พุทธคยา : อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ - สัตตะมหาสถาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย phuang, 30 สิงหาคม 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE borderColorDark=#f3f3f3 width="80%" borderColorLight=#f3f3f3 border=1><TBODY><TR bgColor=#6699ff><TD class=white10bc width="100%">พุทธคยา : อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ - สัตตะมหาสถาน</TD></TR><TR><TD style="MARGIN-LEFT: auto; WIDTH: 99%; COLOR: #000000; MARGIN-RIGHT: auto" width="100%" bgColor=#ffffff>สัตตะมหาสถาน หมายถึง สถานที่รอบๆต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ทรงประทับเสยววิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากการหลุดพ้น จาก กิเลส) แต่ละแห่ง แห่งละ ๗ วัน รวม ๔๙ วัน คือ

    สัปดาห์ที่ ๑ : โพธิบัลลังก์

    ทรงประทับอยู่ที่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั่นเอง หลังจากตรัสรู้แล้ว ทรงเสวยวิมุตติสุข ทรงพิจารณาพระธรรม ที่ทรง ตรัสรู้ คือ ปฏิจจสมุปบาท ตลอด ๗ วัน ทรงเปล่งพระอุทานในราตรีหนึ่ง ตลอดยามทั้งสาม
    ในปฐมยาม ทรงเปล่งพระอุทานว่า เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยของพรามหณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งว่าธรรมเกิดแต่เหต

    ในมัชฌิมยาม ทรงเปล่งพระอุทานว่า เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยของพรามหณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ว่าเป็นเหตุสิ้นแห่งผล ทั้งหลาย

    ในปัจฉิมยาม ทรงเปล่งพระอุทานว่า เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย กำจัดความือด ทำให้อากาศสว่างได้ ฉะนั้น

    สัปดาห์ที่ ๒: อนิมิสเจดีย์


    <TABLE height=210 cellSpacing=1 cellPadding=4 width=316 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระองค์ทรงดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต้นโพธิ์ ทรงยืนพิจารณาทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมไม่กระพริบพระเนตรเลยตลอด ๗ วัน ทรงหวลระลึกถึงอดีตที่ทรงชำระกิเลสหมดสิ้นผ่องใส ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ประทับยืนนั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์ ที่พุทธคยาปัจจุบัน บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีเจดีย์เป็นอนุสรณ์อยู่ ลักษณะเจดีย์ทาสีขาว

    สัปดาห์ที่ ๓:
    รัตนจงกรมเจดีย์


    <TABLE height=205 cellSpacing=1 cellPadding=4 width=312 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD width=302 bgColor=#ffffff>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE> พระพุทธเจ้า เสด็จไปบริเวณทิศเหนือของพระศรีมหาโพธิ์ ทรงนิรมิตที่จงกรม ระหว่างโพธิบัลลังก์ กับที่ประทับยืน ที่อนิมิสเจดีย์ ทรงเสด็จจงกรมจากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก เรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์

    ปัจจุบัน รัตนจงกรมเจดีย์ อยู่ข้างพระมหาเจดีย์ ด้านทิศเหนือ มีหินทรายสลักเป็นดอกบัวบาน จำนวน ๑๙ ดอก มีแท่นหิน ทรายแดงยาวประมาณ ๖ เมตร และมีป้ายหินอ่อนปักให้รู้ว่า นี่คือรัตนจงกรมเจดีย์ (Ratna cakra Chatiya) ที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุข ในสัปดาห์ที่ ๓ ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ กับอนิมิสเจดีย์


    สัปดาห์ที่ ๔ : รัตนฆรเจดีย์

    <TABLE height=208 cellSpacing=1 cellPadding=0 width=310 bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระองค์เสด็จไปประทับ ณ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงประทับในเรือนแก้ว (รัตนฆร) ที่เทวดา นิรมิตถวาย ทรงประทับภายวนเรือนแก้วนั้นตลอด ๗ วัน ทรงพิจารณาพระอภิธรรม เมื่อทรงพิจารณาถึงมหาปัฏฐาน ปรากฏมี พระฉัพพรรณรังสีแผ่ออกมาจากพระวรกาย

    ปัจจุบันสถานที่ที่เป็นรัตนฆรเจดีย์นั้น มีอนุสรณสถานเป็นรูปวิหารทรงสี่เหลี่ม ไม่มีหลังคามุง กว้างประมาณ ๑๑ ฟุต ยาวประมาณ ๑๔ ฟุต รอบข้างเต็มไปด้วยเจดีย์โบราณ มีพระพุทธรูปสมับคุปตะและสมัยปาละ พิจารณาแลัวเห็นน่าจะมีผู้นำ มาตั้งไว้ในสมัยหลัง หน้าประตูเข้าด้านตะวันตกมีป้ายบอกว่า รัตนฆรเจดีย์ (Ratnagrha Chatiya)

    สัปดาห์ที่ ๕ : อชปาลนิโครธ



    <TABLE height=202 cellSpacing=1 cellPadding=4 width=134 align=left bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD width=132 bgColor=#ffffff height=200>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>อชปาลนิโครธ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์ คำว่า อชปาลนิโครธ หมายถึง ต้นไทรอันเป็นที่รักษาแพะ หมายถึง ต้นไทรนี้ มักมีเด็กเลี้ยงแพะ พาแพะ มาหากิน เสมอๆ พระพุทธเจ้า ขณะยังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ตรัสรู้ ได้เคยเสด็จมารับข้าวมธุปายาส จากนางสุชาดาครั้งหนึ่ง ณ ที่แห่งนี้ หลังจากตรัสรู้แล้ว ทรงมาประทับที่นี่อีกครั้งหนึ่ง ทรงพบกับ พราหมณ์หุหุกชาติ ซึ่งมีปกติตวาดคนอื่นด้วยคำว่า หึหึ ได้มาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า

    "บุคคลจะได้ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะเหตุเพียงไร และธรรมเหล่าไหน ที่ทำบุคคล ให้ เป็นพราหมณ์ "

    พระองค์ตรัสบอกว่า

    "ผู้ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่ตวาดผู้อื่นว่า หึหึ ไม่มีกิเลสย้อมจิตดุจน้ำฝาด สำรวม ตนดีแล้ว เรียนจบพระเวท อยู่จบพรหมจรรย์ ผู้นั้นไม่มีกิเลสฟูขึ้นในอารมณ์ต่างๆในโลก จึง ควรเรียกตัวเองว่า เราเป็นพราหมณ์โดยธรรม"


    บางแห่งกล่าวว่า ที่แห่งนี้ ธิดาพญามาร คือ นางตัณหา ราคา อรตี ได้เห็นบิดาของตนโศกเศร้าเพราะความพ่ายแพ้ต่อ พระมหาบุรุษ จึงว่าจะมาแก้มือแทนบิดาตน ได้มาแสดงอาการยั่วยวนพระพุทธองค์ ด้วยกิริยาต่างๆ แต่พระองค์ไม่ทรงแสดง อาการอะไรเลย ไม่ทรงใส่พระทัยในธิดามารเหล่านั้น แสดงถึงความมั่นคงในพระทัย ในพระโพธิญาณที่ทรงตรัสรู้ และขจัด กิเลสมาร ในพระหฤทัยจนขาดสิ้นแล้ว [ดูเชิงอรรถ*]
    หลังจากที่เสวยวิมุตติสุขครบ ๗ สัปดาห์แล้ว ทรงย้อนกลับมาที่นี่อีกครั้งหนึ่ง และได้ทรงพิจารณา อุปมาบุคคล ด้วยดอกบัว ๓ เหล่า ขณะที่จะทรงตั้งพระทัยเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก

    สัปดาที่ ๖ : สระมุจลินทร


    <TABLE height=202 cellSpacing=1 cellPadding=4 width=188 align=left bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD width=186 bgColor=#ffffff height=200>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระพุทธองค์ได้เสด็จไปที่ใต้ต้นมุจลินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากแม่น้ำเนรัญชรา ครึ่งกิโลเมตร ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ราวๆ ๒ กิโลเมตร ทรงประทับนั่งที่นั่นตลอด ๗ วัน ๗ คืน ขณะนั้นเกิดฝนตกใหญ่ พญานาค นามว่า มุจลินทร์ ปรารถนาจะกำบังผนให้พระพุทธองค์ จึงขนดตนเองวนรอบ พระวรกาย และแผ่พังพานบังลมผน ตลอด ๗ วัน เมื่อครบ ๗ วัน ลมฝนสงบแล้ว ได้คลายตัวออก และแปลงเพศเป็นมานพหนุ่ม ถวายบังคม ณ เบื้องพระพักตร์ พระองค์ ทรงเปล่งพระอุทานว่า

    "ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก"

    ปัจจุบัน บริเวณที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินทร์ เป็นสระบัวขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า มุจลินทร์โบกขรี (สระบัวมุจลินทร์) มีพระพุทธรูปปางนาคปรกประดิษฐานอยู่กลางสระ


    สัปดาห์ที่ ๗ : ต้นราชายตนะ

    <TABLE height=250 cellSpacing=1 cellPadding=4 width=171 align=left bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD width=161 bgColor=#ffffff height=248>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระพุทธองค์เสด็จไปยังทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ และประทับเสวยวิมุตติสุข ที่ควงไม้ราชายตนะ (ไม้เกตุ) ที่นั้น เป็นสัปดาห์สุดท้าย เป็นสัปดาห์ ที่ ๗ ขณะนั้นมีพ่อค้าวาณิชจากเมืองอุกกลชนบท ได้เดินทางมาค้าขาย คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ และได้พบกับพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ ณ ที่นั้น เกิดความศรัทธาปสาทะเลื่อมใส ได้ทูลถวายข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน เวลานั้นพระพุทธองค์ไม่มีบาตรจะรับ ขณะนั้นท้าวมหาราชทั้ง๔ ได้ทรงทราบ จึงน้อมนำบาตรศิลา ๔ ใบ มาทูลถวาย พระองค์ ทรงอธิษฐานเป็นบาตรใบเดียว และรับอาหารบิณฑบาตจากพ่อค้าทั้ง ๒

    หลังจากนั้นพ่อค้าทั้ง ๒ ได้เกิดความศัทธาในพระพุทธเจ้า ได้ประกาศตนเป็น อุบาสก ถึงทวิรัตนะ (คือพระพุทธ และพระธรรม) เป็นสรณะ ตลอดชีวิต เรียกว่า เป็นอุบาสกคู่แรก ผู้ได้ถึงรัตนะ ๒ประการ (เทววาจิกอุบาสก) ก่อนจะเดินทางต่อไป ได้ ทูลขอสิ่งอันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ เพื่อนำไปบูชา พระพุทธเจ้าจึงทรงลูบ พระเศียร พระเกศาติดที่พระหัตถ์มา และทรงประทานแก่พ่อค้าทั้งสอง เมื่อกลับถึงบ้านเมืองของตน ได้สร้างสถูปประดิษฐานพระเกศธาตุนั้น บูชาไว้ที่เมือง อสิตัญชนะ แคว้นอุตตราปถ

    ในกาลต่อมา หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแล้ว เสด็จจากเมืองพาราณสี ไปสู่กรุงราชคฤห์ พ่อค้าทั้งสอง จึงได้มาเข้าเฝ้าที่กรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรมแก่คนทั้งสอง ยังผลให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตปุสสะเป็นอุบาสก ส่วนภัลลิกะ ทูลขอ บวชในพระศาสนา ต่อมาจึงได้บรรลุอรหัตตผล


    <HR align=left width=300 noShade SIZE=1>
    * ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต แสดงถึงมาร มาเข้าหาพระพุทธองค์ และแสดงอาการต่างๆ เพื่อข่มขู่ พระพุทธองค์ เมื่อประทับที่ใต้ต้นอชปาลนิโครธหลายครั้งในพระสูตรต่างๆคือ ตโปกรรมสูตร นาคสูตร สุภสูตร สัตตวัสสสูตร มารธีตุสูตร แต่ก็ต้องกลับล่าถอยไปเสียทุกครั้ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...