"ศูนย์ศึกษาในพระราชดำริ"ประตูสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 ธันวาคม 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    "ศูนย์ศึกษาในพระราชดำริ" ประตูสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

    โดย ปิติพงษ์ เมืองสง



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ตลอดรัชกาลแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร

    ทรงตระหนักว่ามีพื้นที่จำนวนนับล้านไร่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมีปัญหาเรื่องของดิน ส่งผลให้ราษฎรเพาะปลูกพืชได้ผลผลิตต่ำ ทำให้มีฐานะยากจน จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้นในพื้นที่ที่ดินมีปัญหา เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกันก็ทำการพัฒนาพื้นที่บริเวณนั้นให้เป็นพื้นที่เป็นตัวอย่าง

    ไม่เพียงแค่การพัฒนาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยังครอบคลุมไปถึงการจัดระบบเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม การพัฒนาแหล่งน้ำ การฟื้นฟูสภาพป่าและการส่งเสริมศิลปาชีพและหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริมของชาวบ้านที่พื้นที่

    นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวถึงการก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาแห่งแรกในพระราชดำริ ซึ่งก็คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ว่า

    เดิมทีพื้นที่ของเขาหินซ้อนเป็นป่าดงดิบ มีเขาหินธรรมชาติลูกเล็กลูกใหญ่กระจัดกระจายไปทั่ว ถือเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย แต่หลังจากมีการสร้างถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 304 พนมสารคาม-กบินทร์บุรี ได้มีการระเบิดหินไปทำถนน และเปิดทางนำผู้คนเข้าสู่พื้นที่โดยสะดวก ป่าดงดิบเขาหินซ้อนจึงถูกโค่นทำลายลงด้วยน้ำมือมนุษย์ ต่อมาก็ถูกทอดทิ้งให้เป็นแผ่นดินเสื่อมโทรมรกร้าง

    ในปี พ.ศ.2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เขาหินซ้อน ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ดินที่มีผู้น้อมเกล้าฯถวาย ทอดพระเนตรเห็นความเสื่อมโทรมของสภาพป่าไม้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน" ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ตัวอย่างรวมการพัฒนาด้านเกษตรกรรมที่สมบูรณ์แบบ เช่น การพัฒนาชุมชน ฟื้นฟูป่าไม้ พัฒนาแหล่งน้ำ การเลี้ยงปศุสัตว์ การประมง งานส่งเสริมการเกษตร การชลประทาน ส่งเสริมศิลปาชีพหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รอบนอกศูนย์ บริเวณลุ่มน้ำโจนให้เจริญขึ้น ผลคือทำให้ประชาชนสามารถมีอาชีพและเลี้ยงดูตัวเองได้

    อีกตัวอย่างของศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่นายอำพลเล่าให้ฟังว่า ด้วยเพราะพระมหากรุณาธิคุณทำให้ที่ดินที่เคยถูกทิ้งร้างเพราะไม่สามารถให้พืชผลได้เลยกลับกลายเป็นแหล่งที่ทำกินให้กับชาวบ้าน คือที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

    "จังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำขังตลอดปีเรียกว่าพื้นที่ "ดินพรุ" ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงจะกว้างถึง 4000,000 ไร่ ดินพรุถือเป็นดินคุณภาพต่ำ แม้จะระบายน้ำออกเเล้วก็ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ เพราะมีสารประกอบไพไรท์ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยวเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช

    ด้วยเหตุนี้พื้นที่ดินจำนวนมากจึงถูกปล่อยรกร้างเปล่าประโยชน์ แต่หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯเข้าไปในพื้นที่เเล้วทรงทราบปัญหาที่เกิด จึงพระราชทานพระราชดำริให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2524 เพื่อศึกษาวิจัยและทดลองเพื่อแก้ปัญหาดิน พัฒนาพื้นที่ และหารูปแบบวิธีการที่เหมาะสมได้ผลดีในการประกอบอาชีพแล้ว ในภายหลังศูนย์วิจัยได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลและสาธิตเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม เผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ทำให้พื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาสที่เคยถูกทอดทิ้ง กลับมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น สามารถปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกพืชไร่ และราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    ปัจจุบัน ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ศูนย์ กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากสองศูนย์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมี "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ" อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ต้นแบบการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านประมงชายฝั่ง การอนุรักษ์ป่าชายเลนเกษตรแบบผสมผสาน การนำเลนจากนากุ้งมาใช้ประโยชน์

    "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ" อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ต้นแบบการพัฒนาพืชปลอดสารพิษ การปลูกพืชปลอดสารเคมี การปลูกพืชไร่สัตว์แบบง่ายๆ การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ให้ความรู้อาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ" อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร การพัฒนาป่าไม้ ปลูก 3 อย่าง ไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้เชื้อเพลิง การปลูกป่าในลักษณะต่างๆ ตามสภาพแวดล้อม การป้องกันไฟป่าแบบเปียก (Wet Free Break) การเลี้ยงโคนม การลูกหญ้าแฝก

    และ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ" อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ต้นแบบการพัฒนาป่าให้เกิดความสมดุล การปลูกป่าโดยราษฎรที่ทำกินอยู่ให้มีส่วนร่วมดูแลรักษาป่า เกษตรแบบผสมผสาน การขยายพันธุ์สัตว์ป่า การเกษตรแบบวนเกษตร การป้องกันไฟป่าแบบเปียก

    ล่าสุด กระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำเอาศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มากำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบท โดยทำแผนปฏิบัติการที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง" ประกอบด้วยกลยุทธ์ 5 ประการ คือ ยึดชุมชนและครอบครัว ยึดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ยึดการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย ยึดการส่งเสริมการตลาดชุมชนและยึดการจัดการเวทีชาวบ้านเป็นหลัก

    ก่อเกิดเป็นโครงการ "ภูมิปัญญาแผ่นดิน ขยายผลสู่ปวงชนชาวไทย" โดยความร่วมมือของสำนักงานพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ก.ป.ร.) มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งเปิดโครงการไปเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

    นายพีรพล ไตรทศาวิทย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาทำให้สังคมไทยอ่อนแอ สาเหตุเพราะไม่ได้สร้าง "กระบวนการเรียนรู้" ให้กับคนส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ ขณะเดียวกันกับที่ผู้ด้อยโอกาสมักถูกเอารัดเอาเปรียบ การพัฒนาเศรษฐกิจมีเป้าหมายที่การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติ ซึ่งรายได้ของประชากรจะต้องสูงขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผลเสียที่ตามมาก็คือ ทรัพยากรเสื่อมโทรม ทุนด้านดิน-น้ำ-ป่าไม้ ภูมิปัญญาก็ไม่ได้นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ สุดท้ายส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเกษตรกรพึ่งตัวเองน้อยลง

    ปลัดกระทรวงมหาดไทยบอกอีกว่า การจัดทำโครงการ "ภูมิปัญญาแผ่นดิน ขยายผลสู่ปวงชนชาวไทย" จึงมีการกำหนดให้ ทุกจังหวัดต้องศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาของจังหวัดเบื้องต้น แล้วส่งทีมนำร่อง (8-10 คน) ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ที่มีความใกล้เคียงและสอดคล้องกับปัญหาของจังหวัด จากนั้นกำหนดทีมงานที่จะลงมือปฏิบัติงาน นำโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดนำแนวคิดที่ได้มาจัดทำโครงการนำร่องเป็นจุดตัวอย่าง เพื่อต่อไปประชาชนที่อยู่ในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงจะได้ศึกษาแล้วนำไปขยายผลปรับใช้ได้ในท้องถิ่น

    เพราะเมื่อทุกภาคส่วนมีความตั้งมั่นที่จะขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ผลที่ได้ก็คือ เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรจำนวนมากของประเทศสามารถพัฒนาอาชีพของตนเองให้มีศักยภาพ สามารถเพิ่มผลผลิตผลิตผลของตน ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


    ---------
    [​IMG]

    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01181251&sectionid=0131&day=2008-12-18
     

แชร์หน้านี้

Loading...