เรื่องเด่น ทุก 3 ปีอากาศปรวนสุดขั้ว อีอีซีเผชิญภัยแล้งน้ำท่วม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 19 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8ade0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a8e0b89be0b8a3e0b8a7e0b899e0b8aae0b8b8e0b894e0b882e0b8b1e0b989e0b8a7.jpg

    ทุกปีต้องเจอเหตุการณ์นี้หลากหลายมิติต่างกัน ทั้งน้ำท่วมรุนแรง หรือภัยแล้งทวีคูณ กระทบต่อภาคสังคม เกษตร รวมถึงภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ “อีอีซี” ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วนี้…

    ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง อาจกลายเป็นความเสียหายสูงกว่าที่คาดคิดก็ได้…เช่นที่เคยมีบทเรียน “น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม” มาแล้ว เมื่อครั้งปี 2554 สร้างความเสียหายมหาศาล

    นักลงทุนต่างชาติ…ขาดความเชื่อมั่น…ย้ายฐานผลิต “หนีภัยพิบัติในไทย” ออกไปตั้งฐานผลิตแห่งใหม่ในประเทศเพื่อนบ้านมากมาย…

    การเผชิญสภาพอากาศแปรปรวนของประเทศไทยนั้น รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันทั่วโลกเผชิญอากาศแปรปรวนอย่างหนักหน่วงหลายประเทศ ซึ่งเป็นสภาวะ Climate Extremes ที่เรียกว่า “สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว” มีบางประเทศต้องเจอพายุฝนตกหนัก และบางประเทศประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง…ที่ยากจะสามารถคาดการณ์ได้เหมือนอดีต


    แม้แต่ “ป่าแอมะซอน” ในประเทศบราซิล ถือว่าเป็นป่าเขตร้อนชื้นใหญ่ที่สุด ถือว่าเป็น “ปอดของโลก” ในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ป้องกันภาวะโลกร้อน ที่แทบไม่เคยเกิดเหตุไฟไหม้ป่า เพราะสภาพป่ามีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น ในการช่วยยับยั้งไม่ให้ไฟป่าลุกลาม หรือดับลงรวดเร็ว

    ในปีนี้กลับเกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุด เพราะสภาพอากาศโลกแปรปรวนมาก หน้าแล้งกินเวลายาวนาน ประกอบกับการบุกรุกป่า ทำให้ไฟไหม้ป่าในครั้งนี้รุนแรงที่สุด

    ความแปรปรวนอากาศสุดขั้วนี้…ไม่ใช่มีผลเฉพาะต่างประเทศเท่านั้น แต่ในประเทศไทยกำลังเผชิญภัยธรรมชาตินี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม…และภัยแล้ง…พร้อมกันในฤดูเดียว…

    หากมองอีกมุมหนึ่ง…อากาศแปรปรวนนั้น มีโอกาสส่งผลต่อภาคธุรกิจอย่างมหาศาลเช่นกัน…โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี ในพื้นที่ภาคตะวันออก อาจสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ผลิต โรงงาน แหล่งวัตถุดิบ ทำให้ฐานการผลิตในพื้นที่รับความเสียหายได้

    สิ่งที่ต้องเข้าใจ…คือ ประเทศไทยมีลักษณะความเปราะบาง มีแนวโน้มรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะภาคตะวันออก หากย้อนอดีตในทุก 15 ปี มักเกิดเหตุภัยแล้งรุนแรง และมาถึงปี 2548 ก็ได้เกิดภัยแล้งทุก 10 ปี

    กระทั่งในปี 2558 สภาพอากาศแปรปรวนเลวร้ายขึ้น เริ่มเกิดภัยแล้งถี่มาก…จนมีการวิเคราะห์ศึกษา พบว่าในอนาคตทุก 2–3 ปี อาจเกิดเหตุการณ์ภัยแล้งรุนแรง และเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทุก 10 ปี

    จากปัญหานี้…เลยต้องสำรวจในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมรับกับสถานการณ์ เพราะมีอ่างเก็บน้ำอยู่ 23 แห่ง อาทิ ใน จ.ชลบุรี อ่างเก็บน้ำบางพระ หนองค้อ มาบประชัน ใน จ.ระยอง อ่างเก็บน้ำประแสร์ คลองใหญ่ หนองปลาไหล ดอกกราย ใน จ.จันทบุรี อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด

    ใน จ.ฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำบางปะกง คลองพระองค์ไชยานุชิต เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภค มีการแบ่งใช้น้ำออกเป็น…ภาคการเกษตรร้อยละ 36.18 ประปาหมู่บ้านร้อยละ 6.43 ใช้ในระบบนิเวศร้อยละ 7.03 ใช้ในอุตสาหกรรมร้อยละ 2.64 ใช้ในประปาส่วนภูมิภาคร้อยละ 29.66

    ในจำนวนนี้มีการใช้น้ำ 400 ล้าน ลบ.ม. ที่มีอยู่ในความจุอ่างเก็บน้ำทั้งหมด

    “เมื่อเกิดโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี ต้องใช้น้ำสูงกว่าปกติ 1 เท่าตัว หรือ 800 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ภาครัฐต้องรับบทหนัก ทั้ง บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรม อีอีซี และแก้ภัยแล้ง หรือน้ำท่วม มีแนวโน้มเกิดถี่มากขึ้น…” รศ.ดร.เสรี ว่า

    สิ่งสำคัญ…บ้านเรามีการจัดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เสียเปรียบต่างประเทศ เช่น รัฐบาลมาเลเซีย จะเป็นผู้ดำเนินการจัดวางผังในนิคมอุตสาหกรรมเองทั้งหมด มีการแยกหมวดหมู่ลักษณะประเภทของอุตสาหกรรมให้อยู่ใกล้เคียงกัน ในพื้นที่ที่เหมาะสม ทำให้โครงสร้างการดำเนินงานอุตสาหกรรม มีต้นทุนที่ถูกลง

    ส่วนโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี ซึ่งเกิดจากนิคมอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารจัดการของภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ที่มีรัฐบาล ประกาศให้การสนับสนุน ทำให้นิคมอุตสาหกรรมนี้แสวงหาพื้นที่ที่มีราคาถูก และเกิดการกระจัดกระจายตัวเป็นวงกว้าง
    กลายเป็นปัญหาให้รัฐบาลต้องรับภาระจัดหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรองรับ เช่น สร้างถนน สถานีรถไฟ สนามบิน การไฟฟ้า การประปา การเดินรถประจำทาง อีกทั้งมีการสร้างแหล่งน้ำ ทำให้เกิดต้นทุนสูง

    ทว่า…เรื่องขาดแคลนน้ำนี้จะหวังพึ่งกับการผันน้ำจากเขื่อนสตึงนัม ประเทศกัมพูชา มายังอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตามที่มีแผนพัฒนาแหล่งน้ำสนับสนุน อีอีซี อย่างเดียวไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องไม่แน่นอน จากความอ่อนไหวทางการเมือง และความมั่นคงระหว่างประเทศ

    หนำซ้ำ…อีก 5 ปีข้างหน้า ในพื้นที่ยังมีการปลูกทุเรียนมากสุดเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทำให้เกษตรกรมีความต้องการน้ำสูง เมื่อมีการเปิดพื้นที่อีอีซี ภาคอุตสาหกรรม ย่อมต้องการน้ำสูงเช่นกัน ทำให้เกิดการแย่งชิงน้ำกันขึ้นได้

    ส่วนปัญหาเรื่อง “น้ำท่วม”…ที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนสุดขั้ว มักมาทั้งน้ำท่วมใหญ่ และฝนทิ้งช่วงนาน ควบคู่กัน เช่น ปีนี้บางพื้นที่เผชิญกับภัยแล้ง…แต่ในหลายพื้นที่ก็กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม และในอนาคต มีโอกาสต้องเจอกับสภาพอากาศแปรปรวนแบบนี้ หรืออาจเลวร้ายกว่านี้ด้วยซ้ำ

    ตามที่คำนวณวิเคราะห์ข้อมูลในระหว่าง 10-15 ปีข้างหน้า มีพื้นที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมรุนแรง คือ อำเภอเมืองชลบุรี พัทยา บางละมุง ศรีราชา พานทอง พนัสนิคม สาเหตุจากอากาศแปรปรวน มีฝนตกมากกว่าปกติ ในพื้นที่นี้ไม่ควรขยายพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมความหนาแน่น เพราะมีความเสี่ยงเกิดความเสียหาย

    “ประเทศไทย” ไม่สามารถหลีกหนีพ้นจาก “สภาพแปรปรวน” รัฐบาลต้องมีการประเมินความเสี่ยง ไม่ให้ต้องสูญเสียงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ดำเนินกิจการเวลานาน เกิดผลกระทบต่อภาคสังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาล

    สิ่งสำคัญ…ต้องมีคำตอบกับนักลงทุนต่างชาติ…ในการป้องกันความเสี่ยงของภัยธรรมชาติล่วงหน้านี้ ทั้ง “ภัยแล้ง” และ “น้ำท่วม” …เพื่อป้องกันเมื่อเกิดแล้ว…ให้ความเสียหายน้อยที่สุด

    หัวใจหลัก คือ การประเมินเชิงหลักยุทธศาสตร์ ค้นหาพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เพื่อหาวิธีป้องกัน ส่วนปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ ต้องจัดสรรจำนวนนักธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนให้เหมาะสม เพียงพอต่อน้ำที่มีอยู่…และมีการพัฒนาแหล่งน้ำในอนาคต ด้วยการผันน้ำจากแหล่งใกล้เคียงมาร่วมบริหารจัดการ…

    งานนี้ “รัฐบาล” ต้องเหนื่อย…เพื่อสร้างความเชื่อมั่นหาแรงจูงใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ เข้ามาตั้งฐานผลิตในครั้งนี้ สิ่งที่ต้องมี คือ “แผนในเชิงยุทธศาสตร์และมีความจำเป็น” ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์นี้.


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/local/1663351
     

แชร์หน้านี้

Loading...