เรื่องเด่น สรุปเทคโนโลยีอวกาศที่สำคัญในปี 2019

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 3 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b884e0b982e0b899e0b982e0b8a5e0b8a2e0b8b5e0b8ade0b8a7e0b881e0b8b2e0b8a8e0b897e0b8b5e0b988e0b8aa.png

    ปี 2019 นับเป็นปีแห่งการส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์และการสำรวจอวกาศห้วงลึกเพื่อเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่การสำรวจอวกาศครั้งใหม่ในปี 2020 ทศวรรษแห่งการแข่งขันด้านเทคโนโลยีครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย และประเทศอื่น ๆ

    ยานอวกาศ New Horizons สำรวจวัตถุ 2014 MU69 หรือ Ultima Thule

    ยานอวกาศ New Horizons เดินทางไปออกจากโลกในปี 2006 เพื่อทำภารกิจศึกษาดาวพลูโตและวัตถุในแถบไคเปอร์ ยานได้ทำการถ่ายภาพและทำการสำรวจวัตถุ 2014 MU69 หรือ Ultima Thule ในปี 2019 สำหรับวัตถุ Ultima Thule ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2014 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

    ยาน New Horizons ได้โคจรเข้าใกล้วัตถุ Ultima Thule ในระยะประมาณ 3,500 กิโลเมตร เพื่อทำการถ่ายภาพและตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ วัตถุ Ultima Thule มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18-36 กิโลเมตร มีวงโคจรห่างออกไปถัดจากดาวพลูโตและอยู่ห่างจากโลกประมาณ 43.4 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์นับเป็นการสำรวจวัตถุที่ไกลที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยส่งยานอวกาศไปสำรวจ

    นาซาขาดการติดต่อจากยาน Opportunity ที่ปฏิบัติหน้าที่บนดาวอังคาร

    ยาน Opportunity ขาดการติดต่อกับโลกและสิ้นสุดภารกิจอันยาวนานบนดาวอังคารในปี 2019 ยานอวกาศลำนี้มีลักษณะเป็นรถหุ่นยนต์สำรวจถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมยานฝาแฝดอีกลำชื่อว่ายาน Spirit ภารกิจของยาน Opportunity เริ่มต้นด้วยการเดินทางออกจากโลก ในวันที่ 7 กรกฏาคม 2003 ก่อนลงจอดบนดาวอังคารในวันที่ 25 มกราคม 2004 ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปี ที่ยานทำภารกิจบนดาวอังคารเป็นระยะทางกว่า 45.16 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสถิติระยะทางที่ยานสำรวจอวกาศเดินทางได้ไกลมากที่สุด ยาน Opportunity ได้ทำการสำรวจบริเวณแอ่ง Victoria แอ่ง Endeavour บนดาวอังคารสามารถถ่ายภาพเหตุการณ์พายุหมุนขนาดเล็กบนดาวอังคาร ก่อนทำภารกิจสุดท้ายพยายามเอาตัวรอดจากพายุทรายขนาดใหญ่บนดาวอังคารและหมดพลังงานขาดการติดต่อกับนาซาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2019

    นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพหลุมดำกลางกาแล็กซี M87

    หลุมดำเทหวัตถุลึกลับในอวกาศที่ได้รับการอธิบายไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถูกถ่ายภาพไว้ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยกล้องวิทยุโทรทรรศน์ความถี่สูงในโครงการ Event Horizon Telescope หรือ EHT การถ่ายภาพหลุมดำครั้งประวัติศาสตร์นี้ใช้วิธีรวมข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ 8 แห่งทั่วโลกด้วยเทคนิคการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Interferometer : VLBI) จนได้ภาพถ่ายหลุมดำมวลยวดยิ่งบริเวณแกนกลางของกาแลกซี Messier 87 หรือ M87 มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 6,500 ล้านเท่า มีระยะห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสง

    อินเดียส่งยานอวกาศ Chandrayaan-2 ไปดวงจันทร์

    ความพยายามของอินเดียในการเป็นชาติที่ 4 ของโลกที่สามารถส่งยานอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ต้องพบกับความล้มเหลวหลังจากยานอวกาศวิกรม (Vikram) แยกตัวออกจากยานอวกาศ Chandrayaan-2 เพื่อเตรียมลงจอดบนดวงจันทร์ในวันที่ 7 กันยายน 2019 แต่สัญญาของยานอวกาศวิกรมได้ขาดการติดต่อกับโลกขณะอยู่เหนือผิวดวงจันทร์ประมาณ 2 กิโลเมตรเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าอินเดียจะนำยานอวกาศวิกรมลงจอดบนดวงจันทร์ไม่สำเร็จยานอวกาศ Chandrayaan-2 ก็ยังคงทำหน้าที่โคจรรอบดวงจันทร์เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ส่งกลับมายังโลก

    อิสราเอลส่งยานอวกาศ Beresheet ไปดวงจันทร์

    อิสราเอลเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสนใจส่งยานอวกาศไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์โดยการส่งยานอวกาศชื่อว่า Beresheet ไปลงจอดบนดวงจันทร์แต่ก็ต้องพบกับความล้มเหลวหลังจากการทำงานของยานอวกาศขัดข้องขณะอยู่เหนือผิวดวงจันทร์ประมาณ 10 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามก่อนขาดการติดต่อกับเจ้าหน้าที่บนโลกยานอวกาศลำนี้ได้ส่งภาพถ่ายธงชาติอิสราเอลที่มีฉากหลังเป็นผิวดวงจันทร์ในระยะใกล้กลับมายังโลกเพื่อเป็นหลักฐานการมาเยือนดวงจันทร์ของยานอวกาศจากประเทศอิสราเอล แม้จะเป็นภารกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม

    SpaceX ทดสอบยานต้นแบบ Starhopper

    บริษัท SpaceX บริษัทเทคโนโลยีจรวดขนส่งอวกาศที่ทันสมัยมากที่สุดในโลก ประสบความสำเร็จในการทดสอบยานต้นแบบ Starhopper ติดตั้งเครื่องยนต์จรวด Raptor จำนวน 1 เครื่องยนต์โดยใช้เชื้อเพลิงมีเทนเหลวและออกซิเจนเหลว ยานต้นแบบ Starhopper เป็นต้นของของยานอวกาศ Starship ที่มีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่าซึ่งยานอวกาศลำนี้ถูกออกแบบให้สามารถทำภารกิจขนส่งผู้โดยสารข้ามทวีปบนโลกภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ภารกิจขนส่งดาวเทียมหรือชิ้นส่วนสถานีอวกาศขนาดใหญ่ขึ้นสู่วงโคจรของโลก รวมไปถึงภารกิจการส่งมนุษย์อวกาศไปลงบนดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต

    ยานอวกาศ Hayabusa-2 ของประเทศญี่ปุ่นลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย 162173 ริวงู (Ryugu)

    ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของวงการอวกาศญี่ปุ่นหลังจากประสบความสำเร็จนำยานอวกาศ Hayabusa-2 ลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย 162173 ริวงู (Ryugu) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2019 หลังจากยานลงจอดได้เก็บตัวอย่างหินบนดาวเคราะห์น้อยริวงูกลับมายังโลกเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิต หลังจากการลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยริวงูครั้งแรกสำเร็จ ยานอวกาศ Hayabusa-2 จะทำการลงจอดเพื่อเก็บตัวอย่างบนดาวเคราะห์น้อยริวงูอีก 1-2 ครั้ง ก่อนเดินทางกลับโลกในปี 2020 ตลอดภารกิจยานอวกาศ Hayabusa-2 เดินทางไปและกลับระหว่างโลกกับดาวเคราะห์น้อยริวงูรวมกันเป็นระยะทางกว่า 5,240,000,000 กิโลเมตร

    การทดสอบส่งยานอวกาศ Crew Dragon และ CST-100 Starliner ขึ้นสู่อวกาศ

    ภายหลังจากนาซายกเลิกภารกิจของกระสวยอวกาศในปี 2011 นาซาได้พยายามส่งเสริมให้บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศเข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจอวกาศภายใต้โครงการ Commercial Crew Development (CCDev) การพัฒนายานอวกาศที่สามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ สำหรับแผนการในปี 2019 มีการทดสอบส่งยานอวกาศภายใต้โครงการนี้ขึ้นสู่อวกาศจำนวน 2 ลำ คือ การทดสอบยานอวกาศ Crew Dragon ที่พัฒนาโดยบริษัท SpaceX ยานถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2019 โดยยานอวกาศ Crew Dragon ประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS หลังจากแยกตัวออกจากสถานีอวกาศยานเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย ต่อมาการทดสอบยานอวกาศ CST-100 Starliner ที่พัฒนาโดยบริษัท Boeing ยานถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2019 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS อย่างไรก็ตามทีมงานของนาซาและบริษัท Boeing ก็สามารถนำยานเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย

    ขอบคุณที่มา
    https://news.thaipbs.or.th/content/287599
     

แชร์หน้านี้

Loading...