เรื่องเด่น การพิจารณาไตรลักษณ์.. ๔ แบบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 19 เมษายน 2013.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การพิจารณาไตรลักษณ์นี้ มีวิธีพิจารณาอยู่ ๔ แบบ
    ชื่อ กลาปสัมมสนนัย อัทธาสัมมสนนัย สันตติสัมมสนนัย และ ขณะสัมมสนนัย

    ๑. พิจารณารูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย กลาปสัมมสนนัย นั้นเป็นการพิจารณาทั้งกลุ่มทั้งก้อน จับเอาโดยส่วนรวม เช่นถ้าพิจารณาเป็นขันธ์ ก็กำหนดให้รู้ในขันธ์ ๕ ไปจนไตรลักษณ์ปรากฏ
    ถ้าพิจารณา อายตนะ ก็กำหนดรู้ใน อายตนะ ๑๒
    ถ้าพิจารณา ธาตุ ก็กำหนดรู้ใน ธาตุ ๑๘
    ถ้าพิจารณา ทวาร ก็กำหนดรู้ใน ทวารทั้ง ๖
    หรือ พิจารณาอารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ หรือ ๓๒ โกฏฐาส หรือ โลกียอินทรีย ๑๙ หรือ ธาตุทั้ง ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ หรือภพทั้ง ๙ อย่างใดอย่างหนึ่งจนไตรลักษณ์ปรากฏ
    ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะที่พิจารณาอยู่ในกลาปสัมมสนนัย นี่แหละ ชื่อว่า สัมมสนญาณ
    การพิจารณาแบบนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด

    ๒. พิจารณารูปนาม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย อัทธาสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรู้รูปนามที่เกิดขึ้นในภพก่อนว่า รูปนามที่เคยเกิดในภพก่อนนั้น เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้ว ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รูปนามที่กำลังเกิดอยู่ในภพนี้ ก็ไม่ไปเกิดในภพหน้า ย่อมดับไปในภพนี้เท่านั้น ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    รูปนามที่จะเกิดในภพหน้า ก็ย่อมดับอยู่ในภพหน้านั้น ไม่ได้ติดตามไปในภพต่อ ๆ ไปอีก ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกันทั้งสิ้น
    ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน อัทธาสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้ เป็นวิธีที่ละเอียดกว่าแบบ กลาปสัมมสนนัย

    ๓. พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย สันตติสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรูปนามที่เกิดติดต่อกันเป็นระยะ ๆ เช่น
    ฝ่ายรูป
    รูปที่เกิดอยู่ในขณะนอน เมื่อลุกขึ้นนั่ง รูปเหล่านั้นก็หาได้ติดตามมาด้วยไม่ ย่อมดับไปในขณะที่นอนนั้นเอง
    รูปที่เกิดอยู่ในขณะนั่ง เมื่อยืนขึ้นแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะนั่งนั้นเอง
    รูปที่เกิดอยู่ในขณะยืน เมื่อเดินแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะยืนนั่นเอง ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น
    ฝ่ายเวทนา ในขณะที่กำลังสบายอยู่ แล้วความไม่สบายเกิดขึ้น ความรู้สึกสบายนั้นก็ดับไป ไม่ได้ตามมา เมื่อมีความรู้สึกว่าไม่สบายอยู่ ครั้นเปลี่ยนเป็นสบายขึ้นมาอีก ความรู้สึกไม่สบายก็ดับไปในขณะนั้นเอง ไม่ได้ตามมาล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ เป็นต้น
    ฝ่ายสัญญา ความจำในขณะที่เห็นรูปารมณ์อยู่ ครั้นได้ยินเกิดขึ้น ก็มาจำในเสียงนั้น ความจำในรูปารมณ์ก็ดับไป และเมื่อมีการได้กลิ่นเกิดขึ้น ความจำในสัททารมณ์ก็ดับไป มาจำกลิ่นนั้นเสีย ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ฝ่ายสังขาร ในขณะที่พอใจชอบใจอยู่ เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น ความชอบใจพอใจนั้นก็ดับไป หรือกำลังมีความไม่ชอบใจอยู่ กลับมีความเมตตากรุณาขึ้น ความไม่ชอบใจนั้นก็ดับไป ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ฝ่ายวิญญาณ ในขณะที่รู้รูปารมณ์อยู่ มีความรู้ในสัททารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในรูปารมณ์นั้นก็ดับไป และขณะที่รู้สัททารมณ์อยู่นั้น หากว่ามีความรู้ในคันธารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในสัททารมณ์นั้นก็ดับไป ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน สันตติสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดกว่า อัทธาสัมมสนนัยขึ้นไปอีก

    ๔. พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย ขณะสัมมสนนัย เป็นการพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปของรูปหนึ่งต่ออีกรูปหนึ่ง การเกิดขึ้นและดับไปของจิตดวงหนึ่งต่อจิตอีกดวงหนึ่ง อย่างไม่ขาดสาย ซึ่งล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น
    ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน ขณะสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ เช่นเดียวกัน การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดที่สุดแล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียวเท่านั้น จึงสามารถพิจารณาได้
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ....การเห็นไตรลักษณ์นั้น ย่อมประจักษ์ในขณะที่ รูปนามดับ เพราะว่าดับไป จึงเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงอยู่ก็ไม่ดับ เพราะว่าดับไปจึงเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ไม่ดับ และเพราะว่าดับไปจึงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาให้คงอยู่ก็ไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาได้ ก็ไม่ให้ดับไปได้ แต่ว่า สัมมสนญาณนี้ เห็นความเกิดของรูปนามที่ เกิดใหม่ ขึ้นมาแทนแล้ว จึงได้รู้ว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว เป็นการรู้ได้โดยอนุโลมด้วยอาศัยจินตามยปัญญาเข้ามาช่วย ไม่ได้ประจักษ์ในขณะที่ดับ ดังนั้นจึงกล่าวว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณ ที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์
    สัมมสนญาณนี้ สามารถละ สมูหัคคาหะ การยึดเรายึดเขาเสียได้

    ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่ ๑ ปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่ ๒, จนถึงสัมมสนญาณ ญาณที่ ๓, นี้ ล้วนแต่ยังเป็นญาณที่ ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้าช่วยอยู่ทั้ง ๓ ญาณ และนับแต่ อุทยัพพยญาณ เป็นต่อไป ไม่ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้ามาช่วยอีกเลย

    เมื่อพระโยคี กำหนดพิจารณาจนถึง สัมมสนญาณ ที่สงเคราะห์ใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๕ แล้ว และตั้งมั่นในการพิจารณาเห็นรูปนามที่เกิดใหม่ ซึ่งทำให้เกิดปัญญา รู้เห็นว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว ที่เรียกว่า สันตติยังไม่ขาด นั้นต่อไปโดยไม่ท้อถอยด้วยอำนาจแห่งอินทรียและพละก็จะเป็นปัจจัยให้เห็นชัดขึ้น จนเห็นใน ขณะที่ดับ โดยรูปนามใหม่ยังไม่ทันเกิดขึ้นมาแทน และเห็นใน ขณะที่เกิด ของรูปนามใหม่นั้นด้วย อันเป็นการเห็นทั้งความดับของรูปนามเก่า และเห็นความเกิดของรูปนามใหม่ จึงเรียกว่า เห็นทั้งความเกิดและความดับ เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นอย่าง สันตติขาด ได้ชื่อว่าเป็น อุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ประจักษ์แจ้งไตรลักษณ์โดยชัดเจน

    อุทยัพพยญาณ ญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นทั้งการเกิดการดับนั้น ยังจำแนกได้เป็น ๒ มีชื่อว่า
    ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณ ที่ยังอ่อนอยู่ และ พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่แก่กล้า มีสติระลึกรู้เฉพาะรูปธรรมนามธรรม ไม่เลยถึงบัญญัติ รู้แต่ปรมัตถล้วน ๆ อุทยัพพยญาณที่ยังอ่อนอยู่ นี่แหละที่ถึงคราวที่บังเกิด วิปัสสนูปกิเลส
    ..

    ความรู้ความเห็นโดยปัญญาอันกว้างขวาง ดำเนินขึ้นสู่วิถีโดยชอบเป็นทางเพื่อบรรลุธรรม ชื่อว่าการวินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทาง (คือมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ)

    มีความหมายว่า เมื่อพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเกิดญาณแก่กล้า เป็นพลววิปัสสนาในอุทยัพพยญาณแล้ว พ้นจากอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส ไม่ติดไม่ข้องอยู่เลย เพราะมาวินิจฉัยดูว่ามิใช่ทางเลย เป็นสังขารธรรมที่เกิดขึ้น แทรกแซงให้วิปัสสนาเศร้าหมองเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาดังนี้ เป็นอันว่าถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นความบริสุทธิในข้อที่รู้ว่าทางหรือมิใช่ทาง อุปมาเหมือนผู้เดินทางมาถึงทาง ๒ แพร่ง วินิจฉัยแล้วรู้ว่า ทางนี้เป็นทางที่ถูก ปลอดภัย ควรเดิน ทางนั้นเป็นทางที่ผิด มีอันตราย ไม่ควรเดิน จึงมุ่งหน้าไปตามทางที่ถูกต้อง คือ พิจารณาไตรลักษณ์แห่งรูปนาม โดยการกำหนดเพ่งความเกิดดับด้วยความพาก เพียรต่อไป

    ปริจเฉทที่ ๙ - thepathofpurity
     
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

    ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวง เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-

    1.อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
    2.ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
    3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้.
    ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร

    คำว่า ไตรลักษณ์ นี้มาจากภาษาบาลีว่า "ติลกฺขณ" มีการวิเคราะห์ศัพท์ดังต่อไปนี้ :-

    ติ แปลว่า สาม, 3.
    ลกฺขณ แปลว่า เครื่องทำสัญลักษณ์, เครื่องกำหนด, เครื่องบันทึก, เครื่องทำจุดสังเกต, ตราประทับ เปรียบได้กับภาษาอังกฤษในคำว่า Marker.
    ติลกฺขณ จึงแปลว่า "เครื่องกำหนด 3 อย่าง" ในแง่ของความหมายแล้ว ตามคัมภีร์จะพบได้ว่า มีธรรมะที่อาจหมายถึงติลกฺขณอย่างน้อย 2 อย่าง คือ สามัญญลักษณะ 3 และ สังขตลักษณะ 3 . ในคัมภีร์ชั้นฎีกา พบว่ามีการอธิบายเพื่อแยก ลักษณะทั้ง 3 แบบนี้ออกจากกันอยู่ด้วย

    [1]. ส่วนในที่นี้ก็คงหมายถึงสามัญญลักษณะตามศัพท์ว่า ติลกฺขณ นั่นเอง.
    อนึ่ง นักอภิธรรมชาวไทยนิยมเรียกคำว่า สังขตลักษณะ โดยใช้คำว่า "อนุขณะ 3" คำนี้มีที่มาไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังไม่พบในอรรถกถาและฎีกาของพระพุทธโฆสาจารย์และพระธรรมปาลาจารย์, และที่พบใช้ก็เป็นความหมายอื่น[2] อาจเป็นศัพท์ใหม่ที่นำมาใช้เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาก็เป็นได้. อย่างไรก็ตาม โดยความหมายแล้วคำว่าอนุขณะนั้นก็ไม่ได้ขัดแย้งกับคัมภีร์รุ่นเก่าแต่อย่างใด.

    http://th.wikipedia.org/wiki/ไตรลักษณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2013
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สามัญญลักษณะ 3
    หมายถึง เครื่องกำหนดที่มีอยู่ทั่วไปในสังขารทั้งหมด ได้แก่ อนิจจลักษณะ - เครื่องกำหนดความไม่เที่ยงแท้, ทุกขลักษณะ - เครื่องกำหนดความบีบคั้น, อนัตตลักษณะ - เครื่องกำหนดความไม่มีตัวตน.

    สามัญญลักษณะ ยังมีชื่อเรียกอีกว่า ธรรมนิยาม คือกฎแห่งธรรม หรือ ข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร และบางอย่าง คือ อนัตตลักษณะยังเป็นข้อกำหนดของวิสังขาร (พระนิพพาน) เป็นต้นอีกด้วย.

    อนึ่ง ควรทราบว่า อนิจฺจํ กับ อนิจฺจตา เป็นต้น เป็นศัพท์ที่ใช้คนละความหมายกัน ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในตอนท้ายของบทความนี้ด้วย.

    อนิจจะ กับ อนิจจลักษณะ ไม่เหมือนกันตามคัมภีร์ฝ่ายศาสนาท่านให้ความหมายของขันธ์ กับ ไตรลักษณ์ไว้คู่กัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน[3][4][5][6][7] ดังนี้ :-
    อนิจจัง (อนิจฺจํ) - หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง, คำว่า"อนิจจัง"เป็นคำไวพจน์ชื่อหนึ่งของขันธ์ 5.
    อนิจจลักษณะ (อนิจฺจตา,อนิจฺจลกฺขณํ) - หมายถึง เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง.
    อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 เคยเกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 เคยมีขึ้นแล้วก็ไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.

    ทุกข์ กับ ทุกขลักษณะ ไม่เหมือนกันทุกขัง (ทุกฺขํ) - หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง, คำว่า"ทุกขัง"เป็นคำไวพจน์ชื่อหนึ่งของขันธ์ 5.
    ทุกขลักษณะ (ทุกฺขตา,ทุกฺขลกฺขณํ) - หมายถึง เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวทุกขัง.
    ทุกขลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์ บีบคั้น น่ากลัวมาก ซึ่งได้แก่ อาการความบีบคั้นบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปอยู่เป็นเนืองนิจของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บีบบังคับตนจากที่เคยเกิดขึ้น ก็ต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 จากที่เคยมีขึ้น ก็ต้องกลับไปเป็นไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.

    อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ ไม่เหมือนกันอนัตตา กับ อนัตตลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน
    อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่มีตัวตน ไร้อำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด ได้แก่ อาการที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ให้เสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่ไม่ได้, อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้มีขึ้นไม่ได้ ไม่ให้กลับไปไม่มีอีกครั้งไม่ได้ (บังคับให้ไม่หมดไปไม่ได้) เป็นต้น.

    http://th.wikipedia.org/wiki/ไตรลักษณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2013
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไตรลักษณ์เป็นธรรมประดุจเชือกเกลียวสามเชือก
    เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งย่อมเข้าใจอีกสองสิ่งตามมา..


    อนันตลักขณสูตร

    ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

    [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
    ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

    ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

    [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
    อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
    ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
    ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
    พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
    หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
    เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
    ไม่ใช่ตนของเรา.

    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
    พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
    พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
    ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
    ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
    พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    อนัตตลักขณสูตร จบ

    ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
    ปฐมภาณวาร จบ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=479&Z=575
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,242
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ?temp_hash=82dfb5ed06bc3178f402150e492ce19c.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...