชาติอันเป็นอย่างนั้น
    เราคงสนทนากันไม่รู้เรื่อง เป็นแน่แท้...

    แต่จะอย่างไร เรายังมีไมตรีต่อท่านเหมือนเดิม
    เพราะขนาดคนต่างศาสนายังมีไมตรีซึ่งกันและกัน
    เหตุไฉนเล่า ต่างความเห็นกันแค่นี้ จะมีน้ำใจไมตรีต่อกันมิได้
    ขอท่านสามารถทำลายวิกัลปะโดยเร็ว...สันติจงเกิดแด่ท่าน
     
  11. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    วงจรแห่งการเกิด-ดับ ดูตามความเป็นจริงแล้ว
    ไม่มีส่วนใดเลย ที่บอกได้ว่าเที่ยง
    ในธรรมดาของคำว่าเที่ยง คือสภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
    เป็นนิรันดร์ ไม่เกิด-ไม่ตาย ไม่เพิ่ม-ไม่ลด
    แต่ในเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่สิ้นสุด ผ่านความเกิดและความตาย
    จะเอาตรงไหนมาเรียกว่า เที่ยงแท้...

    ------------------------------

    การเปลี่ยนแปลงไปไม่มีที่สิ้นสุดนั่นแหละ คือการเห็นว่าสภาวะนี้ "เที่ยง"

    แต่ถ้าคุณยังเข้าใจคำว่า "ไม่เที่ยง" ไม่ตรงกัน ก็คงสนทนากันไม่ได้เสียแล้ว
     
  12. พระนอกเมือง

    พระนอกเมือง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +29
    ที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ กล่าวว่า ส่วนเรื่องการฆ่าตัวตายนั้น ฆ่าเพื่ออะไร? เพราะมันยึดถือว่ามีตัวตนมากเกินไปจนทนไม่ไหว (หรือโง่จนเกินไป) จึงได้ฆ่าตัวตาย พุทธศาสนาสอนเรื่องการดับทุกข์ เมื่อทุกข์มากจนถึงกับจะฆ่าตัวตาย ก็ต้องหาสาเหตุของมัน แล้วดับที่เหตุของมัน ซึ่งสาเหตุของมันก็คือ ความยึดถือว่ามีตนเอง ส่วนต้นเหตุของความยึดถือว่ามีตนเองนั้นก็คือ ความโง่สูงสุด(อวิชชา)ที่เชื่อว่ามีตนเอง(อัตตา)

    อย่างที่ท่านเคยถวายความรู้น่ะ ว่าตายแล้วสูญ ดับ (นิพพาน) หมด ผมถึงเรียนถามว่าเช่นนั้น การฆ่าตัวตาย ก็เป็นการหลุดพ้นอย่างหนึ่งล่ะสิ

    อาจจะจริงดังที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ว่า ฆ่าตัวตายเพราะยึดถือตัวตนมากเกินไป มีอวิชชา คือความโง่สูงสุด เป็นต้นเหตุ จึงสงสัยว่าเช่นนั้นก็สมเหตุสมผลในความเชื่อของท่านแล้ว ว่าการฆ่าตัวตายเป็นการดี (ท่านไม่ได้กล่าว แต่อ่านแล้วสรุปได้อย่างนี้) เพราะไม่ว่ายึดถือด้วยความถือมั่นอย่างไร อวิชชาล้นสมองเพียงไร ตายแล้วก็จบ ดับหมด สบายยย...

    ก่อนตายจะยึดมาก โง่มากไม่เห็นเป็นไร ถ้านิพพานเร็วขึ้น ตายก่อน นิพพานก่อน สุขก่อน อย่างนี้มองกลับกันได้ไหม เห็นนิพพานอยู่ข้างหน้า (ตาย-ดับ) ทำไมไม่รีบคว้า ทนมีชีวิตทำไม ในเมื่อมีร่างกายจึงมีทุกข์ ดับที่เหตุก็ดับร่างกายสิท่าน >>> อ่านสิ่งที่ท่านแนะนำแล้ว เข้าใจแปลก ๆ อย่างนี้ล่ะครับ

    -------------------------------------------------

    อุตส่าห์ย้ำแล้วย้ำอีก... ท่านพูดถึงจิต แต่จบด้วยวิญญาณ ไม่ต้องถึง ๘ ประเด็นที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ บอกหรอกว่าถ้าศึกษาอย่างโน้น เกาะตำราอย่างนี้ ไม่ศึกษาจิตของตน จะคุยกันไม่รู้เรื่อง

    ตราบเท่าที่ท่านพยายามยัดเยียดข้อความหรือความหมายใด ๆ ที่เป็นคนละคำ ให้เป็นคำเดียวกัน เช่น จิต = ความคิด, จิต = วิญญาณ(ในขันธ์ ๕), จิต = สมอง, จิต = ปรุงแต่ง เป็นต้น คุยกันไม่รู้เรื่องอยู่แล้วแน่นอน

    ------------------------------------------

    มีคำถามฝากต่อยอดความคิดของท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ต่อด้วยครับ

    ๑. ทำไมเด็บางคนตายตั้งแต่อยู่ในท้อง หรือคลอดไม่กี่วันก็ตาย อะไรกำหนดให้เป็นเช่นนั้น เพราะอย่างที่หลายคนเชื่อการเวียนว่ายตายเกิด ก็อ้างว่ากรรมเก่าในชาติก่อนส่งผล ส่วนท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ มีอธิบายให้กระจ่างว่าอะไรครับ (แล้วเกี่ยวกับการที่เด็กนั้นบุญมากเหลือล้น จึงนิพพาน (ตาย) เร็วกว่าผู้อื่นหรือไม่)

    ๒. บางคนเกิดมาพิกลพิการ แขนด้วน ขาด้วน บ้าง ตาบอดก็ดี เป็นเหตุให้เขาทุกข์ยากกว่าคนอื่น อะไรส่งผลให้เป็นเช่นนั้นครับ

    ๓. ทำไมแต่ละคนเกิดมามีชาติตระกูล ผิวพรรณ วรรณะ ที่สูง-ต่ำ กว่ากัน รวย-จน ไม่เท่ากัน หรืออบางคนฉลาด เรียนรู้ง่าย เข้าใจได้เร็ว มีปัญญาเข้าถึงธรรมแตกต่างกัน (ทำไมไม่เท่าเทียมกันล่ะครับ) มีอะไรกำหนดหรือเปล่า หรือบังเอิญโชคดีเท่านั้นเอง (ถ้าถามคนอื่นเดี๋ยวก็ว่าบุญเก่าแต่ชาติปางก่อนอีก)
     
  13. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ๑. ทำไมเด็บางคนตายตั้งแต่อยู่ในท้อง หรือคลอดไม่กี่วันก็ตาย อะไรกำหนดให้เป็นเช่นนั้น เพราะอย่างที่หลายคนเชื่อการเวียนว่ายตายเกิด ก็อ้างว่ากรรมเก่าในชาติก่อนส่งผล ส่วนท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ มีอธิบายให้กระจ่างว่าอะไรครับ (แล้วเกี่ยวกับการที่เด็กนั้นบุญมากเหลือล้น จึงนิพพาน (ตาย) เร็วกว่าผู้อื่นหรือไม่)
    --------------------
    นิพพานในที่นี้คุณหมายถึงอะไร?
    เรื่องเด็กตายนี้มัยก็แล้วแต่ความเชื่อ
    ลองไปถามหมอดูซิเขาก็จะบอกว่าเป็นเพราะอะไร?

    **********************


    ๒. บางคนเกิดมาพิกลพิการ แขนด้วน ขาด้วน บ้าง ตาบอดก็ดี เป็นเหตุให้เขาทุกข์ยากกว่าคนอื่น อะไรส่งผลให้เป็นเช่นนั้นครับ
    --------------------
    ลองไปถามหมอดูซิเขาก็จะบอกว่าเป็นเพราะอะไร?
    ส่วนความทุกข์ของเขานั้น มันขึ้นอยู่กับความโง่(อวิชชา) ถ้าไม่โง่ก็ไม่ทุกข์

    ********************

    ๓. ทำไมแต่ละคนเกิดมามีชาติตระกูล ผิวพรรณ วรรณะ ที่สูง-ต่ำ กว่ากัน รวย-จน ไม่เท่ากัน หรืออบางคนฉลาด เรียนรู้ง่าย เข้าใจได้เร็ว มีปัญญาเข้าถึงธรรมแตกต่างกัน (ทำไมไม่เท่าเทียมกันล่ะครับ) มีอะไรกำหนดหรือเปล่า หรือบังเอิญโชคดีเท่านั้นเอง (ถ้าถามคนอื่นเดี๋ยวก็ว่าบุญเก่าแต่ชาติปางก่อนอีก)

    -------------------------
    ลองดูจากเหตุปัจจัยในฃีวิตจริงซิ

    แต่ถ้าเอาตามความเชื่อ ก็ต้องทะเลาะกัน เข่น..
    บางคนเชื่อในเทพเจ้า ก็ว่าเทพเจ้าดลบันดาล
    บางคนเชื่อในดวงชตา ก็ว่าดวงชะตาดลบันดาล
    บางคนเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาล ฯลฯ

    แล้วจะเชื่อใครดี???
     
  14. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762

    ทุกคำตอบ...ท่านก็ตอบไม่ได้ชัดเจน ไล่ให้ไปถามหมอดู แล้วจะมีสาวกพุทธองค์ไว้เพื่อจุดประสงค์อันใด

    ส่วนคำตอบสุดท้ายที่ท่าน วกกลับมาถามว่าจะเชื่อใครดี...ข้าพเจ้าก็ขอตอบว่าให้เชื่อพระพุทธองค์ตรัสสอนไปก่อน พากเพียรปฏิบัติเพื่อเอาดี ถ้าเป็นฆราวาสอย่างน้อยศีล ๕ พยายามครองให้ดี

    แม้แต่ท่านเตชฯ เองเบื้องต้นก็ต้องเชื่อศรัทธามาก่อน จึงถือปฏิบัติออกบวช แต่เหตุใด มาหักดิบเอาเช่นนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2010
  15. B5234T5

    B5234T5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +210
    ผมมีอะไรให้อ่านเล่นๆ เอาไปคิดกันเอาเองว่าจะหมายถึ่งสิ่งใด...

    __________________________________________


    มัทธิว 20:1-16

    คำอุปมาเกี่ยวกับคนงานในสวนองุ่น
    20:1 "ด้วยว่าอาณาจักรแห่งสวรรค์เปรียบเหมือนเจ้าของบ้านคนหนึ่งออกไปจ้างคนทำงานในสวนองุ่นของตนแต่เวลาเช้าตรู่
    20:2 ครั้นตกลงกับลูกจ้างวันละเดนาริอันแล้ว จึงใช้ให้ไปทำงานในสวนองุ่นของเขา
    20:3 พอเวลาประมาณสามโมงเช้า เจ้าของบ้านก็ออกไปอีก เห็นคนอื่นยืนอยู่เปล่าๆกลางตลาด
    20:4 จึงพูดกับเขาว่า `ท่านทั้งหลายจงไปทำงานในสวนองุ่นด้วยเถิด เราจะให้ค่าจ้างแก่พวกท่านตามสมควร' แล้วเขาก็พากันไป
    20:5 พอเวลาเที่ยงวันและเวลาบ่ายสามโมง เจ้าของบ้านก็ออกไปอีก ทำเหมือนก่อน
    20:6 ประมาณบ่ายห้าโมงก็ออกไปอีกครั้งหนึ่ง พบอีกพวกหนึ่งยืนอยู่เปล่าๆจึงพูดกับเขาว่า `พวกท่านยืนอยู่ที่นี่เปล่าๆตลอดวันทำไม'
    20:7 พวก เขาตอบเจ้าของบ้านว่า `เพราะไม่มีใครจ้างพวกข้าพเจ้า' เจ้าของบ้านบอกพวกเขาว่า `ท่านทั้งหลายจงไปทำงานในสวนองุ่นด้วยเถิด และท่านจะได้รับค่าจ้างตามสมควร'
    20:8 ครั้น ถึงเวลาพลบค่ำเจ้าของสวนองุ่นจึงสั่งเจ้าพนักงานว่า `จงเรียกคนทำงานมาและให้ค่าจ้างแก่เขา ตั้งแต่คนมาทำงานสุดท้าย จนถึงคนที่มาแรก'
    20:9 คนที่มาทำงานเวลาประมาณบ่ายห้าโมงนั้น ได้ค่าจ้างคนละหนึ่งเดนาริอัน
    20:10 ส่วนคนที่มาทีแรกนึกว่าเขาคงจะได้มากกว่านั้น แต่ก็ได้คนละหนึ่งเดนาริอันเหมือนกัน
    20:11 เมื่อเขารับเงินไปแล้วก็บ่นต่อว่าเจ้าของบ้าน
    20:12 ว่า `พวกที่มาสุดท้ายได้ทำงานชั่วโมงเดียว และท่านได้ให้ค่าจ้างแก่เขาเท่ากันกับพวกเราที่ทำงานตรากตรำกลางแดดตลอดวัน'
    20:13 ฝ่ายเจ้าของบ้านก็ตอบแก่คนหนึ่งในพวกนั้นว่า `สหายเอ๋ย เรามิได้โกงท่านเลย ท่านได้ตกลงกับเราแล้ววันละหนึ่งเดนาริอันมิใช่หรือ
    20:14 รับค่าจ้างของท่านไปเถิด เราพอใจจะให้คนที่มาทำงานหลังที่สุดนั้นเท่ากันกับท่าน
    20:15 เราปรารถนาจะทำอะไรกับสิ่งที่เป็นของเราเองนั้นไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติหรือ ท่านมีแววตาอันชั่วร้ายเพราะเห็นเราใจดีหรือ'
    20:16 อย่างนั้นแหละ คนที่เป็นคนสุดท้ายจะกลับเป็นคนต้น และคนที่เป็นคนต้นจะกลับเป็นคนสุดท้าย ด้วยว่าผู้ที่ได้รับเชิญก็มาก แต่ผู้ที่ทรงเลือกก็น้อย"
     
  16. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    หลักความเชื่อของพุทธศาสนา

    จุดแรกในการสร้างปัญญาของคำสอนระดับสูงก็คือเรื่องความเชื่อ โดยพระพุทธเจ้าได้วางหลักในการสร้างความเชื่อไว้โดยสรุปดังนี้

    ๑. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ฟังจากคนอื่นเขาบอกต่อๆกันมา

    ๒. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ได้เห็นเขาทำสืบๆกันมา

    ๓. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า กำลังเป็นที่เลื่องลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน

    ๔. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มีที่อ้างอิงจากตำรา

    ๕. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มีเหตุผลตรงๆมารองรับ(ตรรกะ)

    ๖. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มีเหตุผลแวดล้อมมารองรับ(นัยยะ)

    ๗. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า คิดเดาเอาตามสามัญสำนึกของเราเอง

    ๘. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า มันตรงกับความเห็นเดิมที่เรามีอยู่

    ๙. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ผู้บอกผู้สอนนั้นอยู่ในฐานะที่น่าเชื่อถือ

    ๑๐. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติด้วยเหตุเพียงสักว่า ผู้บอกผู้สอนนี้เป็นครูอาจารย์ของเราเอง

    เมื่อใดที่เรารู้ด้วยตนเองว่า ธรรม(คำสอน)เหล่านี้เป็นอกุศล(ผิด, ไม่ดีงาม), ธรรมเหล่านี้มีโทษ, ธรรมเหล่านี้วิญญูชน (ผู้มีสติปัญญาและมีใจเป็นกลาง) ติเตียน, ธรรมเหล่านี้ถ้ากระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล พึงละเว้นธรรมเหล่านี้เสีย

    ส่วนธรรมเหล่าใด ที่เรารู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล(ถูกต้อง,ดีงาม) ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ, ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ, ธรรมเหล่านี้ถ้ากระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล พึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น.
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เอาคนไม่รู้แก่นแท้ของพระศาสนามาสอน
     
  18. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    เอาคนไม่รู้แก่นแท้ของพระศาสนามาสอน

    ------------------
    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ใครรู้แก่นแท้ของพุทธศาสนา?
     
  19. พรหมรักษ์

    พรหมรักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +26
    ..ก็..พระอรหันต์..ไง
     
  20. พรหมรักษ์

    พรหมรักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +26
    ในบอรดนี้คงไม่มีใครจะสนทนากับท่านแล้วกระมัง
    มาสนทนากับผมก็ได้ ผมขอรับรองว่า ผมเป็นสุภาพบุรุษ (จิงๆ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...