วาง 4 ต้อง รับมือ “ภัยพิบัติซ้ำซ้อน”

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 2 สิงหาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    b8ade0b887-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a1e0b8b7e0b8ad-e0b8a0e0b8b1e0b8a2e0b89ee0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895.png

    สสส. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำฯ สทนช. และภาคี ถอดบทเรียนรับมือ “ภัยพิบัติซ้ำซ้อน” โควิด-19 วางแผนเตรียมพร้อมรับมือ “4 ต้อง” ต้องร่วมมือ-ต้องมีอุปกรณ์-ต้องวิเคราะห์จุดอพยพ-ต้องมีระบบสื่อสารเชื่อมโยง หลังพบข้อมูลเตือนปลายปี 64 ภาคใต้ฝั่งตะวันตกเสี่ยงน้ำท่วมหนัก

    รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในการเสวนา “ภัยพิบัติซ้ำซ้อน (Compound Hazard) : ความเสี่ยงภัยใกล้ตัว” สะท้อนปัญหาภัยพิบัติซ้ำซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และภาคีเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ จังหวัดน่าน อุบลราชธานี พังงา และตรัง ว่า ขณะนี้เกิดภัยพิบัติซ้ำซ้อนทั่วโลกในหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย อังกฤษ เป็นต้น และยังเผชิญกับการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอยู่ ดังนั้น ไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับภัยพิบัติจากประเทศที่รับมือได้ดี เพื่อนำมาถอดบทเรียนใช้กับสถานการณ์โควิด-19 และภัยพิบัติต่าง ๆ ในไทยที่เผชิญอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตซ้ำซ้อน หากเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ที่มีการระบาดโควิด-19

    “ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านคาดการณ์ว่า ในอีก 29 ปี (ค.ศ. 2050) ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ไทยเกิดอุทกภัยแทนภัยแล้ง แต่ยังพอมีความหวัง ถ้าไทยและทุกประเทศทำตามนโยบายลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากถ่านหิน และหันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง เชื่อว่าการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจะสามารถรับมือความเสี่ยงเกิดภัยพิบัติได้”

    นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ภาครัฐมีแผนบริหารจัดการทั้งภาวะเสี่ยงน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยบูรณาการทุกหน่วยงานด้านน้ำกว่า 40 หน่วยงาน พร้อมตั้งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เพื่อช่วยกันบริหารจัดการน้ำ โดยมี สทนช. เป็นแกนกลางบริหารงาน ร่วมวิเคราะห์ปัญหาและหาพื้นที่เสี่ยงให้รวดเร็วที่สุด สำหรับหน้าฝนปี 2564 มีการติดตามสถานการณ์สภาพอากาศ และหาข้อมูลแหล่งน้ำแบบเรียลไทม์ เพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนในแต่ละวัน และนำไปสรุปรายงานประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมและภัยแล้งเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน และราย 6 เดือน จากการติดตามปริมาณน้ำต้นทุนจากทั่วประเทศ คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ทั้งที่ปริมาณฝนปี 2564 มากกว่าปี 2563 ส่วนหนึ่งมาจากการทำเกษตรที่เพิ่มมากขึ้นจากแรงงานที่กลับคืนถิ่นในสถานการณ์โควิด-19 และต้องเฝ้าระวังปริมาณฝนในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน นี้ ที่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และตะวันตก จากนั้นจะไล่ลงมาบริเวณภาคกลางในเดือน กันยายน-ตุลาคม และเริ่มลงสู่ทางภาคใต้มากขึ้นในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งในปีนี้ก็ต้องจับตาเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยทางภาคใต้เป็นพิเศษ

    “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ออก 10 มาตรการรับมือฤดูฝน เพื่อเป็นกรอบ หรือ แนวทางให้ทุกหน่วยงานนำไปใช้แก้ปัญหาเรื่องน้ำ และในพื้นที่ที่เกิดการระบาดโควิด-19 จะเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดอพยพ จะเสี่ยงทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างได้ และในส่วนผู้ติดเชื้อที่กลับภูมิเลานำก็จะต้องเฝ้าระวังพื้นที่ในระดับท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตจะขยายการเชื่อมโยงการแก้ปัญหาน้ำท่วมไปสู่ระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ” นายสำเริง กล่าว

    นายไมตรี จงไกรจักร ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ผู้ดำเนินรายการเสวนาช่วง “รับมือความเสี่ยงภัยด้วยกลไกบูรณาการระดับพื้นที่” กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ ได้สรุปแผนการจัดการภัยพิบัติซ้ำซ้อน โดยนำแผนประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติช่วงน้ำท่วมมาปรับใช้จัดการกับสถานการณ์โควิด-19 มี “4 ต้อง” ที่ควรเตรียมการก่อนเกิดภัยพิบัติซ้ำซ้อน ได้แก่

    1.ต้องร่วมมือกับหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงจัดทำข้อมูลแผนที่ชุมชน ฐานกลุ่มเปราะบาง คนป่วยติดเตียง ตามบริบทของพื้นที่ ข้อมูลการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดภัย เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมทั้งภัยธรรมชาติและโควิด-19 เป็นการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ และลดความสูญเสีย

    2.ต้องเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ให้มากขึ้นกว่าเดิม

    3.ต้องวิเคราะห์จุดอพยพ จุดปลอดภัยในมิติที่ครอบคลุมผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสคนติดเชื้อ กลุ่มเปราะบาง ที่จำเป็นต้องย้ายที่อยู่

    4.ต้องเกิดระบบการสื่อสารเชื่อมโยงระหว่าง ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขอฝากถึงภาครัฐ นโยบายการจัดการน้ำท่วมที่เกิดประสิทธิภาพสูงก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากชุมชน ที่สำคัญการได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำ และมีการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ชาวบ้านเตรียมรับมือกับอุทกภัยได้ดียิ่งขึ้น


    ขอบคุณที่มา

    https://www.thaich8.com/news_detail/99473
     

แชร์หน้านี้

Loading...