ระดมทุน..วัตถุมงคล..ราคาพิเศษ..โปรโมชั่น..รวม/ลป.ดู่/คุณแม่บุญเรือน/ลพ.จรัญฯลฯ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 17 กันยายน 2015.

  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    443.รูปถ่าย ในหลวงทรงผนวช เลี่ยมกรอบเก่า อยู่บนหิ้งมาไม่ต่ำกว่า 40ปี สวยคลาสสิค ให้บูชา 650 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BVD_46991.jpg
      BVD_46991.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.8 KB
      เปิดดู:
      112
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    444.พระปิดตา วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่ว ปี2481 สภาพสวย ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ***สมาชิกไลน์มาจองแล้วครับ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BVD_46961.jpg
      BVD_46961.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.6 KB
      เปิดดู:
      79
    • BVD_46982.jpg
      BVD_46982.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.5 KB
      เปิดดู:
      91
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2015
  3. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +1,187
    จองรายการที่ 430.พระปิดตานักกล้ามเนื้อผงใบลาน ฝังตะกรุดอุดกริ่ง หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลาปี29 ชลบุรี ให้บูชา 150 บาท
     
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบครับ
     
  5. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    สมาชิกไลน์มาจองแล้วครับ:cool::cool::cool:
     
  6. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    445.เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรก หลวงพ่อพร วัดบางแก้วเนื้อแร่ศักดิ์สิทธิ์ สภาพสวย ให้บูชา 550 บาท**คุณกัณหาชาลีจองครับ**

    นับตั้งแต่มีการสร้างเหรียญเจ้าสัวขึ้นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน " เหรียญเจ้าสัวเนื้อแร่ " ของหลวงพ่อพร วัดบางแก้ว รุ่นนี้ ถือว่าเป็น เหรียญเจ้าสัวเนื้อแร่ รุ่นแรก ที่ปรากฏในวงการพระเครื่อง
    " เหรียญเจ้าสัว " รุ่นแรก หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 มีเพียง 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และ เนื้อทองแดง ทำไมจึงเรียกว่า " เหรียญเจ้าสัว " คนตั้งชื่อนี้ไว้ครั้งแรก " คุณสุธน ศรีหิรัญ " เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ต้องไปถามกันดูเอาเองว่าทำไมจึงตั้งชื่อนี้ ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นเรียกกันว่า " เหรียญซุ้มกระจัง "
    ต่อมาครั้งที่สอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 หรือที่เรียกกันว่า " เจ้าสัวสอง " การสร้างครั้งนี้มีทั้งหมด 5 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ ทองแดง และ เนื้อผง ในสมัยยุค " หลวงปู่เจือ " ซึ่งเอาชนวนมาจากตะกรุดและก้านช่อพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญเป็นมวลสารสำคัญ
    ครั้งที่สาม คือ ปี พ.ศ.2555 เททองเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 โดยผู้สร้าง คือ หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว ซึ่งเป็นศิษย์ผู้ถ่ายทอดพุทธาคมมาจาก " หลวงปู่เจือ " ครั้งนี้หลวงพ่อพรได้รับ ชนวนโลหะทั้งหมด ที่เหลือจากการสร้างปี พ.ศ. 2535 แล้วชนวนของหลวงปู่เจือ รุ่นต่าง ๆ มาผนวกผสมลงไป สร้างขึ้นมาเป็นเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ ซึ่งมี เนื้อทองคำ 45 เหรียญ , เนื้อเงิน 3,350 เหรียญ , เนื่อนวโลหะ 2,120 เหรียญ , เนื้อทองแดง 20,413 เหรียญ , เนื้อชนวน 500 เหรียญ และเนื้อแร่ 27,085 เหรียญ หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว ปลุกเสกเดี๋ยวตลอดไตรมาส ขณะนี้ปลุกเสก " ไตรมาส " เสร็จแล้วในวันออกพรรษา เริ่มทยอยแจกจ่ายแก่ผู้สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 มีผู้สั่งจองไปรับของกันแล้ว ผู้ที่ไม่ได้จองเกิดอาการอยากได้ " เหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ " เพราะเห็นว่าดีทั้งเนื้อหา พิธีกรรม และการปลุกเสกเดี๋ยวโดยหลวงพ่อพร ทำให้ราคาขยับขึ้นไปมาก
    ส่วน " เนื้อแร่ " นั้นเป็น ครั้งแรก ที่มีการสร้างขึ้น เพราะที่ผ่านมายังไม่มีสร้างเนื้อนี้มาก่อน เนื้อหาที่สร้างโดยใช้ชนวนต่าง ๆ และ " เนื้อขี้นกเขาเปล้า หลวงปู่บุญ " พร้อมทั้งแร่มงคลหลายชนิดผสมสร้างขึ้น เกิดปรากฏการณ์เนื้อแร่ออกมา มีวรรณะเปล่งสีประกายงดงาม แต่ละเหรียญมีวรรณะต่างกันไป เป็นเอกลักษณ์พิเศษของเหรียญรุ่นนี้ และ เนื้อนี้
    " ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นิตยสารลานโพธิ์ "
    ***************************************************
    เหรียญเจ้าสัว วัดกลางบางแก้ว เป็นที่ต้องการของนักสะสม เนื่องมาพุทธคุณ ที่มาเป็นชื่อเรียกของเหรียญ ด้วยพุทธาคม ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และ สืบพุทธาคมมาสู่หลวงปู่เพิ่ม ( สองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว ) และ มาสู่ หลวงปู่เจือ ( ท่านไม่ใช่เจ้าอาวาส ) และ มาสู่ หลวงพ่อพร แห่ง วัดบางแก้ว ( ไม่ใช่วัดกลางบางแก้ว ) ดังนั้นถือว่าเป็นรุ่นแรก ของวัด และ ของท่าน เหรียญรุ่นแรกของท่านราคาสูงแล้วครับ และ ยังเป็นที่ต้องการของนักสะสมครับ เพราะมองว่ามีอนาคต เหรียญเจ้าสัวเพิ่งออกมาราคายังพอเก็บได้ครับ


    เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรก หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว เนื้อแร่ศักดิ์สิทธิ์ ตอก 2 โค๊ต
    ครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่พลิกตำราการสร้างเจ้าสัวตำรับสายวัดกลางบางแก้วอย่างแท้จริงให้พลิก ฟื้นจากตำนานอันโด่งดังให้มีชีวิตกลับฟื้นคืนด้วยฝีมือพ ระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดวิชาสายวัดกลางบางแก้วมาจนหมดสิ้น "หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว" ศิษย์เอกของหลวงปู่เจือ เป็นที่ทราบกันดีว่าเหรียญเจ้าสัวที่โด่งดังอันดับหนึ่งของประเทศต้องยกให้ เหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้ว โดยเหรียญเจ้าสัวที่สร้างโดยหลวงปู่บุญมีสนนราคานับล้าน เหรียญเจ้าสัวรุ่นต่อมาหรือเหรียญเจ้าสัว 2 ที่สร้างโดยตำรับวัดกลางบางแก้วปี 2535 ปัจจุบันมีสนนราคาสูงและหาทำยายาก นับจากนั้นเป็นต้นมาตำราการจัดสร้างเหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้วได้ถูก ปิดผนึกลงจนเกือบจะกลายเป็นตำนานแต่โชคดีที่ในปี 2555 นี้ ศิษย์เอกในสายวัดกลางบางแก้วอย่างหลวงพ่อพรได้ดำริจัดสร้างเหรียญเจ้าสัว รุ่นแรกของท่านขึ้นโดยจัดสร้างตามตำราของหลวงปู่บุญและวัดกลางบางแก้วทุก ประการทำให้ผู้คนต่างสนใจและจับจองกันเป็นเจ้าของอย่างท่วมท้นด้วยว่าเป็น เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรกของหลวงพ่อพรและที่สำคัญ ที่สุดคือ "จัดสร้างเท่าจำนวนที่สั่งจองเท่านั้น" ไม่มีเผื่อเหลือเผื่อขาด วันนี้ชื่อเสียงของ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) แห่งวัดบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ดังกระหึ่มทั่วสารทิศ ในฐานะพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและพุทธาคมแกร่งกล้าไม่เป็นรองใคร ปลุกเสกวัตถุมงคลทุกรุ่นล้วศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง เป็นที่แสวงหาของผู้ศรัทธาและนักสะสมวัดบางแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทำให้ชำรุดทรุดโทรมอุดมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้ารกรุงรัง พระอุโบสถหลังเก่าทรุดเอียงและปูนแตกร้าวจนเห็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ด้านใน เคยมีเจ้าอาวาสครองวัดมาหลายรูป เท่าที่สืบค้นประวัติได้มีดังนี้ หลวงปู่ศุข หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อพัฒน์ หลวงพ่อจอน หลวงพ่อจันทร์ หลวงพ่อเก่า และหลวงพ่อปุ่น และสุดท้ายคณะสงฆ์เห็นควรให้ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปัจจุบันนี้ ว่ากันว่าวัดบางแก้ว มีอดีตพระเกจิ อาจารย์ยุคเก่าที่ผู้คนให้ความเคารพนับถืออยู่ ๒ รูป นั่นคือ หลวงปู่กลิ่น และหลวงพ่อพัฒน์ ต่างก็มีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว แต่ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ หายาก จึงไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร มีเพียงรูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ประดิษฐานอยู่ในวัด และ " งาช้างดำ " ยาวข้างละ ๑ วา สีดำสนิทเหมือนนิล ที่ชาวบ้านนำมาถวาย พระครูศีลกัณตาภรณ์ หรือหลวงพ่อปุ่น กันตสีโร อดีตเจ้าอาวาสไว้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนใหญ่มาให้วัด เพราะคลื่นมหาชนต่างหลั่งไหลมาขอดู ขอชม บางรายอยากได้ไปครอบครอง จนต้องเก็บรักษากันสุดชีวิต ครั้นหลวงพ่อปุ่นมรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทิ้งของล้ำค่า " งาช้างดำ " ไว้เคียงคู่วัด จนในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลวงพ่อพร ย้ายจากวัดกลางบางแก้วมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ก็รักษางาช้างดำสืบต่อมา

    ประวัติของ พระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ เม.ย. พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ ต.สระกระเทียม อ.เมือง จ.นครปฐม บิดาชื่อ หลำ มารดาชื่อ สะอิ้ง นามสกุล บัวคำ วัยเด็กเรียนหนังสือที่โรงเรียนสระกระเทียมวิทยาคมจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ก็ออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว ไปทำงานโรงงานใน ต.บางขุนแก้ว อ.นครชัยศรี นานกว่า ๑ ปี บิดามารดาอยากให้บวชทดแทนบุญคุณ จึงพาไปฝากพระปลัดใบ วัดกลางบางแก้ว ช่วยเป็นธุระให้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยพระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เล่าว่า สมัยนั้นมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธวิถีนายก หรือหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว แล้วศรัทธามาก บารมีท่านสูงจริง ๆ อยากบวชอยู่กับท่าน จึงหมั่นท่องขานนาคจนเชี่ยวชาญ ตั้งใจจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่า หลวงปู่เพิ่ม มรณภาพเสียก่อนในวันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๒๖ ตอนนั้นเสียใจมาก แต่ไหน ๆ ตั้งใจแล้ว จึงเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๒๖ โดยนิมนต์พระครูวิบูลย์สิริธรรม วัดตุ๊กตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คำ วัดตุ๊กตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา" 8220;ปภากโร " เมื่ออุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว พระภิกษุพร ก็จำพรรษาอยู่วัดกลางบางแก้ว มีความสนิทสนมกันดีกับ พระปลัดใบ มีโอกาสช่วยงานวัดมากมาย ทั้งช่วยบดส่วนผสมยาจินดามณี เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ ซึ่งพระปลัดใบ ได้ถ่ายทอดให้หมดสิ้นไม่ปิดบัง โดยเฉพาะวิชาทำเบี้ยแก้ ที่ได้รับถ่ายทอดโดยตรงจากหลวงปู่เพิ่ม ครั้นพระปลัดใบมรณภาพ พระภิกษุพร ก็ไปปรนนิบัติ พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปถัดมา รวมทั้งไปรับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่เจือ ปิยสีโล จนมรณภาพ ก็รับหน้าที่จูงสังขารลงจากศาลา ครั้นวัดกลางบางแก้ว ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกเสร็จสิ้น พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) มอบหมายให้ ภิกษุพร คอยดูแล จุดนี้เองทำให้มีโอกาสค้นคว้าตำราและวิชาต่าง ๆ ที่เก็บไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จวบถึงยุคหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม จนแกร่งกล้ารวมทั้งเคยได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก หลวงปู่เจือ มาอีกไม่น้อย ยิ่งทำให้เก่งกาจยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ ภายหลังคณะสงฆ์เห็นว่า ภิกษุพร มีความรู้มีความสามารถ จึงมีมติให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแก้วตามที่ญาติโยมเรียกร้องขอมา ซึ่งภิกษุพรก็ไม่ทำให้ผิดหวัง มุ่งมั่นพัฒนาวัดบางแก้วอย่างต่อเนื่องเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนได้รับสมณศักดิ์ที่ "พระครูพิจิตรสรคุณ"อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาวัดสักเท่าใด สิ่งที่ยังขาดแคลนก็คือ ทุนทรัพย์มหาศาล เพราะเสนาสนะ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ล้วนชำรุดทรุดโทรม พระครูพิจิตรสรคุณ จึงตัดสินใจนำความรู้และวิทยาคมที่เล่าเรียนมา จัดสร้าง " เหรียญเจ้าสัว " รุ่นแรกของวัดบางแก้วขึ้น เพื่อมอบให้ญาติโยมที่ทำบุญเป็นที่ระลึก เหรียญรุ่นนี้ดีนอก-ดีในครบถ้วน เพราะใช้ชนวนพระชัยวัฒน์เก่าของ หลวงปู่บุญ ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และชนวนเหรียญเจ้าสัวปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หล่อหลอมเป็นชนวนมงคลผสมในเหรียญรุ่นนี้ โดยจัดพิธีเททองหลอมรวมชนวนมวลสารทั้งหมดรวมทั้งเททองนำฤกษ์ เหรียญชุดเนื้อชนวนไปแล้ว ๕๐๐ เหรียญ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๕๕ ตรงกับวันเสาร์ เวลา ๐๙.๓๙ น. ยึดฤกษ์เศรษฐี " มหัทธโนฤกษ์ " โดยในพิธีมีการเชิญคหบดีระดับเจ้าสัวจำนวน 9 ท่านมาเป็นประธานร่วมงานเอาเคล็ดให้เหรียญเจ้าสัวร่ำรวยเหมือนเจ้าสัวสมชื่อ นั่นเอง จากนั้นนำชนวนไปผสมหล่อเหรียญเจ้าสัวเนื้ออื่น ๆ และเปิดให้ผู้สนใจเช่าบูชาสั่งจองตั้งแต่วันที่ ๖ มิ.ย. ๒๕๕๕ เป็นต้นมา เวลา ๐๙.๓๙ น. ตาม " มหัทธโนฤกษ์ " ในตำแหน่ง " อำมฤตโชค " มหามงคลสูงสุดเรื่องโชคลาภ และจะเปิดจองถึงวันที่ ๙ ส.ค. ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ตาม " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " แล้วนำชนวนทั้งหมดไปจัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง โดยพระครูพิจิตรสรคุณ จะทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวในพรรษาตามตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จนออกพรรษา จะเปิดให้รับเหรียญในวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๙ น. ในฤกษ์ " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " เป็นต้นไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2016
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    446.เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรก หลวงพ่อพร วัดบางแก้วเนื้อแร่ศักดิ์สิทธิ์ สภาพสวย ให้บูชา 550 บาท

    นับตั้งแต่มีการสร้างเหรียญเจ้าสัวขึ้นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน " เหรียญเจ้าสัวเนื้อแร่ " ของหลวงพ่อพร วัดบางแก้ว รุ่นนี้ ถือว่าเป็น เหรียญเจ้าสัวเนื้อแร่ รุ่นแรก ที่ปรากฏในวงการพระเครื่อง
    " เหรียญเจ้าสัว " รุ่นแรก หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 มีเพียง 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และ เนื้อทองแดง ทำไมจึงเรียกว่า " เหรียญเจ้าสัว " คนตั้งชื่อนี้ไว้ครั้งแรก " คุณสุธน ศรีหิรัญ " เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ต้องไปถามกันดูเอาเองว่าทำไมจึงตั้งชื่อนี้ ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นเรียกกันว่า " เหรียญซุ้มกระจัง "
    ต่อมาครั้งที่สอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 หรือที่เรียกกันว่า " เจ้าสัวสอง " การสร้างครั้งนี้มีทั้งหมด 5 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ ทองแดง และ เนื้อผง ในสมัยยุค " หลวงปู่เจือ " ซึ่งเอาชนวนมาจากตะกรุดและก้านช่อพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญเป็นมวลสารสำคัญ
    ครั้งที่สาม คือ ปี พ.ศ.2555 เททองเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 โดยผู้สร้าง คือ หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว ซึ่งเป็นศิษย์ผู้ถ่ายทอดพุทธาคมมาจาก " หลวงปู่เจือ " ครั้งนี้หลวงพ่อพรได้รับ ชนวนโลหะทั้งหมด ที่เหลือจากการสร้างปี พ.ศ. 2535 แล้วชนวนของหลวงปู่เจือ รุ่นต่าง ๆ มาผนวกผสมลงไป สร้างขึ้นมาเป็นเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ ซึ่งมี เนื้อทองคำ 45 เหรียญ , เนื้อเงิน 3,350 เหรียญ , เนื่อนวโลหะ 2,120 เหรียญ , เนื้อทองแดง 20,413 เหรียญ , เนื้อชนวน 500 เหรียญ และเนื้อแร่ 27,085 เหรียญ หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว ปลุกเสกเดี๋ยวตลอดไตรมาส ขณะนี้ปลุกเสก " ไตรมาส " เสร็จแล้วในวันออกพรรษา เริ่มทยอยแจกจ่ายแก่ผู้สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 มีผู้สั่งจองไปรับของกันแล้ว ผู้ที่ไม่ได้จองเกิดอาการอยากได้ " เหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ " เพราะเห็นว่าดีทั้งเนื้อหา พิธีกรรม และการปลุกเสกเดี๋ยวโดยหลวงพ่อพร ทำให้ราคาขยับขึ้นไปมาก
    ส่วน " เนื้อแร่ " นั้นเป็น ครั้งแรก ที่มีการสร้างขึ้น เพราะที่ผ่านมายังไม่มีสร้างเนื้อนี้มาก่อน เนื้อหาที่สร้างโดยใช้ชนวนต่าง ๆ และ " เนื้อขี้นกเขาเปล้า หลวงปู่บุญ " พร้อมทั้งแร่มงคลหลายชนิดผสมสร้างขึ้น เกิดปรากฏการณ์เนื้อแร่ออกมา มีวรรณะเปล่งสีประกายงดงาม แต่ละเหรียญมีวรรณะต่างกันไป เป็นเอกลักษณ์พิเศษของเหรียญรุ่นนี้ และ เนื้อนี้
    " ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นิตยสารลานโพธิ์ "
    ***************************************************
    เหรียญเจ้าสัว วัดกลางบางแก้ว เป็นที่ต้องการของนักสะสม เนื่องมาพุทธคุณ ที่มาเป็นชื่อเรียกของเหรียญ ด้วยพุทธาคม ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และ สืบพุทธาคมมาสู่หลวงปู่เพิ่ม ( สองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว ) และ มาสู่ หลวงปู่เจือ ( ท่านไม่ใช่เจ้าอาวาส ) และ มาสู่ หลวงพ่อพร แห่ง วัดบางแก้ว ( ไม่ใช่วัดกลางบางแก้ว ) ดังนั้นถือว่าเป็นรุ่นแรก ของวัด และ ของท่าน เหรียญรุ่นแรกของท่านราคาสูงแล้วครับ และ ยังเป็นที่ต้องการของนักสะสมครับ เพราะมองว่ามีอนาคต เหรียญเจ้าสัวเพิ่งออกมาราคายังพอเก็บได้ครับ


    เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรก หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว เนื้อแร่ศักดิ์สิทธิ์ ตอก 2 โค๊ต
    ครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่พลิกตำราการสร้างเจ้าสัวตำรับสายวัดกลางบางแก้วอย่างแท้จริงให้พลิก ฟื้นจากตำนานอันโด่งดังให้มีชีวิตกลับฟื้นคืนด้วยฝีมือพ ระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดวิชาสายวัดกลางบางแก้วมาจนหมดสิ้น "หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว" ศิษย์เอกของหลวงปู่เจือ เป็นที่ทราบกันดีว่าเหรียญเจ้าสัวที่โด่งดังอันดับหนึ่งของประเทศต้องยกให้ เหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้ว โดยเหรียญเจ้าสัวที่สร้างโดยหลวงปู่บุญมีสนนราคานับล้าน เหรียญเจ้าสัวรุ่นต่อมาหรือเหรียญเจ้าสัว 2 ที่สร้างโดยตำรับวัดกลางบางแก้วปี 2535 ปัจจุบันมีสนนราคาสูงและหาทำยายาก นับจากนั้นเป็นต้นมาตำราการจัดสร้างเหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้วได้ถูก ปิดผนึกลงจนเกือบจะกลายเป็นตำนานแต่โชคดีที่ในปี 2555 นี้ ศิษย์เอกในสายวัดกลางบางแก้วอย่างหลวงพ่อพรได้ดำริจัดสร้างเหรียญเจ้าสัว รุ่นแรกของท่านขึ้นโดยจัดสร้างตามตำราของหลวงปู่บุญและวัดกลางบางแก้วทุก ประการทำให้ผู้คนต่างสนใจและจับจองกันเป็นเจ้าของอย่างท่วมท้นด้วยว่าเป็น เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรกของหลวงพ่อพรและที่สำคัญ ที่สุดคือ "จัดสร้างเท่าจำนวนที่สั่งจองเท่านั้น" ไม่มีเผื่อเหลือเผื่อขาด วันนี้ชื่อเสียงของ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) แห่งวัดบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ดังกระหึ่มทั่วสารทิศ ในฐานะพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและพุทธาคมแกร่งกล้าไม่เป็นรองใคร ปลุกเสกวัตถุมงคลทุกรุ่นล้วศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง เป็นที่แสวงหาของผู้ศรัทธาและนักสะสมวัดบางแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทำให้ชำรุดทรุดโทรมอุดมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้ารกรุงรัง พระอุโบสถหลังเก่าทรุดเอียงและปูนแตกร้าวจนเห็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ด้านใน เคยมีเจ้าอาวาสครองวัดมาหลายรูป เท่าที่สืบค้นประวัติได้มีดังนี้ หลวงปู่ศุข หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อพัฒน์ หลวงพ่อจอน หลวงพ่อจันทร์ หลวงพ่อเก่า และหลวงพ่อปุ่น และสุดท้ายคณะสงฆ์เห็นควรให้ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปัจจุบันนี้ ว่ากันว่าวัดบางแก้ว มีอดีตพระเกจิ อาจารย์ยุคเก่าที่ผู้คนให้ความเคารพนับถืออยู่ ๒ รูป นั่นคือ หลวงปู่กลิ่น และหลวงพ่อพัฒน์ ต่างก็มีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว แต่ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ หายาก จึงไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร มีเพียงรูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ประดิษฐานอยู่ในวัด และ " งาช้างดำ " ยาวข้างละ ๑ วา สีดำสนิทเหมือนนิล ที่ชาวบ้านนำมาถวาย พระครูศีลกัณตาภรณ์ หรือหลวงพ่อปุ่น กันตสีโร อดีตเจ้าอาวาสไว้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนใหญ่มาให้วัด เพราะคลื่นมหาชนต่างหลั่งไหลมาขอดู ขอชม บางรายอยากได้ไปครอบครอง จนต้องเก็บรักษากันสุดชีวิต ครั้นหลวงพ่อปุ่นมรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทิ้งของล้ำค่า " งาช้างดำ " ไว้เคียงคู่วัด จนในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลวงพ่อพร ย้ายจากวัดกลางบางแก้วมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ก็รักษางาช้างดำสืบต่อมา

    ประวัติของ พระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ เม.ย. พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ ต.สระกระเทียม อ.เมือง จ.นครปฐม บิดาชื่อ หลำ มารดาชื่อ สะอิ้ง นามสกุล บัวคำ วัยเด็กเรียนหนังสือที่โรงเรียนสระกระเทียมวิทยาคมจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ก็ออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว ไปทำงานโรงงานใน ต.บางขุนแก้ว อ.นครชัยศรี นานกว่า ๑ ปี บิดามารดาอยากให้บวชทดแทนบุญคุณ จึงพาไปฝากพระปลัดใบ วัดกลางบางแก้ว ช่วยเป็นธุระให้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยพระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เล่าว่า สมัยนั้นมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธวิถีนายก หรือหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว แล้วศรัทธามาก บารมีท่านสูงจริง ๆ อยากบวชอยู่กับท่าน จึงหมั่นท่องขานนาคจนเชี่ยวชาญ ตั้งใจจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่า หลวงปู่เพิ่ม มรณภาพเสียก่อนในวันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๒๖ ตอนนั้นเสียใจมาก แต่ไหน ๆ ตั้งใจแล้ว จึงเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๒๖ โดยนิมนต์พระครูวิบูลย์สิริธรรม วัดตุ๊กตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คำ วัดตุ๊กตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา" 8220;ปภากโร " เมื่ออุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว พระภิกษุพร ก็จำพรรษาอยู่วัดกลางบางแก้ว มีความสนิทสนมกันดีกับ พระปลัดใบ มีโอกาสช่วยงานวัดมากมาย ทั้งช่วยบดส่วนผสมยาจินดามณี เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ ซึ่งพระปลัดใบ ได้ถ่ายทอดให้หมดสิ้นไม่ปิดบัง โดยเฉพาะวิชาทำเบี้ยแก้ ที่ได้รับถ่ายทอดโดยตรงจากหลวงปู่เพิ่ม ครั้นพระปลัดใบมรณภาพ พระภิกษุพร ก็ไปปรนนิบัติ พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปถัดมา รวมทั้งไปรับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่เจือ ปิยสีโล จนมรณภาพ ก็รับหน้าที่จูงสังขารลงจากศาลา ครั้นวัดกลางบางแก้ว ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกเสร็จสิ้น พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) มอบหมายให้ ภิกษุพร คอยดูแล จุดนี้เองทำให้มีโอกาสค้นคว้าตำราและวิชาต่าง ๆ ที่เก็บไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จวบถึงยุคหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม จนแกร่งกล้ารวมทั้งเคยได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก หลวงปู่เจือ มาอีกไม่น้อย ยิ่งทำให้เก่งกาจยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ ภายหลังคณะสงฆ์เห็นว่า ภิกษุพร มีความรู้มีความสามารถ จึงมีมติให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแก้วตามที่ญาติโยมเรียกร้องขอมา ซึ่งภิกษุพรก็ไม่ทำให้ผิดหวัง มุ่งมั่นพัฒนาวัดบางแก้วอย่างต่อเนื่องเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนได้รับสมณศักดิ์ที่ "พระครูพิจิตรสรคุณ"อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาวัดสักเท่าใด สิ่งที่ยังขาดแคลนก็คือ ทุนทรัพย์มหาศาล เพราะเสนาสนะ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ล้วนชำรุดทรุดโทรม พระครูพิจิตรสรคุณ จึงตัดสินใจนำความรู้และวิทยาคมที่เล่าเรียนมา จัดสร้าง " เหรียญเจ้าสัว " รุ่นแรกของวัดบางแก้วขึ้น เพื่อมอบให้ญาติโยมที่ทำบุญเป็นที่ระลึก เหรียญรุ่นนี้ดีนอก-ดีในครบถ้วน เพราะใช้ชนวนพระชัยวัฒน์เก่าของ หลวงปู่บุญ ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และชนวนเหรียญเจ้าสัวปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หล่อหลอมเป็นชนวนมงคลผสมในเหรียญรุ่นนี้ โดยจัดพิธีเททองหลอมรวมชนวนมวลสารทั้งหมดรวมทั้งเททองนำฤกษ์ เหรียญชุดเนื้อชนวนไปแล้ว ๕๐๐ เหรียญ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๕๕ ตรงกับวันเสาร์ เวลา ๐๙.๓๙ น. ยึดฤกษ์เศรษฐี " มหัทธโนฤกษ์ " โดยในพิธีมีการเชิญคหบดีระดับเจ้าสัวจำนวน 9 ท่านมาเป็นประธานร่วมงานเอาเคล็ดให้เหรียญเจ้าสัวร่ำรวยเหมือนเจ้าสัวสมชื่อ นั่นเอง จากนั้นนำชนวนไปผสมหล่อเหรียญเจ้าสัวเนื้ออื่น ๆ และเปิดให้ผู้สนใจเช่าบูชาสั่งจองตั้งแต่วันที่ ๖ มิ.ย. ๒๕๕๕ เป็นต้นมา เวลา ๐๙.๓๙ น. ตาม " มหัทธโนฤกษ์ " ในตำแหน่ง " อำมฤตโชค " มหามงคลสูงสุดเรื่องโชคลาภ และจะเปิดจองถึงวันที่ ๙ ส.ค. ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ตาม " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " แล้วนำชนวนทั้งหมดไปจัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง โดยพระครูพิจิตรสรคุณ จะทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวในพรรษาตามตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จนออกพรรษา จะเปิดให้รับเหรียญในวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๙ น. ในฤกษ์ " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " เป็นต้นไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    447. เหรียญหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ด้านหลังหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา สวยครับ ให้บูชา 250 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9591.JPG
      SAM_9591.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.4 KB
      เปิดดู:
      61
    • SAM_9592.JPG
      SAM_9592.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.2 KB
      เปิดดู:
      55
  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    448.รูปหล่อหลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) จ.สุพรรณบุรี ห้อยหน้ารถ ให้บูชา 200 บาท

    ประวัติ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน)

    วัดคลองมะดัน เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง อยู่กลางทุ่งนา ในสมัยก่อนมีลำคลองผ่าน หน้าวัดและมีต้นมะดันขึ้นอยู่ชุกชุมมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดคลองมะดัน แม้ว่าภายหลังได้มีการ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอัมพวัน แต่ชาวบ้านและคนใน จ.สุพรรณบุรี ทั่วๆ ไปยังนิยมเรียกชื่อเก่าว่า วัดคลองมะดัน เหมือนเดิม

    หลวงพ่อโหน่ง เกิดปีขาล ตรงกับวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๔๐๙ (บางแห่งว่า พ.ศ. ๒๔๐๘) ณ หมู่บ้านท้ายบ้าน ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งคลองสองพี่น้อง ฝั่งเดียวกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรคนที่สอง (บางแห่งว่า เป็นบุตรคนที่ ๔) ของนายโต นางจ้อย โตงาม อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน อายุได้ ๒๔ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง โดยพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระอธิการสุด วัดท่าจัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌายะว่า อินฺทสุวณฺโณ

    เมื่อหลวงพ่อโหน่งอุปสมบทแล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหาพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณเปรียญ ๙ ประโยค เพื่อศึกษาธรรมวินัย หลวงพ่อโหน่งสังเกตเห็นเจ้าคุณมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ จึงเอ่ยปากถามว่า ท่านละกิเลสหมดแล้วหรือ ท่านเจ้าคุณบอกให้หลวงพ่อโหน่งเข้าไปดูในกุฏิว่ามีอะไรบ้าง หลวงพ่อโหน่งไปเห็นโต๊ะหมู่บูชาทำด้วยมุก โต๊ะหมู่ทอง งาช้าง และสิ่งของมีค่าอีกมากมาย เมื่อออกมาจากกุฏิ หลวงพ่อโหน่งกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษายังวัดสองพี่น้องตามเดิม แล้วเดินทางไปจำพรรษาที่วัดทุ่งคอกเพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ อุปัชฌาย์ของท่าน

    หลวงพ่อโหน่ง ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อจันทร์ได้ ๒ พรรษา เดินทางมาศึกษาต่อวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จนกระทั่งมีความรู้แตกฉานเป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อเนียมพูดกับหลวงพ่อปานว่า “เวลาข้าตายแล้ว เอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้”

    นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงพ่อโหน่ง อายุ ๔๑ ปี จำพรรษาอยู่ ที่วัดสองพี่น้อง พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด) วัดปากนํ้า ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้องและ พระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการอุปสมบทในครั้งนั้นคือ หลวงพ่อโหน่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และต่อมาหลวงพ่อสดก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโหน่งเช่นกัน นอกจากหลวงพ่อสดแล้ว ศิษย์ของท่านยังมี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดโพธิ์ หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก

    เมื่อหลวงพ่อโหน่งกลับไปจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จิตใจวาบหวิวชอบกล จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเนียมอีก ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะว่าอะไร หลวงพ่อเนียมพูดขึ้นก่อนว่า “ฮื้อ! ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหร๊อก กลับไปเถอะ” หลวงพ่อโหน่งรู้สึกสบายใจขึ้น และก็มิได้เป็นอะไรอีกเลย

    เมื่อมาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน ท่านฉันอาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาต นมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วย ปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม เคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงิน เจริญวิปัสสนากรรมในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินมีค่าเลยแม้แต่น้อย สร้างสาธารณูปการสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก

    จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ฌานของหลวงพ่อแก่กล้า สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ พระทำผิดวินัย ท่านสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องเห็น พระที่ไปรุกขมูลทะเลาะเบาะแว้งกัน ท่านก็รู้ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดันโดยไม่บอกเล่าเก้าสิบ หลวงพ่อโหน่งสั่งลูกศิษย์เตรียมจัดที่จัดทางไว้ ว่าวันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา มีเรื่องเล่าว่า ใครนิมนต์ท่านไปไหนมาไหน ท่านต้องถามพระประจำตัวในกุฏิท่านก่อนเสมอ ถ้าพระท่านบอกไปได้ ท่านก็ไป ถ้าพระท่านบอกไม่ให้ไป ท่านก็ไม่ไป แม้กระทั่งการสร้างพระประธานองค์ย่อม ท่านก็ถามพระว่า สร้างได้ไหม พระบอกว่าสร้างได้ ท่านก็สร้างตามนั้น แต่ท่านไม่ทราบว่าจะหาช่างปั้นช่างหล่อที่ไหน พระก็บอกให้เดินไปทางโน้นทางนี้ ท่านก็เดินตามนั้น พบช่างมาช่วยปั้นและหล่อตามที่พระบอก เมื่อหล่อเสร็จช่างก็หายตัวไปเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าว ท่านก็ตกใจว่า อ้าว....เงินค่าจ้างยังไม่ได้จ่าย เป็นการเบียดเบียนเขา จึงเดินย้อนไปตามทางเดิมถึงจุดที่พบช่าง ก็บอกลักษณะหน้าตาถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกไม่รู้จัก คงเป็นคนถิ่นอื่น เมื่อกลับกุฏิก็ถามพระว่า จะไปตามช่างได้ที่ไหน พระบอกไม่ต้องไปตาม เพราะช่างคนนี้ไม่ธรรมดา เป็น ช่างเทวดา มาช่วย เมื่อหมดหน้าที่ท่านก็ไปตามเรื่องของท่าน ไม่ต้องไปตามหรอก ถึงตามก็ไม่เจอ

    หลวงพ่อโหน่ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ร่วมอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ก่อนหลวงพ่อเนียมมรณภาพ ท่านได้สั่งเสียกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าข้าตาย มีอะไรขัดข้องก็ให้ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง นะ เมื่อหลวงพ่อเนียมมรณภาพ แล้วราวหนึ่งปี หลวงพ่อปานก็ธุดงค์มาหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน มาถึงวัดตอนบ่ายวันหนึ่ง ท่านก็นั่งรออยู่ใต้ต้นไม้ คิดว่าหลวงพ่อโหน่งคงจำวัด

    แต่หลวงพ่อโหน่งรู้ด้วยญาณของท่าน จึงเปิดหน้าต่างออกมา เห็นหลวงพ่อปานนั่งรออยู่ จึงว่า อ้อ มาถึงแล้วเรอะ ฉันรออยู่แต่เช้าเชียว คืนนั้น หลวงพ่อปานต่อวิชากับหลวงพ่อโหน่งในโบสถ์ ทั้งหลวงพ่อโหน่งกับหลวงพ่อปานเข้าสมาบัติเต็มอัตรา ไม่ถึงครึ่งคืนทุกอย่างก็จบสิ้นกระบวนความ

    เมื่อตอนหลวงพ่อโหน่งมรณภาพ ปี 2477 หลวงพ่อปานไปสร้างวัดอยู่ลพบุรีทราบข่าว ได้สั่งกรรมการวัดคลองมะดันว่า อย่าเพิ่งเผาศพหลวงพ่อโหน่ง ถ้าร่างไม่เน่า ให้รอท่านก่อน ปรากฏว่าร่างหลวงพ่อโหน่งไม่เน่า แต่กรรมการวัดก็รีบเผาเสีย หลวงพ่อปานมาถึงก็เทศนากรรมการวัดเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า พวกแกอยู่กับพระอรหันต์ทุกวี่วัน ช่างไม่รู้บ้างเลย ท่านอธิษฐานทิ้งตัวไว้นะ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพ เมื่อปี 2481 ท่านก็อธิษฐานทิ้งตัวไม่เน่าอีกเหมือนกัน สรุปแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อเนียม ลงมาจนถึง หลวงพ่อโหน่ง และ หลวงพ่อปาน เมื่อมรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าทุกองค์ โดยไม่ต้องฉีดยาอย่างปัจจุบัน

    หลวงพ่อเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครนึกออก แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็น่าจะสันนิษฐานว่า พระที่ท่านสร้างนั้น คงจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นไป เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ. ที่เก่ากว่านั้นเลย ท่านทำมาเรื่อยจนถึง พ.ศ.2470 กว่า จึงยุติ พระที่ท่านสร้างขึ้นมีหลายสิบพิมพ์ เป็นพิมพ์ใหม่ที่ท่านและลูกศิษย์คิดค้นขึ้นเองก็มี ที่ถอดพิมพ์จากพระเก่าก็มาก ท่านและประชาชนพิมพ์พระเสร็จเก็บไว้ในตุ่มน้ำ ในถัง ในปีบ ในลังไม้ เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี คาดว่าเกินกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พิมพ์อาจมากเป็นร้อยพิมพ์ บางตำราว่า เวลาพุทธาภิเษกของท่านแปลก คือทำพิธีตอนเผาไฟ ไม่ใช่เผาแล้วทำ พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาประกอบพิธีกันมากหลาย หลวงพ่อปานก็มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกด้วย แต่บางตำราก็ว่า การปลุกเสกพระของหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านปลุกเสกเดี่ยวเพียงองค์เดียวเท่านั้น และท่านจะปลุกเสกตลอดไตรมาสในช่วงเข้าพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็จะมีการฉลองสมโภชพระที่สร้างใหม่ โดยอาราธนาพระสงฆ์ ในวัดคลองมะดันมาสวดพระพุทธมนต์ ส่วนตัวท่านเป็นประธานพิธี พอเสร็จพิธีในการสวดพุทธมนต์แล้ว ท่านจะขึ้นธรรมาสน์เทศนาสั่งสอนผู้คนที่มารับแจกพระจากมือท่าน ในการสร้างพระเครื่องบางครั้งถ้ามีฤกษ์ดิถีที่ดี ท่านก็จะนิมนต์พระอาจารย์แก่กล้าธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง หลวงพ่อปาน มาร่วมปลุกเสกพระที่ท่านสร้างเป็นครั้งคราวด้วย

    ลักษณะเนื้อพระมีทั้งละเอียดและหยาบ เนื้อละเอียดบางองค์เหมือนพระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร สีดง สีหม้อใหม่ แดงปนน้ำตาล สีแดงนวล สีดำปนเทา เฉพาะสีดำปนเทามีจำนวนน้อย ในเนื้อดินมักมีแก้วแกลบ (แร่ยิบซั่ม) ฝังอยู่ ลักษณะเป็นเส้นขาวทึบคล้ายกระดูกหรือแป้งฝังอยู่ในเนื้อพระ อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก แร่ทรายเงินทรายทองก็มี ด้านหลังบางองค์จารึกอักขระขอม บางทีก็ พ.ศ. การสร้าง ภาษาจีนก็มีจารึก พระพิมพ์ต่างๆ ของท่านมีอาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นและฐานคู่ พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์พระชินราช พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ ซึ่งออกเป็นพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ค่านิยมก็แตกต่าง กันไปตามสภาพ นอกจากนี้ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานมีบัว และพิมพ์ฐานไม่มีบัว ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ พระลีลาหรือพระกำแพงนิ้ว พระสมเด็จฐานคู่ และอีกหลายๆ พิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ต่างได้รับความนิยมทุกๆ พิมพ์ตามสภาพความงามของพระองค์นั้นๆ

    พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเสกแล้ว ท่านจะเก็บไว้ในโอ่ง ท่านจะหยิบใส่พานตั้งตรงหน้าท่านจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ญาติโยมไปเรื่อยๆ เมื่อข่าวหลวงพ่อโหน่งสร้างพระและแจกพระแพร่กระจาย ออกไปมีประชาชนทั้งใกล้ และไกลมารับแจกพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ทุกๆ วัน หลวงพ่อโหน่งต้องเพิ่มกิจวัตร ในการแจกพระเป็นเวลานาน นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อโหน่งยังได้นำพระอีกส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งภาย ในวัดคลองมะดัน และที่วัดทุ่งคอกด้วย ส่วนที่เหลือก็แจกให้แก่ผู้ที่มาขอตลอดอายุขัยของท่าน

    เมื่อหลวงพ่อโหน่งมรณภาพแล้ว พระก็ยังเหลืออยู่ อาจารย์ฉวย ปัญญารตนะ เจ้าอาวาส รูปต่อมาก็ได้ทำตามเจตนารมณ์ ของหลวงพ่อโหน่งทุกประการ คือ แจกพระหลวงพ่อโหน่งให้แก่ผู้ที่มาทำบุญเรื่อย มาจนอาจารย์ฉวยมรณภาพลง พระที่แจกก็ยังไม่หมด อาจารย์หนำ ยะสะสี เจ้าอาวาสรูปต่อมา ก็ได้แจกพระหลวงพ่อโหน่ง ตามเจ้าอาวาสรูปก่อน พระหลวงพ่อโหน่ง จึงได้หมดไปในที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระหลวงพ่อโหน่งสร้างไว้หลายพิมพ์และมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริงว่าสร้างมากเท่าไร จะรู้เพียงว่าสร้างด้วยเนื้อดินเผาทั้งหมด นอกจากพระเครื่องชนิดเล็กๆ สำหรับห้อยคอติดตัวแล้ว หลวงพ่อโหน่ง ยังได้สร้างพระขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้บูชาตั้ง ไว้ในบ้านอีกด้วย เช่น พระกำแพงศอกเนื้อดินเผาและพิมพ์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระรูปเหมือนหลวงพ่อโหน่ง แบบลอยองค์แบบพระบูชา เนื้อทำด้วยปูน เป็นต้น โดยท่านจะเขียนคำอวยพรไว้ด้านหลังองค์พระเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ส่วนการสร้างพระของบรรดาศิษย์และผู้ใกล้ชิดสร้างขึ้นไว้เป็น สมบัติส่วนตัวโดยเฉพาะโดยได้ขออนุญาตให้หลวงพ่อโหน่ง ปลุกเสกให้ แต่มีจำนวนน้อยมากยากที่จะเสาะหาในปัจจุบัน เนื่องจากพระหลวงพ่อโหน่งมีของเทียมมาก เช่าหาโปรดจงระวัง

    หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๗๗ อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๖ โดยท่านมรณภาพในปางไสยาสน์แบบอาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย

    หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน หรือ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีวิชาพุทธาคมอันเข้มขลังอยู่ระดับแนวหน้าของประเทศไทย กล่าวกันว่า พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีพุทธคุณเด่นทางเมตตา มหานิยมมากและแคล้วคลาด จากอันตราย เป็นเลิศ จึงเป็นที่เสาะหาของบรรดานักสะสม เพื่อเอาไว้ใช้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นับว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษท่านหนึ่งของประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9594.JPG
      SAM_9594.JPG
      ขนาดไฟล์:
      47.5 KB
      เปิดดู:
      54
    • SAM_9596.JPG
      SAM_9596.JPG
      ขนาดไฟล์:
      49.2 KB
      เปิดดู:
      44
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    450.เหรียญยอดขุนพล วัดทุ่งเหียง ปี17 จ.ชลบุรี ประสบการณ์ หลวงปู่ทิมวัดระหารไร่ปลุกเสก สภาพสวย ให้บูชา 500 บาท***ปิดรายการนี้ครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9628.JPG
      SAM_9628.JPG
      ขนาดไฟล์:
      82.6 KB
      เปิดดู:
      55
    • SAM_9629.JPG
      SAM_9629.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.8 KB
      เปิดดู:
      37
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2016
  11. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    451.พระหลวงพ่อโสธรจิ๋ว เลี่ยมเงินแท้ ให้บูชา 200 บาท **สมาชิกไลน์มาจองครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9609.JPG
      SAM_9609.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.3 KB
      เปิดดู:
      63
    • SAM_9610.JPG
      SAM_9610.JPG
      ขนาดไฟล์:
      74.3 KB
      เปิดดู:
      90
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2016
  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    452.เหรียญหล่อไพรีพินาศ ร่มไทร80 เนื้อเงิน ปี2536 สภาพสวย ให้บูชา 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9612.JPG
      SAM_9612.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.7 KB
      เปิดดู:
      100
    • SAM_9613.JPG
      SAM_9613.JPG
      ขนาดไฟล์:
      90.7 KB
      เปิดดู:
      52
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    453. เหรียญพระแก้ว 3 ฤดู ฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปี วัดพระศรีศาสดาราม ก.ท.ม. พ.ศ.2525 พระเกจิปลุกเสก100กว่ารูป กล่องเดิมเก่า(vision)ให้บูชา 550 บาท **คุณsupachaipnuจองครับ**

    เหรียญพระแก้ว 3 ฤดู ที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี พ.ศ.2525 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม.พิธีใหญ่มหาพุทธาภิเศกโดยคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมทั่วฟ้าเมืองไทย ลักษณะเป็นเหรียญพระแก้วมรกตครบทั้งสามฤดู ด้านหลังมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เหรียญพระแก้วฯรุ่นนี้ถือเป็นพระดีมีคุณอีกรุ่นหนึ่งที่นิยมเช่าหาในวงการพระเครื่อง

    ชุดนี้ประกอบด้วยเหรียญพระแก้ว 3 ฤดูครบชุด เป็นเหรียญทองแดงรมดำ มาพร้อมกล่องเดิมๆ บูชาสุดคุ้มค่า พระดีทรงคุณค่า เจตนาสร้างบริสุทธิ์ พิธีมหาพุทธาภิเศกใหญ่โดยยอดพระเกจิอาจารย์ น่าเช่าบูชาสะสมมากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9623.JPG
      SAM_9623.JPG
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • SAM_9639.JPG
      SAM_9639.JPG
      ขนาดไฟล์:
      54.9 KB
      เปิดดู:
      38
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2016
  14. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    454.พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี สภาพสวยมาก (เหมาบ้านมาครับ) ให้บูชา 250 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9624.JPG
      SAM_9624.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.4 KB
      เปิดดู:
      47
    • SAM_9625.JPG
      SAM_9625.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68.2 KB
      เปิดดู:
      45
  15. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    455.พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี สภาพสวยมาก (เหมาบ้านมาครับ) ให้บูชา 250 บาท**คุณsupachaipnuจองครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9626.JPG
      SAM_9626.JPG
      ขนาดไฟล์:
      61.9 KB
      เปิดดู:
      56
    • SAM_9627.JPG
      SAM_9627.JPG
      ขนาดไฟล์:
      62.7 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2016
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    456.เหรียญที่ระลึกพระครูสุชาตเมธาจารย์ วัดกุฎิบางเค็ม เจ้าคณะอำเภอเขาย้อย ปี ๒๕๑๓ ให้บูชา 250 บาท **สมาชิกไลน์มาจองครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_9632.JPG
      SAM_9632.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.6 KB
      เปิดดู:
      56
    • SAM_9635.JPG
      SAM_9635.JPG
      ขนาดไฟล์:
      64.6 KB
      เปิดดู:
      59
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2016
  17. supachaipnu

    supachaipnu ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,367
    ค่าพลัง:
    +7,309
    ปิด 453, 455 ครับ
     
  18. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบการจองครับ :cool::cool::cool::cool:
     
  19. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    **สมาชิกไลน์มาจองครับ**:cool::cool:
     
  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    **สมาชิกไลน์มาจองครับ**:cool::cool::cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...