เรื่องเด่น พุทธธรรมจากพระโอษฐ์ ตอน ทรงแสดงอัปปมัญญาธรรมสี่ชนิดที่สูงกว่าเดียรถีย์อื่น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 8 ธันวาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    พุทธธรรมจากพระโอษฐ์ ตอน ทรงแสดงอัปปมัญญาธรรมสี่ชนิดที่สูงกว่าเดียรถีย์อื่น

    maxresdefault.jpg


    (พวกเดียรถีย์อื่นถามพระภิกษุที่เข้าไปสนทนาด้วย ว่าพระสมณโคดมแสดงธรรมต่างจากพวกเดียรถีย์อย่างไร ในเมื่อมีการแสดงเรื่องอัปปมัญญาธรรมสี่ คือมีจิตแผ่ไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สู่ทิศทั้งปวง ด้วยระเบียบถ้อยคำที่เท่ากันตรงกันทุกคำพูด ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถึงเรื่องนี้ ซึ่งได้ตรัสอัปปมัญญาธรรมสี่ในระดับที่สูงขึ้นไปถึงระดับเจโตวิมุตติ มีข้อความดังต่อไปนี้ :)

    ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงกล่าว (ถาม) ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นผู้กล่าวอยู่อย่างนั้น ว่า “ท่านผู้มีอายุ ! ก็เมตตาเจโตวิมุตติ ...กรุณาเจโตวิมุตติ ...มุทิตาเจโตวิมุตติ ...อุเบกขาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรมอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร ? (เมื่อตรัส ตรัสทีละอย่าง แยกเป็น ๔ ตอน ตามจำนวนของเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โดยมีลำดับอักษรอย่างเดียวกัน)” ดังนี้.
    ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้ ปริพพาชกเดียรถีย์อื่น ท. เหล่านั้นจักไม่มีคำตอบ จักอึดอัดใจอย่างยิ่ง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะว่า ข้อนั้นไม่อยู่ในวิสัย. ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ที่จะตอบปัญหานี้ให้เป็นที่พอใจได้ เว้นเสียแต่ตถาคต หรือสาวก ของตถาคต หรือพวกที่ฟังไปจากคนทั้งสองนี้.
    ภิกษุ ท. ! ก็ เมตตาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรมอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ... ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...วิริยสัมโพชฌงค์ ...ปีติสัมโพชฌงค์ ...ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (เมื่อตรัสตรัสทีละโพชฌงค์ เป็น ๗ ตอน ตามจำนวนของสัมโพชฌงค์ แต่ละโพชฌงค์) เป็นสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ. ถ้าภิกษุนั้นหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ;ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเพิกถอนสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่างนั้นเสีย แล้วเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้อุเบกขามีสติสัมปชัญญะ ในธรรมนั้นได้ อยู่ ; อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น ย่อมเข้าถึง สุภวิโมกข์ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติ ว่าเป็นธรรมมีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง. ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของภิกษุผู้มีปัญญา ชนิดที่ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งขึ้นไป.
    ภิกษุ ท. ! ก็ กรุณาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไร มีธรรมอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ... ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...วิริยสัมโพชฌงค์ ...ปีติสัมโพชฌงค์ ...ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...สมาธิสัมโพชฌงค์ ...อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ. ถ้าภิกษุนั้น หวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้อยู่ ;ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเพิกถอนสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลทั้งสองอย่างนั้นเสีย แล้วเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในธรรมนั้นได้ อยู่ ; อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น เพราะการก้าวล่วงเสีย ได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อนันตัง วิญญาณัง” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่าเป็นธรรมมีวิญญาณัญจายตนะ เป็นอย่างยิ่ง. ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของภิกษุผู้มีปัญญาชนิดที่ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งขึ้นไป.
    ภิกษุ ท. ! ก็ อุเบกขาเจโตวิมุตติ เจริญกันแล้วอย่างไร มีคติอย่างไรมีธรรมอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีผลอย่างไร มีที่สุดจบอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ... ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ. ถ้าภิกษุนั้น หวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้ อยู่ ; ถ้าเธอหวังจะเพิกถอนสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่ปฏิกูลทั้งสองอย่างนั้นเสีย แล้วเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอก็ย่อมเป็นผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในธรรมนั้นได้ อยู่ ; อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น เพราะการก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “นัตถิ กิญจิ” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติ ว่าเป็นธรรมมีอากิญจัญญายตนะเป็นอย่างยิ่ง. ในกรณีนี้ เป็นวิมุตติของภิกษุผู้มีปัญญาชนิดที่ยังไม่แทงตลอด วิมุตติอันยิ่งขึ้นไป, ดังนี้แล.

    ________________________________
    ที่มา. บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๑/๕๗๔. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่หลิททะวสนนิคม โกลิยชนบท.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ธันวาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...