สกุลพระเครื่องเมืองสุโขทัย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 17 สิงหาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=778 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#ffffff><TD>
    สกุลพระเครื่องเมืองสุโขทัย



    <!--lead-->
    [​IMG] เมืองสุโขทัย เป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของไทย ซึ่งมีศิลปะที่ช่างศิลป์ในสมัยนั้นได้รังสรรค์ไว้อย่างงดงาม ทั้งงานแกะสลัก งานปูนปั้น ฯลฯ จนถึงงานศิลปะทางพุทธศาสนา พระบูชา ศิลปะสุโขทัย ถูกยอมรับว่าเป็นพระบูชาที่มีความงดงามอ่อนช้อยมากที่สุดกว่าสมัยใดๆ โบราณสถานของสุโขทัยที่มีความงดงามดังปรากฏในปัจจุบันนี้มีมากมาย เช่น วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดที่พบพระเครื่องมากมาย วัดสระศรี วัดพระเชตุพน ที่เป็นต้นกำเนิด พระร่วงนั่งหน้าโหนก วัดตะพังทอง วัดมุมลังกา วัดถ้ำหีบ ที่ปรากฏพระพิมพ์ลีลาวัดถ้ำหีบ ที่สวยงามมาก เป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ เป็นที่นิยมในวงการพระอย่างมาก

    นอกจากเมืองสุโขทัยในสมัยนั้นแล้ว ยังมี เมืองศรีสัชนาลัย ที่มีความสำคัญควบคู่กันไปด้วย (ชาวบ้านเรียกเมืองเชลียง) ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกของสุโขทัยที่กล่าวถึงชื่อเมืองทั้งสองควบคู่กันไปว่า "ศรีสัชนาลัย สุโขทัย"
    เมื่อครั้งในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทย ถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น โบราณสถานที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันที่งดงาม และปรากฏกรุพระเครื่องเด่นดัง เช่น

    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์) หรือ ตามโบราณเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เมืองเชลียง ต้นกำเนิดของพระร่วงประทานพร หลังรางปืน และพระร่วงทรงเกาะ วัดเขาพนมเพลิง วัดนี้มีพระเครื่องเนื้อชินเงินบรรจุอยู่มากมาย หลายร้อยพิมพ์ วัดช้างล้อม เป็นที่พบ พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เตาทุเรียง เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่ที่สุดของสุโขทัย มีการขุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า "พระร่วง กรุเตาทุเรียง" และพิมพ์อื่นๆ อีกมาก

    เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยนั้น ปรากฏพระเครื่องมากมายนับพันแบบ จึงเป็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างมาก

    ในที่นี้ จะขอเสนอพระที่น่าสนใจให้ได้ทราบกัน ดังนี้ พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง แตกกรุมาประมาณ ๕๐ ปีแล้ว จากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บริเวณหน้าพระปรางค์ใหญ่

    คาดว่าน่าจะมีจำนวนพระไม่เกิน ๒๐๐ องค์ และชำรุดไปกว่าครึ่ง มีพุทธลักษณะเป็นพระยืนอยู่ซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นลักษณะเด่น คือ มีร่องกดลึกลงไปตามแนวยาวขององค์พระ

    นักนิยมพระเครื่อง เรียกกันว่า "หลังรางปืน" ลักษณะคล้ายรอยกาบหมากเป็นเส้นทิวๆ จัดได้ว่าเป็นพระที่อยู่อันดับหนึ่งในชุดพระยอดขุนพล มีราคาเช่าหาสูงมากๆ เทียบได้กับรถยุโรปดีๆ สักหนึ่งคัน (ราคาเช่าหาแลกเปลี่ยน)
    ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น ถือว่าครบเครื่อง คือ ทางมหาอำนาจ แคล้วคลาด โภคทรัพย์ และคงกระพันชาตรี พระร่วงทรงเกราะ เป็นพระที่พบจากวัดเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน แต่พบจากทางด้านทิศใต้ขององค์พระปรางค์
    เข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างในยุคหลังกว่าพระร่วงหลังรางปืน แต่มีผู้นำไปใช้อาราธนาติดตัวและมีพุทธคุณไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระร่วงหลังรางปืนเลย เป็นที่นิยมมากในสมัยนักเลงพระรุ่นเก่า

    พระร่วงทรงเกราะที่พบส่วนใหญ่เป็นเนื้อชินเขียว ส่วนที่เป็นเนื้อชินเงิน พบบ้างเล็กน้อย พุทธลักษณะเป็นพระประทับยืน สวมหมวกชีโบตามแบบขอม ยกพระหัตถ์ขึ้นสองข้าง มีอักขระขอมอยู่ตรงหน้าอกพระ ชาวบ้านบางคนเรียกว่า "พระร่วงมัมมี่" เพราะมีลักษณะคล้ายมัมมี่ของชาวอียิปต์

    พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เป็นพระเนื้อชินเงินผิวดำ พบครั้งแรกจากกรุวัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย และต่อมาพบที่กรุแก่งสารจิต แต่เป็นแบบผิวปรอท มีฝ้าขาวคลุมอยู่ประปราย

    พุทธลักษณะเป็นพระนั่งมารวิชัย ศิลปะอู่ทอง ด้านหลังซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ทำเป็นหลังร่องคล้าย ลิ่ม จึงเป็นต้นเหตุที่เรียกกันว่า "พระร่วงนั่งหลังลิ่ม" นั่นเอง พุทธคุณโด่งดังมากทางแคล้วคลาด และคงกระพัน เป็นพระที่หายาก มีราคาแพง

    พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นพระนั่งมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ เนื้อดินค่อนข้างหยาบ พบที่กรุวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (วัดตาเถรขึงหนัง) เป็นพระที่กรมศิลปากรเป็นผู้เปิดกรุ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ โดยจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาไม่กี่สิบบาท พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดภัยพิบัติ ทำให้ความงามและพุทธคุณของพระกรุนี้ผลักดันให้ราคาเช่าหาสูงมากๆ กว่าตอนเปิดกรุเป็นหลายร้อยเท่า

    พระลีลากรุวัดถํ้าหีบ เป็นพระยืนปางลีลา ที่มีความงดงามที่สุด เท่าที่ปรากฏมาเป็นพระศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ แบบเดียวกับพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ที่พบมีด้วยกัน ๒ พิมพ์ใหญ่ๆ คือ พิมพ์ข้างเม็ด กับ พิมพ์ข้างเรียบ พบทั้งเนื้อดินและเนื้อชินเงิน

    นอกจากนี้ ยังมีการขุดพบพระพิมพ์นี้จากกรุวัดเจดีย์งาม และวัดเขาพระบาทน้อย อีกด้วย พุทธคุณเป็นที่โด่งดังมานานทางด้านโภคทรัพย์ และเมตตามหานิยม พระลีลากล้วยตาก เป็นพระลีลาที่นิยมคู่กันมากับพระลีลากรุวัดถํ้าหีบ แต่เป็นศิลปะสุโขทัยแบบนูนตํ่า มีประภามณฑล เป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อหยาบแน่น แกร่งมาก

    แตกกรุครั้งแรกที่กรุเตาทุเรียง ต่อมาก็พบอีกที่กรุพญาดำ เป็นพระที่พบน้อย หายาก แต่พุทธคุณสูงทางด้านเมตตามหานิยม และโภคทรัพย์ พระร่วงเปิดโลก กรุเตาทุเรียง เป็นพระปางเปิดโลก เนื้อดินค่อนข้างหยาบ และแกร่งมาก แบบเดียวกับพระลีลากล้วยตาก ขุดพบบริเวณเตาเผา ที่เรียกกันว่า เตาทุเรียง
    มีพบด้วยกันหลายสี แต่โดยมากมักเป็นสีเขียวอมเทา (สีมอย) และดำ พระพุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม ปัจจุบันเริ่มหายาก และมีราคาสูง พระศาสดา กรุเขาพนมเพลิง จัดได้ว่าเป็นพระอันดับหนึ่งของกรุนี้ เป็นพระที่มีความงดงามมาก และความนิยมเทียบเท่าของเมืองพิษณุโลกเลย พบน้อยมาก เป็นเนื้อชินเงินผิวปรอท เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว นั่งบนฐานบัว
    พระชินราชใบเสมา กรุเขาพนมเพลิง มีพุทธลักษณะแบบเดียวกับของเมืองพิษณุโลก แต่จะมีขนาดที่เล็กและตื้นกว่า เป็นพระแบบชินเงิน ผิวปรอทขาว มีเอกลักษณ์เด่น คือ บริเวณแก้มขวาขององค์พระจะมีปื้นเนื้อเกินทุกองค์ น่าจะมีอายุการสร้างที่อ่อนกว่าของเมืองพิษณุโลก แต่พุทธคุณดีทางเมตตามหานิยม

    อย่างไรก็ตาม พระเมืองสุโขทัย และ เมืองศรีสัชนาลัย ยังมีอีกมากมาย ยากที่จะนำเสนอได้หมด แต่ที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ก็ใช่ว่าไม่นิยม หรือด้อยคุณค่า เนื่องด้วยเนื้อที่มีจำกัด จึงจะขอนำเสนอในโอกาสต่อไป ซึ่งพระเมืองนี้ยังมีที่น่าศึกษาอีกมากมาย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=left><!-- << ย้อนหลัง --></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD>[​IMG]</TD><TD background=/imgs/bg_right.gif rowSpan=2>[​IMG]
    <!-- RIGHT ZONE --><!-- RIGHT ZONE --></TD><TD rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD width=19 background=/imgs/right_bg.gif rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>

    <!-- FOOTER --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/05/30/01.php</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=778 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#ffffff><TD>
    สกุลพระเครื่องเมืองสุโขทัย ๒



    [​IMG]

    เมืองสุโขทัย และ เมืองศรีสัชนาลัย ถือได้ว่า เป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา สูงสุดเมืองหนึ่ง จึงมีการสร้างพระเครื่อง พระบูชา มากมาย ดังในตอนที่แล้ว ที่กล่าวถึง พระเครื่อง ของเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย ที่สำคัญ และนิยมมาก ในวงการ ซึ่งยังไม่หมดเพียงแค่นั้น เพราะยังมีพระเครื่องอีกหลายชนิด ที่มีศิลปะสูง และมากด้วยคุณค่า ที่น่าศึกษา จึงขอนำมาเสนอ ต่อในฉบับนี้

    พระลีลา กรุวัดมหาธาตุ นอกจากสุโขทัยจะมีพระลีลาที่งดงามอย่าง พระลีลาวัดถ้ำหีบ แล้ว กรุวัดมหาธาตุ ยังมีพระลีลาที่งดงามและมีความคล้ายคลึงกับพระลีลาวัดถ้ำหีบมาก แต่มีขนาดที่เล็กกว่าพระลีลา วัดถ้ำหีบ คือกว้างประมาณ ๑-๑.๕ ซม. สร้างด้วยเนื้อชินเงิน ผิวปรอท และผิวดำ ส่วนพระเนื้อดินพบเพียงเล็กน้อย พุทธคุณไม่ด้อยกว่า พระลีลาถ้ำหีบ คือ เมตตา โชคลาภ ให้ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้บูชา

    พระลีลาบัวสองชั้น ซุ้มหงอนไก่ กรุวัดเขาพนมเพลิง เป็นพระลีลาที่สวยงาม อีกพิมพ์หนึ่งของเมืองสุโขทัย ศิลปะตะกวนผสมกับศิลปะแบบสุโขทัย ประทับ ยืนบนฐานบัวสองชั้น มีซุ้มเรือนแก้วด้านข้างขององค์พระ เป็นเนื้อชินเงิน ผิวปรอทขาว

    พระอู่ทองหน้าตะกวน กรุวัดเขาพนมเพลิง เป็นพระที่เด่นมากอีกพิมพ์หนึ่ง ของกรุนี้ เป็นพระสุโขทัยหมวดตะกวนที่สวยมาก จนได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับหนึ่ง ของพระเครื่องที่มีศิลปะเชิงช่างหมวดตะกวนทั้งหมด พบเป็นพระชินเงินผิวปรอท และนอกจากจะสร้างได้สวยงามมากแล้ว พระอู่ทองหน้าตะกวนยังเปี่ยมล้นด้วยพระพุทธคุณ คือ สุดยอดทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเลยทีเดียว

    [​IMG]

    พระร่วงนั่งหลังตัน กรุวัดเขาพนมเพลิง จังหวัดสุโขทัยมี พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม ที่กรุวัดเขาพนมเพลิงยังพบ พระร่วงนั่งที่มีความคล้ายคลึงกับพระร่วง นั่งหลังลิ่มมาก แต่มีขนาดที่ย่อม กว่าเล็กน้อย และหลังเรียบตัน วงการพระจึงเรียกว่า พระร่วงนั่ง หลังตัน เข้าใจว่าเป็นพระยุคหลัง พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เพราะได้นำพิมพ์พระร่วง นั่งหลังลิ่มมาเป็นแบบ ที่พบเป็นพระชินเงินผิวปรอท ส่วนพุทธคุณนั้นเหมือนกับ พระร่วงนั่งหลังลิ่มทุกประการ คือแคล้วคลาดภยันตราย และคงกระพันชาตรี

    พระท่ามะปราง สุโขทัย เป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบเดียวกับพระท่ามะปรางของ จ.กำแพงเพชร และ พระท่ามะปราง ของจ.พิษณุโลก แต่พระท่ามะปรางสุโขทัยจะมีขนาดเล็ก กว่าของทั้งสองจังหวัด พระท่ามะปรางสุโขทัยเป็นพระศิลปะสุโขทัยตอนปลาย พบครั้งแรกที่วัดมหาธาตุ เป็นเนื้อชินเงินผิวดำ มีรอยปริระเบิดเป็นหย่อม ๆ ต่อมาพบที่กรุเจดีย์สูง และกรุวัดเขาพนมเพลิง อีกด้วย แต่เป็นแบบเนื้อชินเงินผิวปรอทขาว

    นอกจากนี้ พระท่ามะปรางสุโขทัย ยังพบเป็นเนื้อดินหยาบๆ อีกด้วย ค่านิยมของ พระท่ามะปรางสุโขทัย จะน้อยกว่า จังหวัดอื่น แต่ในด้านพุทธคุณนั้นมิได้ยิ่งหย่อน กว่าพระท่ามะปรางของเมืองอื่นเลย คือ ดีทางแคล้วคลาดและโภคทรัพย์

    พระนางแขนอ่อน สุโขทัย เป็นพระที่มีการค้นพบควบคู่กับพระท่ามะปรางสุโขทัย คือทั้งกรุวัดมหาธาตุ วัดเจดีย์สูง วัดเขาพนมเพลิง พบเป็นแบบชินเงินผิวดำสนิมตีนกา และผิวปรอท ส่วนเนื้อดินเป็นแบบเนื้อหยาบ พุทธคุณเหมือนกันทุกกรุ คือ แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

    [​IMG]

    พระเชตุพน สุโขทัย มีต้นกำเนิดที่วัดเชตุพน จึงใช้ชื่อวัดเป็นชื่อพิมพ์พระ ต่อมาพระเชตุพนแตกออกมาอีกหลายกรุ ซึ่งต่างก็เรียกเหมือนกัน

    พระเชตุพนเป็นพระศิลปะสุโขทัย หมวดตะกวนผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยบริสุทธ์ ที่พบเป็นพระหลายพิมพ์ แต่แบ่งเป็น ๒ พิมพ์หลัก คือ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งมีขนาดองค์จริงสูงประมาณ ๖ ซม. กว้างประมาณ ๓ ซม. มีพุทธลักษณะเด่น คือประทับนั่งบนฐานบัว มีทั้งแบบ ๒ ชั้น และชั้นเดียว ส่วนอีกแบบเป็นแบบพิมพ์เล็ก มักเรียกกันอีกแบบว่า พระร่วงนั่งหน้าโหนก สุโขทัย ขนาดองค์จริงเล็กมาก ประมาณ ๑.๕ ซม. เท่านั้น พระเชตุพนมีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน พุทธคุณดีทางแคล้วคลาดคงกระพัน

    พระหลวงพ่อโต วัดป่ามะม่วง เป็นพระสกุลช่างสุโขทัยแบบตะกวนอีกกรุหนึ่ง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานเขียง ในซุ้มเรือนแก้ว ๒ เส้นซ้อนกัน พบเป็นเนื้อดินหลังอูม พบจากกรุวัดป่ามะม่วงและกรุวัดสระศรี ซึ่งวัดป่ามะม่วงนี้ เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงใช้เป็น ที่จัดแสดงธรรม และว่าราชการงานเมืองอีกด้วย พุทธคุณของพระหลวงพ่อโตวัดป่ามะม่วง นี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยก่อน เพราะมีพุทธคุณสุดยอดทางด้านคงกระพันชาตรี ไม่แพ้พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง ของจ.พระนครศรีอยุธยา เลยทีเดียว จนมีคำกล่าว ในสมัยโบราณว่า เป็นนักเลงพระต้องมี หลวงพ่อโตวัดป่ามะม่วง

    พระแม่ย่า กรุวัดเขาแม่ย่า เป็นพระเนื้อดินปางสมาธิมีเครื่องทรงและเกล้ามวยผม แบบเครื่องทรงของสตรีฝ่ายในของสุโขทัยสมัยยุคพ่อขุนรามคำแหง จึงเป็นที่มาของชื่อพระ เอกลัษณะของพระแม่ย่า คือ มีแม่พิมพ์ที่เกิดจากการแกะสลักจากไม้ ทำให้ปรากฏรอยเสี้ยนไม้ตามผิวขององค์พระ พุทธคุณดีทางเมตตามหานิยม

    [​IMG]

    พระร่วงยืน กรุทัพเข้า เป็นพระเนื้อผงขาวที่จัดได้ว่าเป็นพระเนื้อผง ที่เก่าแก่กว่าพระเนื้อผงชนิดอื่น ๆ ในไทย เป็นพระยืนปางประธานพระอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว แบบเดียวกับพระเนื้อดินของกรุเตาทุเรียง และกรุวัดมหาธาตุ แต่พบเพียงเนื้อผงขาวอย่างเดียว ไม่ปรากฏเนื้ออื่น เป็นพระที่หายากมาก พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม และโภคทรัพย์

    พระเมืองสุโขทัย และ ศรีสัชนาลัย ที่กล่าวมาทั้ง ๒ ตอนก็คงพอที่จะครอบคลุมพระของ เมืองทั้งสองที่วงการพระเครื่องให้ความนิยมมากพอควรเท่านั้น แต่ยังมีพระอีกหลายแบบ ที่พบไม่มาก มีความหายาก และน่าสนใจอีกหลายแบบ เมื่อมีโอกาสอันดีจะรวบรวมนำเสนอในภายหน้าต่อไป
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=left><!-- << ย้อนหลัง --></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- CENTER ZONE -->

    </TD><TD>[​IMG]</TD><TD background=/imgs/bg_right.gif rowSpan=2>[​IMG]
    <!-- RIGHT ZONE --><!-- RIGHT ZONE -->
    </TD><TD rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD width=19 background=/imgs/right_bg.gif rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>

    <!-- FOOTER --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/06/27/03.php
     
  3. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    บทความดี มีเนื้อหาสาระที่หายาก นำมาลงอีกนะครับ
     
  4. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ขอบคุณมากๆเลยครับ สำหรับข้อมูลดีๆครับ
     
  5. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ข้อความดีน่าศึกษาครับ
     
  6. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  7. BlueBlur

    BlueBlur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,664
    ค่าพลัง:
    +1,570
    ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ นำมาเสนออีกนะครับ
     
  8. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
    *-* ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลความรู้ดีๆที่นำเสนอเป็นวิทยาทานครับ *-* thaiput007@hotmail.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...