เครื่องรางของขลัง ภูมิปัญญาในมิติวิชาการ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 27 สิงหาคม 2010.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    เครื่องรางของขลัง ภูมิปัญญาในมิติวิชาการ

    รายงานพิเศษ



    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    เสื้อยันต์โบราณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อวันที่ 19-20 ส.ค.ที่ผ่านมา สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมกับ ศูนย์คติชนวิทยา คณะอักษรศาสตร์ และสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเวทีสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่อง "เครื่องรางของขลัง วัฒนธรรมชาวพุทธในสุวรรณภูมิ"

    โดยระดมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้รู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ กว่า 20 ท่านร่วมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเครื่องรางของขลัง เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเครื่องรางของขลังในมิติด้านวิชาการ และเปิดตัวหนังสือ "เลขยันต์ : แผนผังอันศักดิ์สิทธิ์" ที่ได้รับการสนับสนุนการจัดพิมพ์จาก สพร.

    อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต กล่าวถึงเครื่องรางของขลังในสังคมไทยว่า เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของคนไทยสมัยโบราณ ที่เป็นกุศโลบายให้คนมุ่งเข้าหาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา น่าเสียดายว่าคนในยุคสมัยนี้ไม่สนใจค้นหาและสืบทอดแก่นความรู้เหล่านี้ โดยหันไปมุ่งเน้นในเรื่องไสยศาสตร์ และผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทำให้ภูมิปัญญาที่มีคุณค่ากลายเป็นความเชื่อที่งมงายไร้สาระ <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.ยันต์แบบต่างๆ

    2.พระครูปลัดสิทธิสังวร

    3. ผ้ายันต์

    4.หนังสือเลขยันต์

    5.จุลทัศน์ พยาฆรานนท์

    6.รศ.สุกัญญา สุจฉายา

    7.ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รศ.สุกัญญา สุจฉายา ผอ.ศูนย์คติชนวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า เรื่องของเลขยันต์เป็นศาสตร์ชั้นสูง เป็นภูมิปัญญาโบราณที่มีเหตุและผลทางทฤษฎี และมีระบบระเบียบประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม องค์ความรู้ขาดการสืบทอดไป สิ่งที่หลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันคือสิ่งที่เป็นรูปธรรมประกอบไปด้วย เลข สัญลักษณ์ รูปแบบ อักขระลาย เส้นต่างๆ ซึ่งจะหาผู้ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทั้ง 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกันในปัจจุบันค่อนข้างยาก การระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านในครั้งนี้จึงเป็นการช่วยขยายความรู้ ไม่ให้ภูมิปัญญาเหล่านี้ถูกมองในมิติด้านไสยศาสตร์เพียงด้านเดียว

    ผู้เชี่ยวชาญด้านยันต์สาขาต่างๆ อาทิ นายเชษฐา ฉายาสถิต ผู้เชี่ยวชาญยันต์สาย หลวงปู่ศุข, ดร.กังวล คัชชิมา คณะโบราณคดี มหา วิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญยันต์เขมร, อาจารย์สวิง บุญเจิม ผู้เชี่ยวชาญยันต์อีสาน และนักวิชาการท่านอื่นๆ ต่างกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า

    รูปแบบของยันต์ในมีความคล้ายคลึงกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้อักษร "ขอม" เป็นตัวเขียนซึ่งเป็นการใช้แทนภาษา "บาลี" ที่ไม่มีตัวเขียน และตัวเขียนในยันต์ล้วนเป็นอักษรย่อจากคาถาต่างๆ จากพระสูตรหรือคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นบันทึกไว้อีกทีหนึ่ง

    พระครูปลัดสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม ผู้เชี่ยวชาญยันต์สายวัดพลับระบุ เลขยันต์ไม่ได้เป็นความเชื่อที่งมงาย แต่เป็นกุศโลบายในการดึงคนให้เข้าสู่ธรรมะเบื้องสูง อย่างยันต์ที่เขียนว่า อุ อา กะ สะ คือคาถาหัวใจเศรษฐีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้

    "อุ ย่อมาจากคำว่า อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร อา ย่อมาจากคำว่า อารักขสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยการรักษาคุ้มครองทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ กะ ย่อมาจากคำว่า กัลยาณมิตตตา แปลว่า การมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว สะ ย่อมาจากคำว่า สมชีวิตา แปลว่า การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ก็ไม่มีทางรวยได้ ครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณท่านจะสอนเพื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมะ"

    ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้เป็นพันธกิจหนึ่งของสพร. ที่จะช่วยต่อยอดขยายองค์ความรู้ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาของคนไทย ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในวงวิชาการและการศึกษา ต่อไป


    ------------
    ที่มา: ข่าวสดออนไลน์
    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1DMHdPQzB5Tnc9PQ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  2. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    [​IMG]


    กราบระลึกถึงหลวงพ่อวีระ ฐานวีโรครับ เป็นกุศโลบายอันแยบคายของคนโบราณ อีกทั้งยังใช้ในการทำสมาธิด้วยครับ
     
  3. คนวิเชียร

    คนวิเชียร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +1,298
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ ครับ เลขยันต์ไม่ได้เป็นความเชื่อที่งมงาย แต่เป็นกุศโลบายในการดึงคนให้เข้าสู่ธรรมะเบื้องสูง อย่างยันต์ที่เขียนว่า อุ อา กะ สะ คือคาถาหัวใจเศรษฐีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ประวัติย่อ พระครูสิทธิสังวร (หลวงพ่อจิ๋ว ศิษย์ไก่เถื่อน )
    วิทยากรในงาน"เครื่องรางของขลัง วัฒนธรรมชาวพุทธในสุวรรณภูมิ"
    (ตามหัวข้อกระทู้)

    [​IMG]

    วิทยฐานะ น.ธ.เอก ป.ว.ช
    วัดราชสิทธาราม แขวงวัดอรุณ อำเภอบางกอกใหญ่ กรุงเทพ ๑๐๖๐๐

    บรรพชา-อุปสมบท
    • พระอุปัชฌาย์ พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (พระธรรมรัตนวิสุทธิ์)
    • พระกรรมวาจาจารย์ พระครูไพโรจน์กิจจาทร (วิโรจน์)
    • พระอนุสาสนาจารย์ พระครูประสิทธิวุธคุณ (พระมหาบุญเชิด สุชิโต)


    การศึกษาทางโลก
    พ.ศ.. ๒๕๑๔ ศึกษาจบ ป.วช. แผนกพานิชยการ โรงเรียนพานิชยการาชดำเนิน


    การศึกษาฝ่ายคันถธุระ
    พ.ศ.๒๕๒๖ สอบนักธรรมตรีได้
    พ.ศ. ๒๕๒๗ สอบนักธรรมโทได้
    พ.ศ. ๒๕๒๘ สอบนักธรรมเอกได้


    การศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗ ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแนวสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

    ปริญญากิตติศักดิ์
    พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ สาขาวิชาปรัญญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก (วิชาปรัชญา- กัมมัฏฐานมัชฌิมา)ชาวต่างประเทศ มี
    ดร.โอลิวิเยร์ เดอ แบตง แห่งสมาคมฝรังเศสปลายบูรพาทิศ
    ดร.แคทรีน นิวเวลส์ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ


    หน้าที่การงาน
    พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระวินยาธิการ ประจำเขตบางกอกใหญ่
    พ.ศ. ๒๕๔๐ รักษาการเจ้าคณะ ๕ คณะกัมมัฏฐาน
    พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕ คณะกัมมัฏฐาน
    พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นกรรมการดูแล สร้างหลังคาพระอุโบสถ
    พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร

    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็น พระครูใบฎีกา ถานานุกรม ใน พระราชพิพัฒน์วิริยาภรณ์ วัดราชสิทธาราม
    พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระครูสังฆรักษ์ ถานานุกรม ใน พระเทพศีลวิสุทธิ์ วัดราชสิทธาราม
    พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ผจล.ชอ.วิ.) ในราชทินนาม ที่ “พระครูสิทธิสังวร


    ผลงานกรรมฐาน
    ๑. สร้างพระรูปเหมือน หุ่นขี้ผึ้ง สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
    ๒. ผดุงฟื้นฟู พระกรรมฐานสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
    ๓. จัดทำพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
    ๔.สร้างสวนปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

    ที่มา somdechsuk.com - ประวัติพระครูสิทธิสังวร (หลวงพ่อวีระ)



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=590><TBODY><TR><TD style="LINE-HEIGHT: 24px" vAlign=top align=middle>ขอเชิญเข้าชมพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ณ.วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)
    คณะ ๕ ซอยอิสระภาพ ๒๓ แขวงวัดอรุณ อำเภอบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
    โทร. ๐๒-๔๖๕–๒๕๕๒





    </TD></TR><TR><TD height=30>เวลาเยี่ยมชม 9:00-17:00 ทุกวัน






    </TD></TR><TR><TD>แผนที่พิพิธภัณฑ์ : somdechsuk.com - แผนที่วัดและข้อมูลติดต่อ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    :cool::cool::cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  5. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269


    พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร)
    ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ(สาขาวิชาปรัชญา)

    พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) เกิดเมื่อวันท่ 16 มีนาคม 2492 ณ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอายุ 60 ปี ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ฝ่ายเผยแผ่และเจ้าคณะ 5 วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

    ในฐานะพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาจารย์สอนกรรมฐานได้ทุ่มเทสติปัญญาในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแผ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามแนวสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) มาโดยตลอด นับตั้งแต่เรียบเรียงคู่มือทำวัตรพระกรรมฐาน พระประวัติ สมถะมัชฌิมา วิปัสสนามัชฌิมา ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ฯลฯ และได้สร้างพิพิธภัณฑ์กรรมฐานสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) เพื่อเก็บรักษาสิ่งของอันเป็นวัตถุโบราณอันล้ำค่า เช่นคัมภีร์พระกรรมฐานและยันต์โบราณ (ใบลาน) จัดการศึกษาอบรมเผยแผ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แก่ภิกษุ สามเณร ประชาชนทั่วไป เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกด้านปรัชญาและโบราณคดีให้กับนักศึกษาปริญญาเอกจากประเทศฝรังเศสและประเทศอังกฤษ

    นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งทุนการศึกษาและมอบทุนการศึกษาสงเคราะห์แก่คณะสงฆ์และนักเรียนเป็นประจำ จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในวันสำคัญต่างๆ จัดค่ายฝึกอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนโรงเรียนวัดราชสิทธารามเป็นประจำทุกปี เป็นวิทยากรเทศนาอบรมธรรมะ ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมทั้งบริจาคเงินค่าวิทยากรทั้งหมด แก่มูลนิธิรังสรรค์ แสงสุข

    โดยเหตุที่พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) เป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ (สาขาวิชาปรัชญา) เพื่อเป็นเกียรติสืบไป

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------

    ที่มา : เว็บสมเด็จสุก ไก่เถื่อน
    http://www.somdechsuk.com/webboard/index.php


    (f)(f)(f)<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ยอดยันต์

    ยันต์ปราสาท และ ยันต์พระยาไก่เถื่อน
    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม กรุงเทพฯ


    คำถวายนมัสการ


    ข้าบังคมพระบาทบรมนาถผู้ทรงญาณ
    พระธรรมอันพิศดารทั้งพระสงฆ์อันบวร
    ข้าเชิญพระญาณสังวรเจ้ามาปกเกล้าฯปกเกษี
    ชัยชนะแก่โลกีย์ทั้งภัยพาลอันตราย
    ขอให้พบพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอันพากเพียร
    รู้แจ้งคัมภีร์เรียนสมถะ-วิปัสสนาทุกชาติไป
    ขอเชิญคุณครูบามารักษาให้มีชัย
    ดลจิตบันดาลใจสำเร็จทุกประการ
    สิทธิกิจจังสิทธิกัมมังสิทธิการิยะตะถาคะโต<O:p</O:p
    สิทธิเตโชชโยนิจจังสิทธิลาโภนิรันตะรัง
    สัพพกัมมังประสิทธิเมสัพพสิทธิภะวันตุเม
    <O:p</O:p


    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
    ธันวาคม๒๕๔๖

    (ปัจจุบัน พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระครูสิทธิสังวร)

    --------------------------------------------------------------------------------------------------

    พระคาถาพระยาไก่เถื่อน สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ท่านได้รับประสิทธ์แต่พระเถรวุฒาจารย์ กล่าวว่าเป็นพระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิต ตัวเอง พระคาถาว่าดังนี้<O:p</O:p

    <O:p
    เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว<O:p</O:p
    ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา<O:p</O:p
    สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา<O:p</O:p
    กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ


    พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับไก่ป่า ไก่ป่าเป็นไก่ปราดเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว เหมือนกับ จิต ของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมาก เหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดไป ต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ<O:p</O:p
    <O:p

    พระคาถาไก่เถื่อน ๔ วรรค แต่ละวรรค หากภาวนากลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึงอะไร <O:p</O:p
    แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด <O:p</O:p
    วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ <O:p</O:p
    วรรค ๒ หมายถึงมียศ เสื่อมยศ <O:p</O:p
    วรรค ๓ หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา <O:p</O:p
    วรรค ๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้ที่จะได้บรรลุมรรค ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ<O:p</O:p
    .เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน<O:p</O:p
    . พอสว่าง ก็บินลง หากิน<O:p</O:p
    .จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน<O:p</O:p
    .กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด<O:p</O:p
    . เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ<O:p</O:p
    . เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล<O:p</O:p
    .ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน<O:p</O:p
    . พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น<O:p</O:p
    . ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น<O:p</O:p
    . จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end --> ​

    ---------------------------------------------------------------------​

    ตามตำนาน เมืองเหนือ กล่าวถึงอุปเท่ห์ พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ไว้ว่า ผู้ใดภาวนาได้ ๓ เดือน ทุกๆวันอย่าให้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญา ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวด ๓ จบ จะไปเทศ ไปสวด ไปร้อง หรือเจรจา สิ่งใดๆดีนัก มีตะบะเคชะนัก ถ้าแม้สวดได้ ๗ เดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนไก่ป่า รู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น ถ้าสวดครบ ๑ ปี มีตะบะเดชะยิ่งกว่าคนทั้งหลาย แม้จะเดินทางไกล ให้สวด ๘ จบ เหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลายให้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้น เหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนักคนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา

    พระคาถานี้แต่ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว







    [​IMG]

    <O:p</O:pสืบจากตำนานเดิม สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เกื่อน ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่า “พระยันต์มหาปราสาท ไก่เถื่อน” ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครู สิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ


    [​IMG]


    <O:p</O:pพระคาถา และยันต์ไก่เถื่อน นี้มีผู้คนเคารพเชื่อถือมาก และจะว่านำพระคาถาอื่นๆก่อนเสมอ โด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระคาถานี้ ได้เมื่อ พระกกุสันโธ เป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสอง ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ ประองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตยพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ได้ในสมัยพระพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พญาไก่เถื่อน แม้สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน พระองค์ท่าน ก็เคยเกิดเป็น ไก่เถื่อน บำเพ็ญบารมีมา แต่การสร้างบารมีนั้น ต่างๆกัน และพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนั้น ยังเป็นอาการ ๓๒ ของพระอาจารย์สุกด้วย และเป็นตะปะเดชะ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ในเมตตาบารมีนี้ด้วยพระคาถาบทนี้

    <O:p</O:pถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภ ยศ มิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไป ทางบก หรือเข้าป่า สวดภาวนาคลาดแคล้ว จากภัยอันตรายดีนักแล บั้นปลายก็จะ บรรลุพระนิพพาน ด้วยเมตตาบารมีนี้<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end --> ​

    -------------------------------------------------------------------​

    เกร็ดเรื่องการออกรุกขมูลของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เกี่ยวกับไก่ป่านั้นมีผู้เล่าไว้ว่า เมื่อสมเด็จปู่ฯ สุกท่านถอนกลดเดินทางในป่านั้นเดินไปเรื่อยๆจนใกล้ค่ำจึงปักกลดตกกลางคืนก็เข้าที่ภาวนาพอเช้าฉันบิณฑบาตแล้วตอนสายแก่ๆท่านก็ภาวนาพระคาถาไก่เถื่อนอีกคราวนี้มีไก่ป่ามามากมายหลายสายพันธุ์มารุมล้อมท่านบางตัวก็ขึ้นไปยืนบนเข้าท่านทั้งสองข้างท่านจึงทราบว่าเป็นคาถาที่ทำให้ไก่ป่าเชื่องได้ปละเป็นคาถาที่ใช้สร้างสมในทางเมตตาบารมีต่อมาเมื่อท่านไปปักกลดที่ไหนเพียงนึกถึงไก่ป่าเท่านั้นยังมิได้ภาวนาพระคาถาไก่เถื่อนก็มีไก่ป่ามารุมล้อมตัวท่านแล้วนับได้ว่าท่านได้สำเร็จเมตตาบารมีไปอีกขั้นหนึ่งแล้วไก่ป่านี้เป็นสัตว์ที่เชื่องคนยากมากเมื่อเห็นคนหรือได้กลิ่นมนุษย์ก็จะบินหนีหลบซ่อนทันทีโดยที่คนไม่ทันได้เห็นตัวมันดังจะยกตัวอย่างเกี่ยวกับไก่ป่าในนิราศธารทองแดงในพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษกล่าวถึงไก่ป่าไว้ว่า


    ไก่ป่าเจ้าเสียงเตี้ย
    เห็นคนก่นวิ่งบิน
    ไก่ป่าขันเจี่อยแจ้ว
    ลูกเมียเขี่ยหากิน
    เห็นคนก่นวิ่งบิน
    ซอกซอนซ่อนตัวเร้น
    พาลูกเมียเขี่ยหากิน
    เข็นเร็นรอกซอกซอนหาย
    กลางดิน
    กกเหล้น
    ถาบตื่น
    พุ่มไม้สูญหาย

    ด้วยเหตุที่สมเด็จปู่ฯ สุกพระองค์ท่านอบรมบารมีมาในเมตตาและเมื่อพระองค์ท่านเป็นสมเด็จพระราชาคณะแล้วพระคาถานี้จึงเรียกว่าพระคาถาพระยาไก่เถื่อนตั้งแต่นั้นมาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นคาถาไก่เถื่อนนี้เป็นคาถาที่สร้างสมในทางเมตตาบารมีแต่มีที่มาที่กล่าวไว้ในหนังสือพระประวัติและพระนิพนธ์สมเด็จพระอริยวงศาญาณฯสังฆราชสุกไก่เถื่อนญาณสังวรของนายสุเชาวน์พลอยชุมได้เขียนไว้ดังกล่าวข้างต้นว่า จากที่มาคือ "หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบได้ คือจารึกที่ฐานพระพุทธรูป "พระเจ้าล้านทอง" ที่เมืองพร้าวจังหวัดเชียงใหม่จารึกโดยพระติกขปัญญาเถระปละพระพลปัญญาเถระเมื่อ.. ๒๐๖๙

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขอได้รับคำอนุโมทนา สาธุการเพื่อ<O:p</O:p
    สาระความจาก<O:p</O:p
    หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) ISBN ๙๗๘๘- ๙๗๔๘๘๑๗๗โดยได้รับพระกรุณาอนุญาตนำมาเผยแพร่จากผู้เรียบเรียงพระครูสังฆรักษ์วีระฐานวีโรคณะผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) โทร๐๘๔๖๕๑๗๐๒๓<O:p</O:p
    http://somdechsuk.com/download/bio_somdechsuk_full.pdf

    <O:p</O:p


    -----------------------------------------------------------------------

    ขอบพระคุณที่มา
    http://palungjit.org/threads/%E0%B9%80%E0%B8%A7-%E0%B8%97%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B8-%E0%B8%81%E0%B8%B8-%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%A7-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87.197908/
    <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  7. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ประวัติความเป็นมาของพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม กรุงเทพฯ
    (ผู้เผยแผ่ ยันต์ปราสาท และ ยันต์พระยาไก่เถื่อน)


    <O:p


    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาล พระราหุลมหาเถระ (อสีติมหาสาวกสมัยพุทธกาล) ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่าคัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

    <O:pต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน และสืบต่อมาเรื่อยๆ
    <O:p<O:p
    ในเวลาประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๕๖-๒๗๔ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งคณะพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พร้อมพระสงฆ์ทศวรรค เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา พร้อมกับถ่ายทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ไทย พม่า ลาว เขมร ในปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย สืบกันเรื่อยมา จวบจนถึงปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ที่อยู่วัดใกล้บ้าน เรียกว่าพระสงฆ์คามวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดในป่า เรียกว่าพระสงฆ์อรัญวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสี และวัดอรัญวาสี ต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ และปฏิบัติควบคู่กันไป ไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษาว่าจะศึกษาทางไหนก่อนหลัง แต่ถ้าจะศึกษาทางปฏิบัติต้องไปยังสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติพระกรรมฐาน เจริญภาวนา ในยุคต่างๆ เช่น

    <O:pยุคสุวรรณภูมิ สำนักกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ
    <O:pวัดท้าวอู่ทอง เมืองสุวรรณสังข์ (เมืองอู่ทอง) มีพระโสณเถร พระอุตรเถร เป็นเจ้าสำนัก
    ยุคสุวรรณภูมิ พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคคือ พระโสณเถร พระอุตรเถร
    <O:p<O:p
    ยุคกรุงศรีทวาราวดี สำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่คือ
    <O:pวัดแสนท้าวโคตร กรุงศรีทวาราวดี มีพระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก
    เป็นศูนย์กลางของพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรศรีทวาราวดี สำนักเล็ก คือ
    วัดพญาราม ศรีทวาราวดี วัดสุวรรณาราม กรุงศรีทวาราวดี ฯ
    <O:pยุคศรีทวาราวดี พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร)

    <O:pยุคกรุงสุโขทัย สำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่คือ วัดป่าแก้ว
    <O:pมีพระวันรัตมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรสุโขทัย
    <O:pสำนักพระกรรมฐานเล็กในยุคสุโขทัย เช่น วัดป่ารัตนา พระครูญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก
    <O:pวัดสุทธาวาส พระครูญาณสิทธิ เป็นเจ้าสำนักฯ
    <O:pยุคสุโขทัย พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุคคือ พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (สิงห์)<O:p

    ยุคกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแก้ว หรือเรียกกันอีกอย่างว่า วัดเจ้าพญาไท เป็นสำนักพระกรรมฐานหลัก
    <O:pสำนักพระกรรมฐานใหญ่ พระพนรัตน พระสังฆราช ฝ่ายซ้าย เป็นพระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ใหญ่ เป็นเจ้าสำนัก <O:p
    เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรอยุธยา
    มีสำนักพระกรรมฐานเล็กๆสิบกว่าวัด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น <O:p
    วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถร เป็นเจ้าสำนัก ๑วัดโบสถ์ราชเดชะ พระพุทธาจารย์ เป็นเจ้าสำนัก ๑ <O:p
    วัดโรงธรรมพระญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก๑ วัดกุฎ พระอุบาลี เป็นเจ้าสำนัก๑ <O:p
    วัดเจ้ามอน พระญาณโพธิ เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดประดู่ พระธรรมโกษา เป็นเจ้าสำนัก๑
    <O:pวัดกุฎีดาว พระเทพมุนี เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดสมณะโกฎ พระเทพโมฬี เป็นเจ้าสำนัก ๑
    <O:pวัดมเหยงค์ พระธรรมกิติ เป็นเจ้าสำนัก๑ ฯ
    นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกรรมฐาน<O:p
    มาก เปรียบเทียบได้ว่ามี มหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนามาก
    <O:pยุคอยุธยา พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคคือ พระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า พระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี


    <O:p<O:pยุคกรุงรัตนโกสินทร์มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ ๑วัด
    <O:pคือ วัดราชสิทธาราม(พลับ) สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) เป็นเจ้าสำนัก เป็นพระอาจารย์ใหญ่
    ประจำกรุงรัตนโกสินทร์
    วัดราชสิทธาราม จึงเป็นศูนย์กลางของกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ <O:p
    มีสำนักเล็กคือ วัดราชาธิวาสพระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) เป็นเจ้าสำนัก
    <O:pยุครัตนโกสินทร์ พระอาจารย์<st1:personName ProductID="กรรมฐานประจำยุคคือ สมเด็จพระสังฆราช" w:st="on">กรรมฐานประจำยุคคือ สมเด็จพระสังฆราช</st1:personName> ไก่เถื่อน (สุก) <O:p
    <O:p
    ซึ่งแต่ละยุคมีการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา เป็นแบบเดียวกัน เป็นทางเดียวกัน จนกระทั้งถึงบัดนี้
    <O:pโดยมีพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบทอดมาโดยไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะมาถึง ๑๒ รุ่น บางยุคก็เจริญ บางยุคก็เสื่อมลงบ้าง เป็นไปตามหลักของพระไตรลักษณ์
    <O:pพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้นำสืบทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา สู่กรุงรัตนโกสินทร์ โดยการนำมาประดิษฐานของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม(พลับ)
    <O:p
    ซึ่งต่อมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ ในปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ทรงมีพระราชดำริว่า พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของเก่าดั่งเดิม กำลังจะแตกกระจาย ไปเป็นสายต่างๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการ และการศึกษาพระ<O:pกรรมฐานภาคปฏิบัติจะไม่เป็นระเบียบแบบแผน เป็นลำดับเหมือนแต่ก่อน ว่าพระกรรมฐานไหน ควรเรียนก่อน กรรมฐานไหน ควรเรียนหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเลิศหล้านภาลัย <O:pรัชกาลที่ ๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการชุมนุมพระอริยสงฆ์สมถะ-วิปัสสนา ทั้งนอกกรุง<O:pในกรุง ทำการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มิให้แตกกระจาย สูญหาย ทำให้เป็นปึกแผ่นเหมือนดังแต่ก่อน สังคายนาโดยพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับโดยมีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุกไก่เถื่อน) เป็นองค์ประธานสังคายนาฝ่ายสงฆ์ เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระสงฆ์ ปะขาว ชี<O:pไปเป็นพระอาจารย์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามพระอารามต่างๆ พระกรรมฐานมัชฌิมา จึงได้สืบทอดมาจนทุกวันนี้
    <O:p
    แต่ในปัจจุบันนี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐาน แตกต่างไปจากการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามแต่ก่อนมา

    <O:pสำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้น เมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณภาพลงแล้ว พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ก็เสื่อมลงเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้ว มีแบบแผนใหม่เข้ามาแทนที่ เนื่องจากอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า (ฝั่งกรุงเทพฯ) ต่อมาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม(พลับ) เพียงวัดเดียว ที่รักษาแบบแผน และ<O:pความเป็นสำนักพระกรรมฐานใหญ่ สำนักพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับเป็นหลัก ไว้ได้ยาวนานที่สุด

    <O:pโบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า<O:p
    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น

    <O:p<O:pดังนั้นจึงขอเชิญเหล่าท่านพระสงฆ์ สามเณร นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ชาวพุทธ ผู้เคารพบูชาใน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ได้เมตตาช่วยกันทำนุบำรุงอนุรักษ์พุทธวิธี เจริญพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นแบบแผนเดิมแท้ ไว้เป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา สืบไปตราบเท่านานเถิด



    <O:p
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  8. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม กรุงเทพฯ
    (ผู้เผยแผ่ ยันต์ปราสาท และ ยันต์พระยาไก่เถื่อน)



    <O:p<O:pสมถะกรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ
    <O:p<O:p
    รูปกรรมฐาน ตอน ๑<O:p
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    <O:p๒.ห้องพระยุคลหก
    <O:p๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    <O:pพระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

    <O:pรูปกรรมฐาน ตอน ๒
    <O:p๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
    <O:p๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
    <O:p๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
    <O:p๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
    <O:p๘.ห้องปัญจมฌาน<O:p
    ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องในกายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    <O:pพระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ <O:p
    เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์<O:pมากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

    <O:p<O:pอรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
    <O:p๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน<O:p
    ๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    <O:p๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
    <O:p๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
    <O:p๑๓.ห้อง อรูปฌาน
    <O:pตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม <O:pจิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้นวิปัสสนาฌาน <O:pให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา <O:p(จบสมถะ)

    ----------------------------------------------------------------------------------------------
    <O:p

    วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ
    <O:p
    ๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน<O:p
    ๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓<O:p
    ๓.พระอนุวิปัสสนา ๓<O:p
    ๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ<O:p
    ๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓<O:p
    ๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐<O:p
    ๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา<O:p
    ๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ<O:p
    ๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน<O:p

    <O:p



    (จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)



    <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    เหตุที่เรียกพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน
    เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง
    พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า

    ที่มา http://somdechsuk.com/index.php?opti...ask=view&id=70<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พระเกียรติคุณ เลิศล้ำยอดวิชา

    พระเกียรติคุณ ของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

    [​IMG]

    เชิญคลิก อ่านได้ที่ :

    http://palungjit.org/threads/สมเด็จ...็นพระอาจารย์-พระเจ้าแผ่นดิน-๔-พระองค์.202749/


    (f)(f)(f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  11. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ยอดพระเถระในยุคปัจจุบัน

    พระญาณรังษี (จวบ สุภัทโท) หลวงพ่อตาทิพย์
    แห่งสายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

    [​IMG]


    เชิญคลิก อ่านได้ที่ :
    http://palungjit.org/threads/พระญาณ...ิพย์แห่งสายพระกรรมฐานมัชฌิมา-แบบลำดับ.240975/

    (f)(f)(f)
     
  12. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พระเกียรติคุณ เลิศล้ำยอดวิชา (ต่อ)

    พระเกียรติคุณ ของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

    [​IMG]

    เชิญคลิก อ่านได้ที่ :

    http://palungjit.org/threads/พระสังฆราชญาณสังวร-สุก-ไก่เถื่อน-ทรงเป็นเลิศทางจิตศาสตร์-และไสยศาสตร์-เกือบทุกแขนง.237425/


    (f)(f)(f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  13. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พระเกียรติคุณ เลิศล้ำยอดวิชา (ต่อ)

    พระเกียรติคุณ ของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

    [​IMG]

    เชิญคลิก อ่านได้ที่ :
    http://palungjit.org/threads/สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร-สุก-ไก่เถื่อน-ทรงเป็นเลิศในการเขียนและลบผงอิทธิเจ.237894/

    (f)(f)(f)<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  14. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    พระเกียรติคุณ เลิศล้ำยอดวิชา (ต่อ)

    พระเกียรติคุณ ของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

    [​IMG]

    เชิญคลิก อ่านได้ที่ :
    http://palungjit.org/threads/พระสังฆราชญาณสังวร-สุก-ไก่เถื่อน-ทรงเป็นเลิศวิชาสูรยกลา-จันทกลา.238666/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2010
  15. ตั้มศรีวิชัย

    ตั้มศรีวิชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    597
    ค่าพลัง:
    +1,847
    (y) ปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วเป็นแบบนี้จริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...