พระนิพพาน "ที่ไม่ตาย" จากพุทธพจน์ ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 9 กันยายน 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>๖. ปาสราสิสูตร</CENTER><CENTER>อุปมากองบ่วงดักสัตว์</CENTER></PRE>




    [๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    คนบางคนในโลกนี้ โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา
    ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มี-
    *ชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่แก่
    หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมี
    พยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ
    โดยตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระ-
    *นิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามีได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
    ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพาน ที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
    เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา
    ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้แล คือการแสวงหาที่ประเสริฐ.
    [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก่อนตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ เป็นโพธิสัตว์อยู่ทีเดียว
    โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมี
    พยาธิเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดานั่นแล
    เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีสังกิเลสเป็น
    ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดานั้นแล เราจึงคิดดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
    ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชรา
    เป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่เล่า
    เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
    ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหา
    สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่เล่า ไฉนหนอ เราเมื่อเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัด
    โทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจาก
    โยคะ เมื่อเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา แล้วแสวงหา
    พระนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ควร
    ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพานที่หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่น
    ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็น
    ธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็น
    ผู้มีโศกเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่หา
    โศกไม่ได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ควรทราบ
    ชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่า
    มิได้ เกษมจากโยคะ.


    อ่านต่อเอาเองได้ตามลิงค์
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๓๘๔ - ๕๗๖๒. หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=5384&Z=5762&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    จากพระสูตรเดียวกัน

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>๖. ปาสราสิสูตร</CENTER><CENTER>อุปมากองบ่วงดักสัตว์</CENTER></PRE>

    [๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณเหล่านี้มี ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน?

    คือ รูปที่พึง
    ทราบชัดได้ด้วยจักษุ ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่
    ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงทราบชัดได้ด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงทราบชัดได้ด้วยฆานะ ... รสที่พึง
    ทราบชัดได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงทราบชัดได้ด้วยกาย ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
    ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕
    เหล่านี้แล. สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่
    จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
    เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาป กระทำได้ตามต้องการ.

    <CENTER>อุปมาสมณพราหมณ์กับฝูงเนื้อ
    </CENTER> [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ติดบ่วงนอนทับกองบ่วง พึงทราบ
    ว่า เป็นสัตว์ที่ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามา
    ก็หนีไปไม่ได้ ตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน
    ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น.
    บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ ฉันนั้น
    สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตน
    ออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ
    เสื่อมความพินาศไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ. เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง นอน
    ทับกองบ่วง พึงทราบว่า เป็นสัตว์ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ
    เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน
    ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้
    สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาป
    กระทำได้ตามต้องการฉันนั้น.


    อนึ่ง เหมือนอย่างว่า เนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าใหญ่ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน
    เพราะไม่ได้ประสบพรานป่า ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม ย่อมบรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ
    ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
    เป็น"ธรรมเอกผุดขึ้น" เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    ภิกษุนี้เรียกว่า ได้กระทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็น
    ของมารผู้มีบาปธรรม.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วย
    นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มี
    อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็น
    ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
    ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า
    ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า
    อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการ
    ทั้งปวงอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึง
    ความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการ
    ทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า
    ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการ
    ทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า
    ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการ
    ทั้งปวง ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลาย
    จักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียโดย
    ประการทั้งปวง ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็แลเพราะเห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้น
    ไป ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความ
    ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้ ย่อม
    วางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้ประสบมารผู้มีบาปธรรม.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิต
    ของพระผู้มีพระภาค แล้วแล.

    <CENTER>จบ ปาสราสิสูตร ที่ ๖
    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...