เรื่องเด่น เตือนโลกเข้าสู่หายนะ ปี 2020 ติดโผร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 6 ธันวาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8a5e0b881e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b8aae0b8b9e0b988e0b8abe0b8b2e0b8a2e0b899e0b8b0-e0b89be0b8b5.jpg

    องค์การสหประชาชาติ เตือนโลกกำลังอยู่ในหายนะ โดยจากสถิติพบว่า ปีนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในปีที่ร้อนที่สุดในรอบร้อยกว่าปี

    วันนี้ ( 6 ธ.ค. 63 )องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) เตือนว่าโลกกำลังอยู่ในช่วง “หายนะของสภาพภูมิอากาศ” โดยปีนี้ เป็น 1 ใน 3 ปีที่โลกร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกตั้งแต่ปี 1850 หรือเมื่อ 170 ปีที่แล้ว

    อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เปิดเผยรายงานของปี 2020 ที่ระบุว่าโลกกำลังเข้าใกล้ภัยพิบัติจากสภาพอากาศ โดยภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างไฟไหม้ น้ำท่วม พายุไซโคลน และเฮอริเคนกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมนุษย์กำลังทำสงครามกับธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นการฆ่าตัวตายเพราะธรรมชาติมักจะโต้กลับเสมอ และธรรมชาติก็กำลังโต้กลับด้วยพลังและความโกรธที่เพิ่มมากขึ้น

    ด้าน เพตเตรี ทาลัส เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2020 เพิ่มขึ้น 1.2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีโอกาสอย่างน้อย 1 ใน 5 ที่จะเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2024 ในปีนี้ กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับ 2 เท่าที่เคยมีการบันทึกมา โดยในช่วงปี 2015 ถึง 2020 อุณภูมิโลกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 6 ครั้ง และอุณภูมิเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาก็ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน


    ก๊าซเรือนกระจก ได้ทำสถิติสูงสุดในปีที่แล้วและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ แม้จะมีมาตรการระงับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม เช่นเดียวกับ คาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ดังนั้นมาตรการจากโควิด-19 นั้นแทบจะไม่มีผล แต่จะต้องมีการผลิตน้ำมันก๊าซและถ่านหินลดลง 6% ต่อปีเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อน


    ในช่วงปี 2020 ได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นไฟป่าในออสเตรเลีย ไซบีเรีย ชายฝั่งทางตะวันตกของสหรัฐ และอเมริกาใต้, น้ำท่วมในแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เกิดพายุอย่างน้อย 30 ครั้ง


    ขณะที่ความร้อนทางตอนเหนือของไซบีเรียก็เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 38 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดที่เคยพบทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิล, นอกจากนี้ 80% ของพื้นที่ของมหาสุมร ก็ประสบกับคลื่นความร้อนทางทะเลอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ รวมถึงระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเนื่องจากแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย


    อย่างไรก็ตาม รายงานอุณหภูมิฉบับนี้ ยังเป็นเพียงฉบับชั่วคราวโดยอ้างอิงจากอุณหภูมิตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม ซึ่งรายงานฉบับสุดท้ายของปีนี้จะเผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2021




    ขอบคุณที่มา
    https://www.tnnthailand.com/content/64445
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 ธันวาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...