พระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 เมษายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    พระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

    โดย ทศพนธ์ นรทัศน์ ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม Information and Communication Technology for All Club (ICT for All Club)



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>"รวมเป็นส่วนหนึ่ง...ในการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร"

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้งานประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อยังประโยชน์สุขแก่พสกนกิกรชาวไทย แม้ในวันที่ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้ว นับได้ว่าทรงเป็นแรงบันดาลใจในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยโดยแท้

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสโรงงานคอมพิวเตอร์ใหญ่ของไอบีเอ็มที่ซิลิกอน วาเลย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2503 นับเป็นการจุดประกายให้วงการคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย คิดถึงการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ให้ทัดเทียมประเทศที่เจริญแล้ว

    นับได้ว่า "ทรงเป็นผู้นำและจุดประกายวงการคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยอย่างจริงจัง"

    โดยทรงใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระวิสัยทัศน์ยาวไกลในการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพสกนิกรชาวไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานนับเนื่องกว่า 62 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ ทรงเล็งเห็นความสำคัญของเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

    ทรงสนับสนุนให้มีการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประดิษฐ์บัตร ส.ค.ส.พระราชทานพรแก่พสกนิกรชาวไทย ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่เป็นประจำทุกปี <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยในการออกแบบและจัดทำโปรแกรมพระไตรปิกฎฉบับคอมพิวเตอร์ โปรแกรมนี้ว่า BUDSIR : Buddhist Scriptures Information Retrieval รวมทั้งมีพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับสืบค้นข้อมูลดังกล่าว ทรงเป็นผู้นำการพัฒนาพหุสื่อ (Multimedia) อาทิ การทำให้คอมพิวเตอร์พูดภาษาไทยได้ชัดขึ้น ตลอดจนทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่างๆ

    นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังสนพระทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านอินเตอร์เน็ต ดังที่ ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ได้กล่าวไว้ว่า "ได้รับทราบจากข้าราชบริพารว่าทรงใช้อินเตอร์เน็ตอยู่บ่อยมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าทรงพระปรีชาสามารถในด้านอินเตอร์เน็ตไม่น้อยกว่าผู้ใดในประเทศไทย"

    หากย้อนไปเมื่อประมาณเดือนธันวาคม 2529 ม.ล.อัศนี ปราโมช องคมนตรี ได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช พลัส ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯถวาย พระองค์ท่านจึงทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรก ดังพระราชดำรัส ซึ่งพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2530 ความว่า "เดี๋ยวนี้เด็กๆ อายุ 10 ขวบ เล่นคอมพิวเตอร์เป็นอย่างนี้ ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่ามีปมด้อยขึ้นมาว่าเล่นคอมพิวเตอร์ไม่เป็น ...แล้ววันหนึ่งก็มีคนหนึ่งเอาคอมพิวเตอร์มาให้บอกว่า อันนี้ เขียนดนตรี ก็เลยรับเอาไว้ ที่จริงรับเอาไว้เขาไม่ได้ให้ เพราะว่าไปซื้อมาก็เงินของเราเอง เราซื้อเราก็ยังกลัว มองดูแล้วไม่รู้จะทำยังไง แต่ถึงตอนปีใหม่ ก่อนปีใหม่นิดหนึ่ง ก็เอาคอมพิวเตอร์ขึ้นไปตั้งในห้องทำงานแล้วก็จิ้มไป เขาบอกว่าเขียนหนังสือได้ เขียนรูปได้ ก็เริ่มลองเขียนหนังสือ ก็เขียนสำหรับอวยพรปีใหม่ เป็นบัตร ส.ค.ส.แล้วก็เขียนไปๆ เอ้อ...ออกมาได้ เขียนออกมาเป็นตัวได้ ก็แปลกดี"

    ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ทรงงานด้วยคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากแต่ทรงสนพระทัยในการศึกษาเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ บางครั้งได้ทรงเปิดเครื่องออกดูระบบภายในเครื่องด้วยพระองค์เอง ทรงปรับปรุงซอฟต์แวร์ใหม่ขึ้นมาใช้เอง และบางครั้งทรงแก้ไขปรับปรุงซอฟต์แวร์ในเครื่อง เช่น โปรแกรมภาาาไทย CU Writer ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ (โปรแกรมประมวลคำ Word Processor ในช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งมีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) อย่างแพร่หลาย ซึ่งพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

    เมื่อมีปัญหาไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น พระองค์ท่านทรงห่วงว่า ไวรัสจะทำลายข้อมูลในเครื่องได้ ดังนั้น เมื่อทรงใช้งานคอมพิวเตอร์จึงทรงระมัดระวังมาก และทรงเก็บ (copy) ข้อมูลไว้หลายชุด

    จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตประกอบพระราชกรณียกิจ แม้ในวันที่ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้ว นับได้ว่าพระองค์ท่านทรงเป็นแรงบันดาลในในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยแท้ จึงสมควรที่ผู้สูงวัยที่ลังเลใจ หรือกลัวที่จะใช้คอมพิวเตอร์ จะได้ดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี

    ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All) เชิญชวนผู้สูงวัย อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปและนักวิชาการ ร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต" ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2552 เวลา 09.30-16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 5 โรงแรมสวนดุสิต เพลส เฟส 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและวัยวุฒิ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต การใช้คอมพิวเตอร์อย่างชาญฉลาดเพื่อลดปัญหาโลกร้อน ผู้สูงวัยและนักวิชาการทุกคนที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมสัมมนา โดยแจ้งชื่อ,ที่อยู่,หมายเลขโทรศัพท์,e-Mail) ได้ที่ นายทศพนธ์ นรทัศน์ e-Mail: thossaphol@ictforall.org หรือ hs4hnl@msn.com หรือ โทร.0-81261-0726
    -----------
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01140452&sectionid=0147&day=2009-04-14
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...