ป้องกันกายด้วยปืน ป้องกันใจด้วยพระ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 19 ตุลาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>สรณะคนดัง - พล.ต.อำพน ชูประทุม "ป้องกันกายด้วยปืน ป้องกันใจด้วยพระ"
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ในปลายสงครามโลกครั้งที่ ๑ เครื่องบินเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการรบบ้างแล้ว และมีบทบาทอย่างสำคัญมากขึ้น ต่อการรบภาคพื้นเป็นลำดับมา เมื่อวิวัฒนาการทางเทคนิค และขีดความสามารถของเครื่องบิน และอาวุธได้เพิ่มทวีขึ้นจนถึงปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า เครื่องบินสามารถที่จะทำการโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนของฝ่ายตรงข้าม สามารถทำลายล้างกำลังรบ กำลังขวัญกองทหาร และประชากรได้อย่างกว้างขวาง บทบาทของกำลังทางอากาศ สามารถบีบบังคับวิถีการรบได้อย่างมาก อันอาจชี้ถึงความได้เปรียบ เสียเปรียบ คือ ชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ ในการสงครามครั้งนั้นๆ ได้

    พ.ศ.๒๔๗๖ รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของภัยทางอากาศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่มิใช่แต่เฉพาะทางการทหารเท่านั้น แต่จะเกิดความพินาศแก่บ้านเมือง และสถานที่สำคัญของทางราชการด้วย

    จึงสั่งซื้อ ปตอ.ขนาด ๔๐ มม. ระบายความร้อนด้วยน้ำ ติดตั้งบนรถสายพาน จากบริษัท บราโรบราวน์ ประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท วิกเกอร์อามสตรอง ประเทศอังกฤษ จำนวน ๒๖ คัน เราเรียก ปตอ.แบบนี้ว่า ปตอ.แบบ ๗๖
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    อาวุธนี้เข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๗๖ ในขณะนั้นยังมิได้มีการจัดตั้งหน่วย ปตอ.ขึ้น จึงฝากอาวุธนี้ไว้กับ ป.พัน.๑ รอ. (ป.๖๓) จำนวน ๑๒ คัน และ ป.พัน. ๒ รอ. (ป.๖๓) จำนวน ๑๒ คัน อีก ๒ คัน เก็บไว้ที่กรมช่างแสงทหารบก เพื่อการศึกษา

    ต่อมาเมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๖ ได้เกิดกรณีกบฏขึ้นภายในราชอาณาจักร โดยบุคคลคณะหนึ่งมี พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้ากบฏ รัฐบาลจึงสั่งใช้อาวุธนี้เข้าปราบปราม และสามารถปฏิบัติการได้เป็นผลสำเร็จ โดยสูญเสีย ปตอ.แบบ ๗๖ ไปจำนวน ๑ คัน
    ต่อมามีคำสั่งพิเศษ ของกระทรวงกลาโหม เรื่อง กรมป้องกันต่อสู้อากาศยาน ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๗๗ จัดตั้ง กรมป้องกันต่อสู้อากาศยาน
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ดังนั้นพอถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ของทุกๆ ปี จึงถือว่าเป็นวันสถาปนา กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

    ปัจจุบัน กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน มี พล.ต.อำพน ชูประทุม เป็นผู้บัญชาการ

    พล.ต.อำพน บอกว่า แม้ทหารจะมีปืนไว้ป้องกันตัว แต่ที่สำคัญไม่น้อยยิ่งกว่า คือ พระเครื่อง ทหารที่เป็นชาวพุทธ อย่างน้อยต้องแขวนพระเครื่อง ๑ องค์ แต่ส่วนใหญ่จะแขวน ๓-๙ องค์ ที่พูดกันว่า ทหาร ๑ กองร้อย แขวนพระเครื่อง ๑ กองพล คงไม่ผิดนัก

    ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ความสำคัญของพระเครื่องสำคัญพอๆ กับปืน ซึ่งเป็นอาวุธคู่กาย ทหารมีปืนไว้ป้องกันศัตรูทางกาย และปกป้องชาติบ้านเมือง ส่วนพระเครื่องนั้นทหารมีไว้ป้องกันศัตรูทางใจซึ่งสำคัญยิ่งกว่า

    ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่ทหารต้องออกไปปฏิบัติการภาคสนาม สิ่งหนึ่งที่หัวหน้าหน่วยทุกแห่งปฏิบัติเหมือนกัน และน่าเป็นประเพณีปฏิบัติ คือ การมอบวัตถุมงคลให้เป็นขวัญกำลังใจก่อนออกไปปฏิบัติหน้าที่ โดยล่าสุด ในการจัดกำลังไปรักษาความสงบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อพ.ศ.๒๕๕๐ จัดพิธีมอบพระเครื่องให้ทหารทุกคน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ทหารหาญ


    ส่วนพระเครื่องที่ พล.ต.อำพน แขวนติดตัวไว้ตลอดคือ พระสมเด็จ ซึ่งได้รับมอบจากเจ้าอาวาสวัดประยูรวนาราม ตลาดสี่มุมเมือง จ.ปทุมธานี โดยนิมนต์ขึ้นคอมานานแล้ว ซึ่งตลอดชีวิตรับราชการได้แต่สิ่งดีๆ มาตลอด ทั้งยศและตำแหน่ง

    ทั้งนี้ เมื่อตรงกับวันสำคัญทางศาสนา รวมทั้งงานวัด จะจัดผู้ใต้บังคับบัญชาให้ไปช่วยงานวัดแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวัดอื่นที่อยู่ใกล้เคียงด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัดสีกัน วัดคลองสีกัน

    ขณะเดียวกัน แม้จะย้ายมารับตำแหน่งผู้ บัญชาการ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีความศรัทธาต่อเจ้าอาวาสอยู่

    ส่วนพระอีกองค์หนึ่งที่แขวนติดตัว คือ พระหลวงปู่ทวดวัดห้วยมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ รุ่นปาฏิหาริย์ โดยเช่ามาด้วยตัวเองในราคา ๓๙๙ บาทเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นพระใหม่ แต่พล.ต.อำพนก็กล้านิมนต์ขึ้นคออย่างสนิทใจ เพราะขึ้นชื่อว่า พระหลวงปู่ทวดจะสร้างวัดไหน ออกเมื่อไร ถ้าผู้สร้างมีเจตนาดี ก็มีพุทธคุณเหมือนกัน

    แต่เหนือสิ่งอื่นใด นอกจากพุทธคุณในองค์พระแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ ผู้แขวนพระนั้นต้องตั้งอยู่ในศีลมั่นอยู่ในธรรม ศีลเพียง ๕ ข้อ หากเรารักษาและปฏิบัติได้ ยิ่งเป็นการส่งเสริมพุทธคุณในองค์พระ ให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

    พล.ต.อำพนบอกด้วยว่า นอกจากไปทำบุญที่วัดประยูรธรรมาวาส ซึ่งเป็นวัดใกล้ที่ทำงานเดิมเป็นประจำแล้ว ยังมีวัดอีกแห่งหนึ่งที่พล.ต.อำพน เดินทางไปเป็นประจำ คือ วัดพระสิงห์ โดยไม่ได้เจาะจงไปหาพระรูปหนึ่งรูปใด แต่จะไปถวายสังฆทาน จากนั้นก็เดินเวียนเทียนรอบอุโบสถ ทั้งนี้จะหาโอกาสไปวัดแห่งนี้อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง โดยได้เดินทางไปกราบไหว้มา ๓ ปีติดต่อกันแล้ว

    ส่วนเหตุผลนั้น เกิดจากคำแนะนำของเพื่อนคนหนึ่งที่ว่า คนเกิดวันพฤหัสบดี เพื่อความเป็นมงคลแก่ชีวิต ต้องเดินทางไปกราบพระวัดนี้

    วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสามล้าน ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวรู้จักคุ้นชื่อกันดี

    พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุพระอัฐิของ พญาคำฟู ซึ่งเป็นพระราชบิดา

    เดิมชื่อว่า วัดลีเชียงพระ บริเวณหน้าวัดแห่งนี้เคยเป็นกาดมาก่อน ชาวบ้านเรียกว่า กาดลี

    วัดพระสิงห์ มีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ หอไตร สร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ตัวผนังตึกด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้น แต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม เป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้ว ต่อมาในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่ฐานหอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัว ภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ และประจำยาม ที่มีลักษณะละม้ายลายสมัยราชวงศ์เหม็งของจีน

    อย่างไรก็ตาม พล.ต.อำพนพูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า "ความซื่อสัตย์และความมีคุณธรรม รวมทั้งยึดมั่นในหลักธรรมคำสั่งสอน สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ที่หน่วยเดิมทุกๆ อาทิตย์จะมีการสวดมนต์ทำสมาธิอย่างน้อย ๑ วัน เพื่อเป็นการฝึกจิตใจให้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธเจ้า และเมื่อคนมีธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว ความผิดพลาดทั้งการทำงาน และการใช้วีวิตประจำวัน ก็หมดไปด้วย"

    "ไตรเทพ ไกรงู"​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.komchadluek.net/2008/10/18/x_phra_j001_226453.php?news_id=226453
     

แชร์หน้านี้

Loading...