ภิกษุณี (พุทธบริษัทที่ถูกลบ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ลูกศิษย์พระครูโอภาสฯ, 24 มกราคม 2009.

  1. ลูกศิษย์พระครูโอภาสฯ

    ลูกศิษย์พระครูโอภาสฯ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    ภิกษุณี

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    <TABLE class=toccolours id=WSerie_Buddhism style="BORDER-RIGHT: #060 1px solid; BORDER-TOP: #060 1px solid; FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; BORDER-LEFT: #060 1px solid; BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center" cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    พุทธศาสนา




    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระสัมมาสัมพุทธเจ้า





    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ไตรสรณะ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์





    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล · ธรรม
    ศีลห้า · เบญจธรรม
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา




    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก




    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    บัญญัติ · ขันธ์ · ปรมัตถธรรม




    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>สังคมพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 95%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #8a9e49" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    หมวดหมู่พุทธศาสนา




    </TD></TR><TR><TH colSpan=2>สถานีย่อย</TH></TR></TBODY></TABLE>
    ภิกษุณี (บาลี: Bhikkuṇī ) (สันสกฤต: Bhikṣuṇī) (จีน: 比丘尼) (อังกฤษ: Bhikkhuni) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชหญิง" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับ ภิกษุ (นักบวชชาย) คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป
    ภิกษุณีไม่เหมือนกับแม่ชี เพราะแม่ชีเป็นเพียงอุบาสิกา(พุทธศาสนิกชนผู้หญิง) ซึ่งถือศีล 8 ข้อ อย่างชาวพุทธทั่วไปที่เคร่งครัด ปัจจุบันในฝ่ายคณะสงฆ์เถรวาท นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการบวชเป็นแม่ชีที่โกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือศีล 8 เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยจะให้ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) แทน<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
    ปัจจุบัน ภิกษุณีในสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท จากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ทั้งภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์) ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อมานานแล้ว) คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีมาจนปัจจุบัน
    ในปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่ามีภิกษุณีเถรวาทในประเทศไทย แต่ยังมีพบอยู่ในจีน (มหายาน) และศรีลังกา (เถรวาท ซึ่งรับการบวชกลับมาจากภิกษุณีมหายานของจีน)
    ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP> แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท

    ประวัติการเกิดภิกษุณีสงฆ์

    [​IMG]
    ภาพวาดพระพุทธประวัติ ตอนพระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี


    ในสมัยพุทธกาลนั้น แรกเริ่มเดิมที สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืน<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>
    ต่อมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทะเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรมแปดประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ
    [​IMG]
    รูปหล่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี วัดเทพธิดาราม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


    ดังนั้นภิกษุณีที่ทรงอุปสมบทให้องค์แรกได้แก่ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ซึ่งบวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในโลกด้วยการรับ ครุธรรมแปดประการ (ท่านเป็นรูปเดียวที่บวชด้วยวิธีเช่นนี้)
    ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการรับผู้ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี และวางวินัยของภิกษุณีไว้มากมาย เพื่อกลั่นกรองผู้ที่ประสงค์จะบวชและมีศรัทธาจริง ๆ <SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP>เช่น ภิกษุณี เมื่อบวชแล้วต้องถือศีลถึง 311 ข้อ มากกว่าพระภิกษุ<SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP> ซึ่งถือศีลเพียง 227 ข้อ (วินัยของภิกษุณีที่มีมากกว่าพระภิกษุ เพราะผู้หญิงมีข้อปลีกย่อยในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ชาย เช่น ต้องมีผ้ารัดถัน (ผ้ารัดอก) ซึ่งผู้ชายไม่จำเป็นต้องมี เป็นต้น) <SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP>

    การบวชเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาท
    -การบวชเป็นสิกขมานา

    ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น ต้องบวชเป็น "สิกขมานา" เสียก่อน สิกขมานาเป็นสามเณรีที่ต้องถือศีล 6 ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 2 ปี หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่
    การบวชเป็นสิกขมานา จะบวชได้ต้องอายุครบ 18 ปี เพราะว่าคนที่จะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้นต้องอายุครบ 20 แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว พระพุทธองค์อนุญาตให้บวชเป็นสิกขมานาได้ตั้งแต่อายุ 12 เพราะว่าคนที่แต่งงานจะได้เรียนรู้ความยากลำบากของชีวิต รู้จักสุข ทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ก็จะรู้จักสมุทัย นิโรธ มรรค ได้ จนนำไปสู่การบรรลุในที่สุด

    -การบวชเป็นภิกษุณี

    เมื่อผู้ที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี ได้เป็นสิกขมานา ถือศีล 6 ข้อครบ 2 ปีแล้ว แล้วจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยต้องอุปสมบทในฝ่ายของ ภิกษุณีสงฆ์ ก่อน แล้วไปเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะเป็นภิกษุณีได้โดยสมบูรณ์ (บวชในสงฆ์สองฝ่าย)

    การสูญวงศ์ของภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

    [​IMG]
    ปัจจุบันผู้หญิงผู้ศรัทธาออกบวชในฝ่ายเถรวาทนิยมโกนหัวนุ่งขาวห่มขาวถือศีลอุโบสถบวชเป็น แม่ชี แทน


    ก่อนที่ภิกษุณีสงฆ์จะหมดไปจากอินเดียนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตออกไป 9 สาย 1 ในนั้นคือ พระมหินทรเถระ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ในสายพระมหินทรเถระนี้ไปศรีลังกา การเผยแพร่ศาสนาพุทธประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา ทรงอยากผนวช จึงนิมนต์ พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศก มาเป็นปวัตตินีให้ ("ปวัตตินี" คือพระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง)
    จากศรีลังกา ภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ อีกมาก จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีลและข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้ จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสามเถรวาทในปัจจุบัน

    การพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน

    ในปัจจุบัน มีความเชื่อว่ายังมีภิกษุณีสายเถรวาทเหลืออยู่ และอ้างหลักฐานยืนยันว่าภิกษุณีทางสายมหายาน วัชรยานนั้นสืบสายไปจากภิกษุณีสายเถรวาท โดยถือกันว่าหากภิกษุณีสายเถรวาทสืบสายไปเป็นมหายานได้ (ภิกษุณีจากลังกาไปบวชให้คนจีน) ภิกษุณีมหายานก็สืบสายมาเป็นเถรวาทได้เช่นกัน
    [​IMG]
    ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บวชเป็นภิกษุณี(เถรวาท)หลายรูป โดยบวชมาจากคณะภิกษุณีสงฆ์ศรีลังกา มีสำนักภิกษุณีป็นเอกเทศคือ วัตรทรงธรรมกัลยาณี


    ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่ มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
    ปัจจุบันศรีลังกาพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ จนมีหลายร้อยรูป ที่เมืองไทยเองก็มีคนบวชเป็นภิกษุณีหลายรูปแล้วเช่นกัน แต่คณะสงฆ์ไทยไม่ยอมรับเป็นภิกษุณีสงฆ์เพราะสาเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
    บริขารอังสะมิใช่บริขารของภิกษุ สามเณรแต่เดิม เป็นของภิก๋ณี สามเณรี และสิกขมานาเนื่องจากเป็นสตรีจึงต้องมีเสื้อหรืออังสะใส่เพื่อปกปิดถันเอาไว้ และยังมีผ้าพันถัน รวมถึงผ้านิสีทนะผ้า3ชาย(ที่มักอธิบายกันว่าเป็นผ้าปูนั่งหรือสันถัต)นุ่งเช่นเดียวกับผ้าเตี่ยว(เหมือนกางเกงใน)เมื่อมีประจำเดือนจะใช้ห่อผ้าซับเลือด (ดุจผ้าอนามัยสมัยนี้)

    ดูเพิ่ม

    อ้างอิง

    1. เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. เอกสาร : เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา . อุตรดิตถ์ : วัดคุ้งตะเภา , 2549.<LI id=cite_note-1>บทความ ภิกษุณีมีไม่ได้ - วาทะกรรมที่ต้องตรวจสอบ จากเว็บไซด์ วัตรทรงธรรมกัลยาณี <LI id=cite_note-2>ความหมายและความเป็นมาของภิกษุณีในเว็บไซด์ 84000.org <LI id=cite_note-3>เหตุผลของพระพุทธองค์ในการเข้มงวดวินัยในภิกษุณี.ลานธรรมเสวนา <LI id=cite_note-4>พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุณีวิภังค์ ต้นวินัยบัญญัติ ๓๑๑ ข้อ ของภิกษุณี
    2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ สิกขาบทวิภังค์ ปาจิตติยวรรค ที่ ๙ ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
    แหล่งข้อมูลอื่น

    <TABLE class=navbox cellSpacing=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2px; PADDING-LEFT: 2px; PADDING-BOTTOM: 2px; PADDING-TOP: 2px"><TABLE class="nowraplinks collapsible autocollapse" id=collapsibleTable0 style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; WIDTH: 100%" cellSpacing=0><TBODY><TR><TH class=navbox-title style="BACKGROUND: #ffd700" colSpan=2>

    </TH></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD>

    </TD></TR><TR><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px" colSpan=2>ภิกษุ · ภิกษุณี · อุบาสก · อุบาสิกา






    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 451/1000000Post-expand include size: 14437/2048000 bytesTemplate argument size: 1242/2048000 bytesExpensive parser function count: 1/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:34082-0!1!0!!th!2 and timestamp 20090119104121 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/ภิกษุณี".

    _____________________________________

    ปัจจุบันพระผู้ใหญ่บางรูปชอบบิดเบือนว่า พุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2009
  2. ลูกศิษย์พระครูโอภาสฯ

    ลูกศิษย์พระครูโอภาสฯ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    อยากทราบความเห็ของทุกท่านเกี่ยวกับข้อความข้างล่างนี้
    ส่วนตัวผมจะ ภิกษุ หรือ ภิกษุณี ถ้าปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ ผมก็ยอมรับได้หมดล่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2009
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ส่วนตัวผมนะครับ..ลึกๆแล้ว..ไม่ได้แย้งครูบาอาจารย์นะ....ผมกราบได้หมดนะครับ...และก็ยอมรับหมด....ถ้าปฏิบัติดี...ปฏิบัติชอบ...ตามพระพุทธเจ้า...และพร้อมที่จะสนับสนุนนะครับ....
     
  4. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    แม้เป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็เจริญในธรรมได้ ตามแนวทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในเมื่อทุกสิ่งที่มีเกิดก็ย่อมมีดับ แม้พุทธศาสนาก็คงเช่นกัน ต้องทำใจครับ เพราะยังไงก็ยังมีสงฆ์ดำรงค์อยู่ทำหน้าที่ต่อไป
    [​IMG] [​IMG] *ความหมาย ความเป็นมา ภิกษุณี คือ หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา
    รวมเอตทัคคะ หมวด ภิกษุณี
     

แชร์หน้านี้

Loading...