เรื่องเด่น ผู้เชี่ยวชาญ คาด ไทยเสี่ยงน้ำท่วมใหญ่ ก.ย.-พ.ย. ปี’64 แนะรัฐปรับโครงสร้างรับมือ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 11 กันยายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    news-e101186eb5.jpg

    สถานการณ์น้ำท่วมตอนนี้ถือว่าต้องจับตาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากร่องมรสุมแล้ว ก็ยังมีพายุโซนร้อน “โกนเซิน” ที่จ่อจะขึ้นฝั่งเวียดนาม ทีมข่าว PPTV พูดคุยกับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ประเมินว่า ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเสี่ยงเกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่จะไม่เท่าเหตุน้ำท่วมเมื่อปี 54


    รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ประเมินว่า ช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2564 ไทยมีโอกาสเสี่ยงเกิดน้ำท่วมใหญ่ สาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งอุณหภูมิน้ำทะเลสูงทำให้เกิดฝนได้ง่าย ประกอบกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่าง ๆ มีมากกว่าปีที่แล้ว และพายุ “โกนเซิน” ที่คาดว่าจะขึ้นฝั่งเวียดนามใน 1-2 วันนี้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไม่น่าจะหนักเท่าเหตุน้ำท่วมปี 54 เพราะปริมาณฝนมีน้อยกว่า


    b988e0b8a2e0b8a7e0b88ae0b8b2e0b88d-e0b884e0b8b2e0b894-e0b984e0b897e0b8a2e0b980e0b8aae0b8b5e0b988.jpg


    “เราไม่ได้กลัวว่าปี 54 หรอก เรากลัวแค่น้ำท่วม 10 ปี ก็คือ ปี 45 ถ้าจำได้นะ ปี 45 น้ำท่วมอยุธยา แต่ไม่เข้ากรุงเทพนะ เค้าเรียกน้ำท่วม 10 ส่วนนั้นนะ มันมีโอกาสสูงในน้ำท่วมรอบ 10 ปี เพราะฉะนั้นต้องเฝ้าระวัง ว่าอีก 2 เดือนมันอาจเป็นไปได้” รศ.ดร.เสรี


    โดยสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ รศ.ดร.เสรี ระบุว่า ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน ปีนี้ เพราะมีการคาดการณ์ว่าฝนจะตกหนักกว่าปกติ ทำให้ ภาคกลาง จ.อยุธยา เสี่ยงท่วมหนัก โดยเฉพาะพื้นที่ริมน้ำ และนอกคันกั้นน้ำ ส่วน จ.กรุงเทพฯ คาดว่าจะไม่ท่วมหนักเท่าปี 54 แต่จะมีน้ำรอการระบาย

    ส่วนภาคอีสาน จ.นครราชสีมา เสี่ยงน้ำท่วมหนัก เพราะอ่างเก็บน้ำเต็มหลายแห่ง ต้องเฝ้าระวังแตกหากพายุเข้ามา ภาคตะวันออก จ.พัทยา เริ่มเกิดท่วมสั้น ๆ แต่ระบายออกได้เร็ว ในช่วง 3 เดือน จะท่วมลักษณะนี้บ่อยขึ้น และภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่น่ากังวลสุดเพราะอุณหภูมิน้ำทะเลสูง ทำให้ จ.นครศรีธรรมราช เสี่ยงเกิดน้ำท่วมหนัก

    รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อว่า สถานการณ์น้ำท่วม และภัยแล้ง ทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกปีจากภาวะโลกร้อน ซึ่งไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ทำได้อย่างเดียวคือการยอมรับ ปรับตัว และจัดการบริหารความเสี่ยง บางประเทศ เช่น สิงคโปร์ ทำคันดินรอบประเทศ กันน้ำทะเลหนุนสูง แต่การจัดการของไทยยังไม่มีการปรับโครงสร้างรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น หากเหตุการณ์น้ำท่วมหนักเท่าปี 54 ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ สถานการณ์จะหนักกว่าเดิม


    “คือขณะนี้เราต้องยอมรับว่า ข่าวสารการรับมือไม่ค่อยออกมา ถามว่าเรามีเครื่องสูบน้ำที่สามารถสูบแต่ละจุดเท่าไหร่ไม่มีใครรู้หรอก ผมก็ไม่รู้ถูกไหม ประชาชนก็ไม่รู้ เรารู้เพียงแต่ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 54 ถ้าเกิดมา ถ้าเกิดนะครับหมายความว่า โอกาสเกิดน้อย แต่ถ้าเกิดเราย่อมหนักกว่าปี 54 แน่ ความรุนแรง เพราะว่าเรายังไม่ได้เตรียมทำอะไรเลย โครงสร้างต่าง ๆ เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย คลองผันน้ำ การขุดลอกระบายน้ำต่าง ๆ เรามีแต่ยกถนน” รศ.ดร.เสรี กล่าว

    ส่วนเรื่องของการเตรียมรับมือระยะสั้น รศ.ดร.เสรี ระบุว่า ที่ภาครัฐทำได้ตอนนี้คือเตือนประชาชนให้ทราบล่วงหน้าสำหรับการอพยพ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ โควิด-19 ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ อยากให้เร่งคัดแยกผู้ป่วย ในสถานที่ที่ที่ความเสี่ยงน้ำท่วม เพื่อที่อาสาสมัครจะได้ประเมินความเสี่ยงและหาวิธีเข้าไปช่วยเหลืออย่างเหมาะสม


    ขอบคุณที่มา

    https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/156148
     

แชร์หน้านี้

Loading...