พุทธกับการเมืองไทย ณ กาลปัจจุบัน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย paang, 1 มีนาคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    ประเทศไทย รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจน มิให้นักบวชมีสิทธิสมัครเป็นผู้แทนหรือแม้แต่การไปออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง

    กฎหมายลูกก็ได้กำหนดชัดเจน มีผลบังคับใช้ แม้นักบวช และแม่ชีในนิกายโรมันคาทอลิก ก็ไม่มีสิทธิหย่อนบัตรเพื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเช่นกัน ซึ่งต่างกับในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ แม้รัฐสภาไทยมีกฎห้ามพระภิกษุเข้าไปในห้องประชุมรัฐสภา ยกเว้นแต่ได้รับอาราธนาเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น
    หากพิจารณาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเอง ศาสนาเป็นฐานแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายครั้ง แม้ว่าพระภิกษุจะไม่อาจมีบทบาททางการเมืองโดยตรงก็ตาม ความเชื่อทางศาสนาได้เป็นพลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยที่สุโขทัยเป็นราชธานี เรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากพระภิกษุเป็นบุคคลที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ
    ปรากฏการณ์ที่ชาวพุทธลุกขึ้นมาตั้งพรรคการเมืองในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการนั้น พระ ดร.มโน (เมตฺตานนฺโท ภิกฺขุ) ที่ปรึกษาเลขาธิการใหญ่องค์การสมัชชาศาสนาเพื่อสันติภาพโลก (ฝ่ายกิจการพระพุทธศาสนา) และอาจารย์พิเศษ คณะศาสนาวิชาศาสนาและปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า

    พุทธศาสนาที่มีบทบาททางการเมืองเริ่มขึ้นที่ ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศแรก โดยการนำของ ท่านไดซากุ อิเคดะ ผู้ก่อตั้งพุทธสมาคมโซกากาไก โดยภายหลังจากที่พุทธสมาคมนี้ได้ก่อตั้งเป็นหลักเป็นฐานแล้ว ท่านได้ตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคโคเมโต ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ ในขณะนั้นมีสมาชิกสภาสูง ๑๕ ที่นั่ง และสมาชิกสภาส่วนภูมิภาค เช่นสมาชิกในเขตโตเกียวด้วย รวมทั้งหมดประมาณ ๑,๒๐๐ คน

    การเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๑๐ พรรคโคเมโตได้ที่นั่งในสภาล่างเป็นครั้งแรก เลือกตั้งครั้งเดียวได้ถึง ๒๕ ที่นั่ง หลังจากนั้นก็ก้าวสู่สนามการเมืองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างจริงจัง จนทำให้หลังจากช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมาตั้งแต่สมาชิกรัฐสภาและสภาชิกสภาส่วนภูมิภาคทั้งหมดมีมากถึง ๓,๑๐๐ กว่าคน

    พรรคโคเมโต ได้สร้างรากฐานที่มั่นคงแข็งแรง และมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความก้าวหน้าให้กับการเมืองของญี่ปุ่น หลังจากที่รวมตัวกับหลายพรรคการเมือง พรรคโคเมโตใหม่ มีจำนวนสมาชิกพรรค ๔ แสนคน และสมาชิกในรัฐสภาปัจจุบันถึง ๓,๔๖๒ คน ซึ่งรวมทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และสภาบริหารท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น

    ปลาย พ.ศ. ๒๕๔๑ พรรคโคเมโตปฏิรูปนโยบายการบริหารได้มีการรวมตัวของกลุ่มโคเมอิ กับพรรคใหม่เพื่อสันติ (New Party for Peace) กลายเป็น พรรคโคเมโตใหม่ (New Komeito)

    ปรัชญาของพรรคโคเมโตใหม่นี้ชูประเด็น มนุษยนิยม และมุ่งความสำคัญของประชาชน เน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติ เพื่อทำให้เป็นประชากรโลกที่มุ่งหวังผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ ให้ประเทศญี่ปุ่นที่ทุ่มเทให้กับโลก สนับสนุนให้ระบอบประชาธิปไตยระดับรากหญ้าเบ่งบาน และจัดตั้งอำนาจอธิปไตยในส่วนภูมิภาคและอุทิศตนเพื่อส่วนรวม

    นอกจากนี้แล้วยังมีอีกประเทศหนึ่งที่ พระภิกษุออกมามีบทบาททางการเมืองอย่างโดดเด่น คงจะไม่มีประเทศใดเกิน ศรีลังกา

    แต่เดิมนั้นพระในศรีลังกามีความสนใจในเรื่องการเมืองอย่างมากอยู่แล้ว นับตั้งแต่ที่พ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เนื่องจากรัฐธรรมนูญซึ่งอังกฤษเป็นผู้เขียนให้มิได้ระบุว่า สถานภาพทางสังคมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
    พระของศรีลังกา ได้ลงสมัครในการเลือกตั้งมาหลายยุคหลายสมัย เจ้าคณะจังหวัดเองก็เคยลงชิงชัยในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดมาแล้ว คะแนนโหวตแต่ละครั้งก็เป็นเครื่องบอกถึงความเป็นสุปฏิปันโนของท่านได้เป็นอย่างดี อีกทั้งพระหลายรูปได้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง พยายามต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนา และมีความไม่พอใจที่ชาวพุทธถูกชักจูงให้ไปเข้ารีต เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น

    แม้พยายามติดต่อวิ่งเต้นนักการเมืองหลายพรรคให้ช่วยแก้ไข แต่ในที่สุดก็ไม่เป็นที่พอใจ กอปรกับปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศ ทำให้พระมหาเถระรูปหนึ่งชื่อ ท่านเอลลาวะละเมทานันทะ นายกะเถระ และพระภิกษุจากทุกนิกายร่วมกันตั้งพรรคการเมืองชื่อ "พรรคชาถิกะ เหละ อุรุมะยะ" (Jaithika Hela Urumaya) สมาชิกเป็นพระภิกษุล้วน มาจากทุกนิกายประมาณ ๒,๕๐๐ รูป รวมตัวกันภายใต้การนำของท่าน เป็นพรรคการเมืองหน้าใหม่อายุ ๒ ปี เคยส่งผู้สมัครลงแข่งขันชิงชัยในการเลือกตั้งระดับชาติ เมื่อปีที่ผ่านมา โดยทางพรรคจะส่งเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น เข้าร่วมชิงชัยในการเลือกตั้ง

    ผลการเลือกตั้งปรากฏว่ามี ส.ส.ในพรรคที่ได้รับเลือกเข้าไปนั่งในสภา ๗ รูป จากทั้งหมด ๒๒๔ ที่นั่ง ในรัฐสภา เป็นพรรคการเมืองที่กำลังได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมาก มีที่ปรึกษาเป็นนักกฎหมาย นักบริหาร และประชาชน ให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ มีภาพลักษณ์เป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนสวัสดิการแก่คนยากจน และปกป้องกันสิทธิของชาวพุทธจากการถูกเบียดเบียน
    การเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกา ที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ นี้ พรรคนี้สนับสนุนผู้สมัครพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งสอบตกอย่างหวุดหวิด แต่กระนั้นก็มีประชาชนศรัทธาในพระคุณเจ้าเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

    "ในประเทศไทย พระภิกษุกับการเมือง มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกันมาตั้งแต่ต้น แม้พระภิกษุจะไม่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง หรือมีส่วนร่วมโดยตรงกับทางการเมืองมาทุกยุคทุกสมัย ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งก็มีพระภิกษุเป็นหัวคะแนนให้นักการเมืองอยู่ไม่ใช่น้อย" พระ ดร.มโน กล่าว พร้อมกับบอกด้วยว่า
    บุคคลแรกที่ได้สร้างโฉมหน้าใหม่ให้แก่ประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ก่อตั้งพรรคพลังธรรม ซึ่งสมาชิกส่วนหนึ่งของพรรคนี้ได้ออกมาตั้งพรรคไทยรักไทย ในภายหลัง

    นับเป็นครั้งแรกที่มีพรรคการเมืองที่นำปรัชญาของพระพุทธศาสนามาใช้เป็นนโยบาย แม้ว่าท่านจะวางมือจากพรรคพลังธรรมไปแล้ว แต่ก็ยังมีบทบาทในการปกป้องศีลธรรมของสังคม สำนักสันติอโศกก็ยังมีอุดมการณ์ทางการเมืองต่อไป และเกิดพรรคเพื่อฟ้าดิน ซึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่งทางการเมืองวิถีพุทธ "การที่หลวงพ่อของวัดใหญ่ๆ บางวัด จะส่งลูกศิษย์ของตนเข้าชิงชัยในสนามเลือกตั้งในเขตต่างๆ นั้น ก็เป็นเรื่องธรรมดา และสามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมประชาธิปไตยทุกประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่ผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม แม้จะฝืนความรู้สึกของชาวพุทธทั้งหลายไปบ้างก็ตาม ขออย่างเดียวให้ปฏิบัติตามกฎหมายการเลือกตั้ง อย่าไปซื้อเสียงเข้าก็แล้วกัน" พระ ดร.มโน กล่าว

    @ คมชัดลึก
     
  2. mungkorn

    mungkorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +367
    ป้าแกดีนะสนใจศาสนาและสนใจการเมืองด้วย ขอแจมด้วย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><!--CENTER CONTENT -->
    พระมหาเดวิทย์ชวนสงฆ์-ฆราวาสให้กำลังใจทักษิณ
    [ 19:29 น. ]

    องค์การยุวสงฆ์แห่งประเทศไทย นำโดย พระมหาเดวิทย์ ยสสีภิกขุ ประธานองค์การยุวสงฆ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ทั่วสังฆมณฑล ให้ชักชวนญาติโยม ไปร่วมรับฟังให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 3 ม.ค.นี้ เวลา 15.00 น. เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และร่วมกันควบคุม ไม่ให้การสนับสนุนคณะบุคคลออกมาสร้างความวุ่นวาย สร้างปัญหาสร้างความเดือดร้อนในสังคมต่อไป พระมหาเดวิทย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่เป็นการสนับสนุนตัวบุคคล คือ ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งจากการประสานงาน นอกจากพระสงฆ์จะไปสนับสนุนนายกรัฐมนตรีจำนวนมากแล้ว ยังมีการระดมญาติโยม ไปเป็นจำนวนมาก โดยให้พระ 1 องค์ ดูแลญาติโยม 50 คน และเชื่อว่าในส่วนนี้ จะมีญาติโยมไปร่วมงานหลายหมื่นคน ถ้าเป็นไปได้ ในเวทีเดียวกัน ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ขัดข้อง พระสงฆ์จะขอใช้สิทธิ์ขึ้นไปเทศน์ให้ประชาชนฟังด้วย นอกจากนี้ หลังงานวันที่ 3 มี.ค.เสร็จ พระสงฆ์อาจจะขอใช้สนามหลวง สวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลของบ้านเมืองด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...