ระดมทุน..วัตถุมงคล..ราคาพิเศษ..โปรโมชั่น..รวม/ลป.ดู่/คุณแม่บุญเรือน/ลพ.จรัญฯลฯ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 17 กันยายน 2015.

  1. พรหมประกาศิต

    พรหมประกาศิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +13,541
    โอนเรียบร้อยแล้วครับ ที่อยู่แจ้งทางPMครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0479.JPG
      IMG_0479.JPG
      ขนาดไฟล์:
      807.9 KB
      เปิดดู:
      57
  2. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +1,187
    โอนแล้วครับ 20/1/59 เวลา 08.24 น.จำนวน 350 บ.(ต้องขออภัยด้วยนะครับ ที่โอนช้า พอดีทำงานนอกไซด์งาน )
     
  3. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบครับ:cool::cool::cool::cool:
     
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบครับ:cool::cool::cool::cool:
     
  5. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    638.กริ่งสมเด็จพระพุทธนฤมิตรุ่นพิเศษ วัดดอน ยานนาวา พ.ศ.2523 พร้อมกล่องเดิมๆ ให้บูชา 350 บาท


    ครั้นการพระราชทานเพลิงศพ พระครูกัลยาณวิสุทธิ์เสร็จสิ้นแล้ว ทางการคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ พระมหาวิลาศ ญาณวโร ป.ธ.9 เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนสืบแทนต่อมา พระมหาวิลาศ ญาณวโร นี้ ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิโสภณ แล้วรับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิโสภณ ตามลำดับ สมัยที่พระราชวิสุทธิโสภณได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสนี้ วัดดอนเริ่มมีการพัฒนาปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เพราะกุฏิและเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายไม่ว่าจะมองไปทางไหนล้วนแต่เซทรุดคร่ำคร่าทำท่าว่าจะหักพังไปทั้งวัด มีลักษณาการเหมือนคนแก่แลเป็นไข้หนัก ใกล้จะตายด้วยถึงอายุขัยเหตุว่าเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายมีอายุมาแต่สมัยพระอุปัชฌาย์จั่นหรือนานกว่านั้นโดยมาก เมื่อตกมาถึงสมัยนี้จึงมีสภาพชำรุดร่อแร่เต็มทีเป็นที่สังเวชใจแก่ผู้พบเห็นแทนที่จะเกิดศรัทธา ทางวัดจึงวางโครงการพัฒนาใหม่หมดทั้งเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตวัดประโยชน์แล้วดำเนินการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ตามโครงการที่วางไว้ โดยเริ่มสร้างกำแพงวัด กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะที่จำเป็นอื่นๆ ยกเว้นอุโบสถวิหาร ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2510 เป็นต้นมาจนถึง วันที่ 1 ธันวาคม 2522 สิ้นเงินไปแล้วจำนวน 6,050,022.- บาท (หกล้านห้าหมื่นยี่สิบสองบาท)
    เมื่อได้จัดสร้างสิ่งที่จำเป็นในเขตสังฆาวาสเสร็จสิ้นไปพอสมควรแล้ว จึงได้เริ่มงานก่อสร้างอุโบสถวิหารอันเป็นเขตพุทธาวาสต่อไป โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2518 เวลา 16.55 น. แล้วการก่อสร้างก็ดำเนินเรื่อยมา จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2522 สิ้นค่าใช้จ่าย 5,638,210.- บาท (ห้าล้านหกแสนสามหมื่นแปดพันสองร้อยสิบบาท) และประกอบพิธีฝังลูกนิมิต 20 มีนาคม 2523 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีตัดลูกนิมิต นับเป็นพิธีมหามงคลและเป็นเกียรติประวัติสูงส่งสืบไปชั่วกาลนาน.

    คัดลอกจากหนังสือ อนุสรณ์งานฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมา วัดดอน ยานนาวา กรุงเทพฯ 2523
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0549.JPG
      DSC_0549.JPG
      ขนาดไฟล์:
      76.5 KB
      เปิดดู:
      55
    • DSC_0551.JPG
      DSC_0551.JPG
      ขนาดไฟล์:
      80.9 KB
      เปิดดู:
      60
    • DSC_0552.JPG
      DSC_0552.JPG
      ขนาดไฟล์:
      64.2 KB
      เปิดดู:
      43
  6. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    639.พระกรุวัดบางสะแกนอก... ตลาดพลู...ฝั่งธนบุรี...กทม ให้บูชา 450 บาท

    วัดบางสะแกนอก เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ประมาณ พ.ศ. 2090 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้างกาลเวลาได้ผ่านไปกลายเป็นวัดร้างในระยะหนึ่ง ขาดการบูรณะบำรุงรักษา ที่หน้าทางเข้าพระอุโบสถ หันหน้าออก อยู่ทางขวามือมีศิลาหินอ่อนสีดำ จารึกอักษรไทยสำนวนโบราณไว้ เมื่อพ.ศ.2377 ที่อ้างไว้ในศิลาจารึก อยู่ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 (พ.ศ.2367-2394) ซึ่งได้โปรดให้ พระมหาทองดี หรือพระวรญาณมุนี มาทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ร่วมกับ อุบาสิกา จิน ปาน เมือง อุบาสก ศุข มี ต่อจากนั้นท่านก็คงได้สร้างพระเครื่องบรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อสืบทอดพระศาสนา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญการดูพระเนื้อดินก็ประมาณไว้ว่า พระกลีบบัวกรุวัดบางสะแกนี้อายุประมาณร้อยกว่าปี ศิลปต้นรัตนโกสินทร์ ซี่งตรงกับที่จารึกของทางวัดได้บอกไว้...ข้อมูลนี้เอามาจากหนังสือ ลานโพธิ์ ฉบับที่ 471 วางแผงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2530 เขียนโดย คุณ พนม แพทย์คุณ นักเขียนผู้มีชื่อเมื่อครั้งก่อนครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0564.JPG
      DSC_0564.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      45
    • DSC_0565.JPG
      DSC_0565.JPG
      ขนาดไฟล์:
      47.9 KB
      เปิดดู:
      48
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    640.เหรียญหลวงพ่อคลี่ พระครูสมุทรวิจารณ์ วัดประชาโฆสิตาราม ปี 2519 สมุทรสงคราม สภาพพอสวย ฉลองอายุ 72 ปี ศิษย์สร้างบูชาพระคุณ ผิวหิ้ง ให้บูชา 450 บาท***ปิดรายการนี้ครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0560.JPG
      DSC_0560.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51 KB
      เปิดดู:
      54
    • DSC_0561.JPG
      DSC_0561.JPG
      ขนาดไฟล์:
      40.6 KB
      เปิดดู:
      43
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2016
  8. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    641.รูปหล่อทองแดงกะไหล่ทองพระสังกัจจายน์ วัดทองธรรมชาติ สร้างปี 2500โค้ดก้นหอยสังข์ชัดเจน ให้บูชา 350 บาท**สมาชิกไลน์มาจองครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0570.JPG
      DSC_0570.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.4 KB
      เปิดดู:
      38
    • DSC_0571.JPG
      DSC_0571.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.7 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC_0572.JPG
      DSC_0572.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      32
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2016
  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    642.รูปถ่ายเก่า หลวงปู่แหวน วันอังคาร เลี่ยมพร้อมใช้ (รูปเม็ดสาคู) ให้บูชา 450 บาท***ปิดรายการนี้ครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0566.JPG
      DSC_0566.JPG
      ขนาดไฟล์:
      76.8 KB
      เปิดดู:
      43
    • DSC_0567.JPG
      DSC_0567.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71.9 KB
      เปิดดู:
      47
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2016
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    644. ล็อกเก็ต หลวงพ่อสร้อย วัดเลียบ (ราษฎร์บำรุง) กทม ตัวถังอลูมิเนียม ให้บูชา 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0568.JPG
      DSC_0568.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.3 KB
      เปิดดู:
      40
    • DSC_0569.JPG
      DSC_0569.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.1 KB
      เปิดดู:
      45
  11. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    645.สมเด็จหลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์ พิธีเสาร์5 ปี2526 สภาพสวย ให้บูชา 1200 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0562.JPG
      DSC_0562.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      41
    • DSC_0563.JPG
      DSC_0563.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.4 KB
      เปิดดู:
      58
  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    646.เหรียญหลวงพ่อคลี่ พระครูสมุทรวิจารณ์ วัดประชาโฆสิตาราม ปี 2519 สมุทรสงคราม สภาพพอสวย ฉลองอายุ 72 ปี ศิษย์สร้างบูชาพระคุณ ผิวหิ้ง ให้บูชา 450 บาท***ปิดรายการนี้ครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0573.JPG
      DSC_0573.JPG
      ขนาดไฟล์:
      54.2 KB
      เปิดดู:
      56
    • DSC_0574.JPG
      DSC_0574.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.9 KB
      เปิดดู:
      43
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2016
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    647.พระกริ่ง วิสุทโธ วัดดอนยานนาวา พิธีใหญ่ ชนวนผสม ของหลวพ่อกึ๋น วัดดอน สภาพสวย ให้บุชา 650 บาท**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
    พะรุ่นนี้...น่าใช้ครับ...พิธีใหญ่ .... มวลสารดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0558.JPG
      DSC_0558.JPG
      ขนาดไฟล์:
      49.6 KB
      เปิดดู:
      91
    • DSC_0559.JPG
      DSC_0559.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.2 KB
      เปิดดู:
      45
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  14. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    **มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***:cool::cool::cool:
     
  15. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    555555555555555555555
     
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    สมาชิกไลน์มาจองครับ
     
  17. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    648.พระปิดตา หลังสังกัจจายน์(นิยม) หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา เนื้อจัด สภาพสวย ให้บูชา 450 บาท**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0583.JPG
      DSC_0583.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.1 KB
      เปิดดู:
      51
    • DSC_0584.JPG
      DSC_0584.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.7 KB
      เปิดดู:
      55
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  18. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    649.เทพอินทร์แปลงสี่หูห้าตา อาจารย์สุบิน เนื้อตะกั่ว สภาพสวย ให้บูชา 200 บาท**ปิดรายการนี้ครับ**
    ตำนานพญาวานร “สี่หูห้าตา” สุดยอดเครื่องรางแดนล้านนาเด่นดังด้านโชคลาภ

    แมงสี่หูห้าตา เป็นชื่อสัตว์ประหลาดตัวหนึ่งในตำนานว่าด้วยวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีลักษณะเหมือนหมีสีดำตัวอ้วน มีหูสองคู่และตาห้าดวง รับประทานถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และถ่ายมูลเป็นทองคำ

    ตำนานของแมงสี่หูห้าตานั้นเกี่ยวข้องกับการสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงราย และเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายหลงรักอนุภรรยามากกว่าเอกภรรยาด้วย

    ความหมาย ตามตำนานแมงสี่หูห้าตาฉบับครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาอธิบายว่า จำนวนสี่หูและห้าตานั้นแสดงถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือ พรหมวิหาร 4 และศีล 5 ตามลำดับ เป็นการให้คติแก่พุทธศาสนิกให้พึงรักษาและปฏิบัติหลักธรรมดังกล่าว

    ตามตำนานของวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว จังหวัดเชียงรายเชื่อกันว่า แมงสี่หูห้าตามีลักษณะตัวอ้วนและเตี้ย มีกายภาพอย่างหมี และมีขนยาวสีดำปกคลุมร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหูสองคู่และมีตาห้าดวง โดยที่ดวงตาของแมงสี่หูห้าตาเป็นสีเขียว รับประทานถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และมูลของแมงสี่หูห้าตานี้เป็นทองคำ อย่างไรก็ดี มิได้ปรากฏว่ามีอุปนิสัยดุร้ายหรืออย่างอื่นใด มีรูปปั้นของสัตว์นี้ปรากฏที่วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

    อีกความเชื่อหนึ่ง เช่น ตามตำนานแมงสี่หูห้าตาที่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาแห่งจังหวัดลำพูนเขียนขึ้น ว่าลักษณะของแมงสี่หูห้าตาไว้อีกแบบหนึ่ง โดยมีลักษณะคล้ายลิง และเรียก "พญาวานรสี่หูห้าตา"

    กับทั้งยังได้เชื่อมโยงสัตว์นี้เข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนาด้วย โดยว่าจำนวนสี่หูและห้าตานั้นที่แสดงถึงหลักธรรมพรหมวิหาร 4 และศีล 5
    มีรูปปั้นของพญาวานรนี้ในจังหวัดลำพูน และเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรูปวัตถุมงคลที่ผลิตขึ้นโดย พระโต ฐิตวิริโย...

    คำบูชาสี่หูห้าตา
    "สาธุ อหัง นะมามิ พระอินทร์ อากาเสจะ พุทธทิปังกะโร นะโมพุทธายะอิอะระณัง อะระหัง กุสะลาธัมมา สัมมาสัมพุทโธ ทุสะนะโส นะโมพุทธายะ พระโสนามะ ยักโข เมตตามหาลาภา ปิยังมะมะ ทันตะ ปริวาสะโภ วาสุนี หะเต โหนตุ ชัยยะมังคลานิ"

    พุทธคุณ บูชาทุกวัน กันไฟไหม้ ฟ้าผ่า อันตรายต่าง ชนะภัยทั้งปวง บรรเทาทุกข์ จากการเจ็บป่วย และเป็นมหาโชค มหาลาภ แก่ผู้ที่บูชากราบไหว้ ดีนักแล.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0585.JPG
      DSC_0585.JPG
      ขนาดไฟล์:
      76.6 KB
      เปิดดู:
      37
    • DSC_0586.JPG
      DSC_0586.JPG
      ขนาดไฟล์:
      84 KB
      เปิดดู:
      45
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2016
  19. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    650.ล็อคเก๊ต หลังตะกั่ว อาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง ยุคต้น หายาก ให้บูชา 250 บาท***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**

    "ประวัติและชาติภูมิคนดีมีวิชา" ท่านปรมาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง มีนามเดิม"ฟ้อน"เกิดในราวพ.ศ.2426-2427 ณ ที่หมู่บ้านชุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ"นายสว่าง ดีสว่าง"เป็นบ้านโพง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ"แพ่ง ดีสว่าง"เป็นคนบ้านชะอม อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน ตามลำดับดังนี้ 1.นายสุวรรณ ดีสว่าง 2.นางฟอง 3.อาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง 4.นายฟุ้ง ดีสว่าง 5.นายมี ดีสว่าง 6.นายเลี่ยม ดีสว่าง 7.นางลำดวน
    "ชีวิตเมื่อเยาว์วัย" บิดามารดาท่านได้อพยพครอบครัวไปอยู่ที่หมู่บ้านโพธิ์เก้าต้น จ.ลพบุรี ในช่วงปฐมวัยนี้เด็กชายฟ้อน มีสุขภาพไม่ค่อยดีมีโรคประจำตัวรุมเร้า(เป็นโรคริดสีดวงจมูก) บิดามารดาพยายามเยียวยารักษาจนสุดความสามารถ แต่โรคร้ายหาได้ทุเลาเบาบางลงไม่และในที่สุดเด็กชายฟ้อนก็ถึงกับจมูกโหว่"เรื่องที่ท่านอาจารย์ฟ้อน จมูกโหว่มีหลายท่านที่รู้ไม่จริงบอกว่าท่านอาจารย์ฟ้อนตัดปลายจมูกแลกวิชา"ไม่มีมนุษย์ที่ไหนเขาตัดจมูกแลกวิชาหรอกครับ พอท่านมีอายุได้ประมาณ 10 ขวบ บิดาท่านได้นำตัวท่านมาฝากไว้กับ"หลวงพ่อปลอด สุคันธจันทร์"ผู้เป็นหลวงน้าที่วัดกลาง จ.อยุธยา หลวงพ่อปลอด รูปนี้ท่านเป็นผู้ทรงคุณวิเศษในทางพระเวทย์วิทยา ที่สำนักวัดกลางในสมัยนั้น มีศิษย์วัดที่ร่วมสำนักเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก มีเด็กชายตาบ ทองสาริ และ เด็กชายปั่น สุคันธจันทร์ ผู้ซึ่งเป็นญาติสนิทรวมอยู่ด้วย ชีวิตประจำวันของเด็กชายฟ้อนมีความทุกข์ระทมขมขื่นเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่รังเกียจเดียดฉันของเพื่อนร่วมสำนักอยู่มาก จะมีก็เด็กชายตาบและเด็กชายปั่นที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พระหลวงน้าก็ดูแลไม่ทั่วถึง การเรียนเขียนอ่านไม่เก่ง อ่านออกเขียนได้ก็แต่"ฟ้อน"ตัวเดียว มีชีวิตอยู่ได้เพราะข้าวก้นบาตร ต่อมาเด็กชายตาบ ทองสาริ ได้บวชเป็นสามเณรศึกษาด้านเลขยันต์ ส่วนท่านอาจารย์ฟ้อน ก็มีภูมิรู้เท่าเดิมหลวงน้าเห็นว่ายังไปไม่ถึงไหนก็กวดขันมากขึ้นแต่ท่านอาจารย์ฟ้อน หาได้สนใจไม่เที่ยวเล่นไปตามประสา

    "พระหลวงน้าบอกพระคาถาเมตตา" มีอยู่วันนึงเด็กชายฟ้อนอยู่กับพระหลวงน้าตามลำพังได้กราบเรียนถามพระหลวงน้าว่า"หลวงน้า ช่วยสอนวิชามือยาวให้ผมบ้างซิครับ" หลวงพ่อปลอดท่านพูดว่า"พิโธ่เอ๋ย เจ้าฟ้อนหนังสือยังอ่านไม่ออกสักตัวแล้วเอ็งจะเรียนวิชาอาคม" เด็กชายฟ้อนก็ได้เรียนบอกหลวงพ่อปลอดว่า"หลวงน้าก็สอนผมด้วยคำพูดซิครับ"แทนที่ท่านจะโกรธเคืองท่านกลับยิ้มด้วยความปรานี แต่เมื่อท่านหวนนึกถึงสภาพสังขารของหลานชาย เห็นว่าพิกลพิการ ต่อไปภายหน้าชีวิตในเพศคฤหัสถ์คงจะมีความยากลำบาก ท่านจึงได้ให้ท่านอาจารย์ฟ้อน บวชเณรโดยได้สอนพระคาถาเมตตามหานิยมให้เป็นอันดับแรก โดนท่านแนะเคล็ดลับในการเจริญภาวนา แต่ละครั้งจนมีความเข้าใจและขึ้นใจหลังจากนั้นก็นำไปปฎิบัติทดลองดูผล ความที่ท่านอาจารย์ฟ้อน มีความตั้วใจจริง มุ่งมั่นในการปฏิบัติจึงทำให้พระคาถามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอศัจรรย์ ทุกครั้งที่ท่านเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่หรือร่วมวงสนทนากับใครก็จะเป็นที่เมตตารักใคร่ หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้เรียนหรือต่อคาถาในบทใดอีกเลยเพราะพระหลวงน้าไม่มีเวลาว่าง เนื่องจากงานในพระศาสนาต่างๆ หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ได้มรณะภาพลงที่วัดมหาพฤฒาราม(วัดตะเคียน)กรุงเทพ เมื่อท่านอาจารย์ฟ้อนได้ทราบข่าวการมรณะภาพของพระหลวงน้าท่าน ท่านอาจารย์ฟ้อน ก็ได้แต่เสียใจและในขณะนั้นก็เหมือนมีอะไรดลใจท่านให้เข้าค้นกุฏีพระหลวงน้าท่าน จนพบตำราวิทยาคมซุกซ่อนไว้อย่างมิดชิด ท่านอาจารย์ฟ้อนจึงถือครองกรรมสิทธิ์ในตำรานั้นแล้วรอจนเสร็จงานฌาปนกิจพระหลวงน้า ท่านอาจารย์ฟ้อน จึงได้นำตำราไปให้สามเณรตาบอ่านให้ฟังและจดจำร่ำเรียนอยู่หลายเดือน แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์สามเณรตาบผู้ปราดเปรื่องกับจดจำพระเวทย์วิทยาในตำรานั้นหาได้ไม่ หลังจากนั้นไม่นานท่านปรมาจารย์ฟ้อน ก็กลับไปอยู่กับบิดาท่านที่บ้านโพธิ์เก้าต้น จ.ลพบุรี เวลาให้หลังไม่นาน ครั้งนี้ท่านอยู่ในเพศสมณะดูเป็นที่น่าศรัทธายิ่ง ไม่ทราบว่าท่านบวชที่วัดใด ใครเป็นอุปัฌาย์อาจารย์ ซึ่งในช่วงเวลานี้สามเณรตาบก็บวชเป็นภิกษุเช่นกัน
    อ.ฟ้อน ดีสว่าง ถือกำเนิดที่เมืองอยุธยา อำเภอนครหลวง แล้วบิดามารดาได้อพยพครอบครัวไปอยู่เมืองลพบุรี ที่หมู่บ้านโพธิเก้าต้น ตัวท่านนั้นเป็นเด็กที่เกิดมาหน้าตาผิดปกติบนใบหน้า เมื่อย่างเข้าวัยศึกษาบิดามารดาจึงได้พาไปฝากกะ ผู้ที่เป็นน้องชายที่เป็นเจ้าอาวาสวัด กลาง อำเภอนครหลวง ที่มีชื่อเสียง โด่งดังในพระเวทย์คุณไสย คาถาอาคมโดยเฉพาะเรื่องสักยันต์ที่ไม่เหมือนใคร คือใช้เลือดของอาจารย์สักยันต์ให้กับผู้ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ ต่อไปนี้ผมจะเรียกว่า หลวงน้านะครับ ท่านชื่อ พระอาจารย์ ปลอด ซึ่งวัยเด็กที่คบหาอาจารย์ ฟ้อน นั้นมีพึงพาได้ไม่กี่คน 1 ในนั้นคือคนที่ชื่อ ตาบ เพราะด้วยความผิดปกติที่ใบหน้านี่เองท่านจึงไม่ยอมเข้าเรียน กะเพื่อน ๆ ทำให้อ่านไม่ออก เขียนก็ไม่ได้ หลวงน้าชายเห็นกลัวว่าหลานตัวเองจะเอาตัวไม่รอด จึงได้เฝ้าเพียรถ่ายทอดวิชาอาคมไว้ให้ทั้งหมด ซึ่งอ. ฟ้อนท่านผิดปกติแต่หน้าตาเท่านั้น ส่วนความจดจำนั้นเป็นเลิศได้อย่าง อัศจรรย์ สอนเพียงครั้งเดียวจดจำไว้ได้ทั้งหมดเด็กวัดต่อมาได้อุปสมบทเป็น เณรตาบ ครับ หลวงน้าท่านได้สอนวิชาพวกสาขาเวชกรรม ถอดถอนพิษร้ายจากคาถาอาคม ส่วนในหมวดมนต์ดำ วิชาอาถรรพณ์นั้นหลวงน้าได้ซุกซ่อนไว้ จนกระทั่งมรณะภาพลง อ.ฟ้อนจึงได้พบตำราสำคัญเล่มนั้นพอได้ตำรามา ก็ให้สามเณรตาบ อ่านให้ฟังและฝึกปรือจนชำนาญ พอร้อนวิชามากเข้าท่านได้หายเงียบไปจากอยุธยานานหลายปี ข่าวว่าได้กลับไปอยู่กะบิดามารดาที่หมู่บ้านโพธิเก้าต้น เปิดสำนักรักษาโรคด้วยสมุนไพร และวิชาพระเวทย์คุณไสยอาคมทางคงกะพัน เสน่ห์ มหานิยมจนเป็นที่โจษขานที่เมืองลพบุรีได้มีลูกศิษย์มาฝากตัวมากมายเมื่อท่าน ร้อนวิชาอีกก็ได้หายเงียบไปจากลพบุรีไปปรากฏตัวยัง วัดกลาง ที่อยุธยาที่เป็นวัดที่พระอาจารย์(หลวงน้าท่าน) ตัว อ.ฟ้อนได้บวชที่วัดกลางเป็น พระอาจารย์ฟ้อน ท่านได้ช่วยญาติโยมรักษาโรค สักยันต์จนในที่สุดได้หายเงียบไปอีก ไปปรากฏตัวที่ อ.บางประหัน อยุธยา

    ที่วัดไก่ฟ้านี่เองที่ท่านได้ปล่อยวิชาทางคุณไสยมนต์อาถรรพณ์ออกมาอย่างไม่ ออมฝีมือนอกจากรักษาผู้คนที่เจ็บป่วยได้หายดุจหมอเทวดา ในทางอาคมก็ได้ครอบให้กับวัยรุ่นในละแวะนั้นที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ การสักยันต์(ปะสะเลือด)หรือการถ่ายเลือดนั้นเอง คือถ่ายเลือดจากตัว อาจารย์ฟ้อน พิธีครอบครูมี มีดซึ่งต่อไปจะเป็น มีดหมอประจำตัวผู้เป็นศิษย์ไปตลอดชีวิต ดอกไม้สีขาว 9 ดอก ธูป 9 ดอก เทียนขาว 9 เล่ม ผ้าขาวม้าขาว 3 เมตร 1ผืน ผ้าเช็ดหน้าสีขาว 1 ผืน(ซึ่งต่อมาคนจะเรียกกันว่าผ้ายันต์นั่นเอง) หัวหมู 1 คู่พิธีเริ่มผู้เป็นศิษย์อาบน้ำชำระร่างกาย นุ่งขาวห่มขาว เช่นเดียวกัยตัว อาจารย์ฟ้อน ภายในที่กำหนดแท่นตั้งเครื่องบูชาครู สิ่งที่ใช้สักยันต์ อ.ฟ้อนมิได้ใช้เข็มดังเช่น อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือสำนักอื่น ๆ แต่ท่านใช้มีดที่ศิษย์เตรียมมานั่นแหละกรีดบนศีรษะ และตามตัวของศิษย์ท่านก็ใช้มีด เล่มเดียวกันเชือดลิ้นตัวเองให้เลือดไหลลงแก้วที่รองไว้

    ขั้นตอนต่อไปท่านจะมีมีดดาบปลายปืนขนาดยาวเฟื้อย อีก 2 เล่มตอกสุดแรงเข้าไปในเพดานปากของท่าน เพื่อให้เลือดไหลลงมาตามด้ามมีดลงไปในแก้ว จำนวนเลือดทั้งหมดอยู่ในแก้วจะถูก อาจารย์ฟ้อน ท่านเทกรอกใส่กลับในปากอีกครั้ง แล้วอมนั่งบริกรรมคาถา พ่นเลือดลงในผ้าเช็ดหน้าสีขาวนั้น นำไปทาลงตามรอยปลายมีดที่กรีดยันต์ไว้ทั่วทุกจุดบนร่างกายของผู้ครอบพิธี บาดแผลทั้งหมดที่ท่านได้เชือดปลายลิ้นและใช้มีดดาบตอกเพดาน ท่านอมน้ำบริกรรมคาถาครู่ใหญ่ ในปากกลืนหายไปในลำคอ แผลทั้งหมดก็สนิทและต่อไปท่านทำพิธีครอบครูครู่ใหญ่ และจะได้สอนวิชาที่ไว้ใช้ฉุกเฉินให้แก่ศิษย์ เช่น คาดพิษงู ประสานบาดแผล เมตตามหานิยม

    ที่สถานีรถไฟปากช่อง ยามใดที่ อาจารย์ฟ้อนจะเดินทางจากโคราชไปเมืองนครนายก บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจะพากันมายืนคอยรับส่งอยู่ที่สถานีเป็นจำนวนมาก บั้นปลายท่าได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดบึง(ต่อมาเรียกว่า วัดบึงพระอาจารย์ และต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดสุนทรพิชิตาราม) วาระสุดท้ายท่านก็เสียที่วัดบึงพระอาจารย์งานศพของท่านได้มีลูกศิษย์มากัน มากมาย มีทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้า ประชาชนจากกรุงเทพ อยุธยา ลพบุรี โคราช เดินทางไปร่วมงานกันมากมาย ลิเกคณะ ส. สำราณศิลป์ได้ แสดงในงานศพ ซึ่งโต้โผ(หัวหน้าคณะ) เป็นศิษย์ อ.ฟ้อน

    ต่อไปจะขอนำอภินิหารในบางส่วนมาเล่าให้กันฟังนะครับเริ่มจาก คณะลิเกกันก่อน โต้โผลิเกแทบทุกคณะของเมืองลพบุรี โคกสำโรง สระบุรี อยุธยาล้วนได้ฝากตัวเป็นศิษย์อาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง อย่างศิโรราบ เพราะปรากกว่า ลิกเกทุกคณะ นางเอกวัยรุ่นระดับดาวประจำโรง ได้ถูกอาจารย์ฟ้อนท่านเอาไปเป็นเมียจนหานางเอกมาทดแทนไม่หวาดไม่ไหว อาจารย์ฟ้อน ดีสว่างเมื่อใดที่ท่านอัปลักษณ์จมูกโหว่ได้ไปถูกอีสาวคราวลูกวัยเอ๊าะ ๆ กล่าวคำปรามาสใส่หน้าแล้วละก้อ ตอนนั้นแหละ อาจารย์ฟ้อน ท่านจึงจะได้ลั่นวาจาออกไป ***จะเอา***ไปเป็นเมียอยู่กินกับ***ที่ บ้าน ค่ำคืนนั้นตัว อาจารย์ฟ้อนท่านนอนรออยู่ที่บ้านเฉย ๆ ไม่ได้ดิ้นรนอาทรร้อนใจอะไร อีสาวคราวลูก วัยเอ๊าะ ๆ มันแจ้นไปสู่อ้อมกอด อาจารย์ฟ้อน ด้วยตัวของมันเองและท่านก็หาได้เสียสัตย์ ที่ตรงไหนแม้แต่คนเดียว เมียของท่านล้วนเป็นแต่นางเอกลิเก แม่ค้าตาหวาน ท่านรับเลี้ยงดูเป็น เมีย หมดทุกคนทั้งได้อยู่กินกับท่าน รวบได้ 10 กว่าคน
    สมัยที่ท่านอยู่วัดไก่ฟ้า ก้อนหินที่อาจารย์ใช้ให้พากันแบกขนมาเพื่อใช้ในงานก่อสร้างวัด บูรณะวัดนั้น ท่านได้เป่าคาถาไปพรวดเดียว หินก้อนนั้นได้กลายเป็นเต่า คลานเดิน สี่ขาทุกคนเห็นกันตาจนตะลึง หรือแม้แต่ ผีนางตะเคียนแถววัดไก่ฟ้า ท่านเรียก ผีนางตะเคียนมาให้คนทุกได้ชมกัน หรือแม้แต่คราวที่ท่านได้ทำนายว่าต่อไปบรรดาชายฉกรรจ์จะได้เป็นกำลังสำคัญ ของชาติก็เป็นจริงเมื่อครั้งญี่ปุ่นบุกประเทศไทย ท่านได้ทำการสักยันต์ อาบว่านให้บรรดาชายชาตรีที่อาสาเป็นเสรีไทยออกไปต่อสู้กะทหารญี่ปุ่น จึงขอจบอัตชีวประวัติของ อาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง คร่าว ๆ เพียงแค่นี้ นะครับ ( ขอขอบคุณข้อมูลดีๆด้วยครับคุณสาลีโข )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0587.JPG
      DSC_0587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.4 KB
      เปิดดู:
      55
    • DSC_0588.JPG
      DSC_0588.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.7 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2016
  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    651.ตะกรุดสี่เกลอ หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ สภาพสวย ซองเดิม ให้บูชา 500 บาท**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**

    "ตะกรุดสี่เกลอ" หลวงพ่อสาครได้ศึกษากับหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ เจ้าของตำนาน "พระขุนแผนพรายกุมาร" และได้ศึกษากับหลวงปู่เพ็ง วัดระหารใหญ่ ผู้เขียนตัว "นะ" เพียงตัวเดียวปืนยิงไม่ออกเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

    อุปเทห์การใช้ ถ้าจะสู้เอาไว้ด้านหน้า ถ้าจะหนีให้เอาไว้ด้านหลัง เข้าหาสมณชีพราหมณ์-เจ้าพระยาเอาไว้ด้านขวา เข้าหาสตรีเพศเอาไว้ด้านซ้าย ก่อนนำไปใช้ ตั้งนะโม 3 จบ ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ คุณบิดา-มารดา แล้วจึงอธิษฐานตามต้องการให้ถูกต้องตามทำนองครองธรรม แล้วจึงว่าคาถาหัวใจสี่เกลอ "กะระมะถะ กิริมิถิ กุรุมุถุ" 3 จบ แล้วเป่าไปที่ตะกรุด แล้วจึงเอาตะกรุดไว้ตามทิศที่จะใช้

    การสร้างตะกรุดสี่เกลอ หลวงพ่อสาครได้นำเอาวิชาของหลวงปู่ทิมและหลวงปู่เพ็งมารวมกัน เรียกว่าดีเป็นสองเท่า เนื้อโลหะที่นำมาทำตะกรุดสี่เกลอนี้ผสมกับตะกั่วที่ทำพระปิดตามหาลาภปี 37 แล้วนำมาหล่อหลอมรีดให้เป็นแผ่นขนาดพอดีแล้วนำไปปั๊มเลขยันต์ และจะต้องนำมา "พินทุอธิษฐาน" จารยันต์ของหลวงปู่เพ็งอีกครั้งหนึ่ง เวลาม้วนและอุดเทียนชัยจะต้องบริกรรมพระคาถา "อิติคงคับ สวาหะ นะกรึงคะรัง" กำกับทุกดอก

    การอธิษฐานปลุกเสก หลวงพ่อสาคร จะเลือกวันดีที่เข้าเกณฑ์ "เพ็ชรฤกษ์" ตั้งราชวัตรฉัตรธงตามเพดานซึ่งเป็นยันต์ "การีนิสิงเห" อธิษฐานจิตปลุกเสกตลอดไตรมาสจนที่พอใจ จึงให้ญาติโยมและลูกศิษยฺ์ไปใช้ป้องกันตัวให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย

    "ตะกรุดสี่เกลอ" เป็นตะกรุดที่มีพุทธคุณแคล้วคลาดคงกระพัน อีกทั้งเป็นเสน่ห์เมตตา มหานิยม โบราณจารย์นิยมสร้างกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0591.JPG
      DSC_0591.JPG
      ขนาดไฟล์:
      92.2 KB
      เปิดดู:
      44
    • DSC_0592.JPG
      DSC_0592.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.2 KB
      เปิดดู:
      39
    • DSC_0593.JPG
      DSC_0593.JPG
      ขนาดไฟล์:
      38.9 KB
      เปิดดู:
      37
    • DSC_0594.JPG
      DSC_0594.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.4 KB
      เปิดดู:
      47
    • DSC_0595.JPG
      DSC_0595.JPG
      ขนาดไฟล์:
      35 KB
      เปิดดู:
      41
    • DSC_0596.JPG
      DSC_0596.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.5 KB
      เปิดดู:
      57
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...