เรื่องเด่น อัปเดตสถานการณ์ หลายจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ทางหลวงวิ่งไม่ได้ 34 แห่ง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 26 กันยายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    สรุปสถานการณ์น้ำท่วม หลายจังหวัดยังเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คาด 27-29 ก.ย. 64 ฝนตกหนักบางพื้นที่ ล่าสุดกรมทางหลวง เผย การจราจรผ่านไม่ได้ทั้งสิ้น 34 แห่ง


    วันที่ 26 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ “เตี้ยนหมู่” ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


    ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แจ้งเตือนสาธารณภัยว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคกลาง ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


    สําหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร


    ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง ได้แก่ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ (315.2 มม.) อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ (211.9 มม.) อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ (206.2 มม.) อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี (185.0 มม.) อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ (175.2 มม.) (ข้อมูลสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา ณ วันที่ 26 กันยายน 2564 เวลา 15.00 น.)


    ระดับน้ำท่าที่ล้นตลิ่ง ได้แก่ ลุ่มน้ำวัง อ.สามเงา จ.ตาก (+0.11 ม.) ลุ่มน้ำยม อ.บางระกํา จ.พิษณุโลก (+0.27 ม.) ลุ่มน้ำน่าน อ.วังทอง จ.พิษณุโลก (+0.09 ม.) ลุ่มน้ําป่าสัก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ (+1.36 ม.) อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ (+0.11 ม.) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา (+1.72 ม.) อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา (+1.23 ม.) ลุ่มน้ำแม่กลอง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี (+0.23 ม.) ลุ่มน้ำท่าจีน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี (+0.04 ม.) ลุ่มน้ำชี อ.เมืองฯ จ.ชัยภูมิ (+0.42 ม.) อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น (+0.13 ม.) อ.ภูกระดึง จ.เลย (0.08 ม.) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด (+0.38 ม.) ลุ่มน้ำมูล อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา (+0.19 ม.) อ.พิมาย จ.นครราชสีมา (+0.67 ม.) อ.จักราช จ.นครราชสีมา (+0.04 ม.) อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ (+0.37 ม.) ลุ่มน้ำปราจีนบุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (+0.21 ม.) (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 26 กันยายน 2564 เวลา 15.00 น.)


    นอกจากนี้ยังพบว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่า หรือเท่ากับร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จํานวน 7 แห่ง ได้แก่ แม่มอก ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านปราการชล หนองปลาไหล ประแสร์ และนฤบดินทรจินดา (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 25 กันยายน 2564)

    สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก มีดังนี้

    ภาคเหนือ

    • เชียงใหม่ (อ.จอมทอง)
    • สุโขทัย (อ.ศรีสัชนาลัย)
    • พิษณุโลก อ.วังทอง วัดโบสถ์)
    • ตาก (อ.เมืองฯ แม่สอด พบพระ)
    • เพชรบูรณ์ (ต.วิเชียรบุรี บึงสามพัน ศรีเทพ หนองไผ่)
    • นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์ ชุมตาบง แม่เปิน)
    • อุทัยธานี (อ.บ้านไร่)

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    • ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ หนองบัวแดง เทพสถิต)
    • นครราชสีมา (อ.ปากของ วังน้ําเขียว ปักธงชัย)

    ภาคกลาง

    • ชัยนาท (อ.เมือง มโนรมย์ สรรพยา วัดสิงห์ สรรคบุรี)
    • ลพบุรี (อ.ลําสนธิ ชัยบาดาล สระโบสถ์ สระบุรี แก่งคอย)
    • สุพรรณบุรี (อ.ด่านช้าง)
    • นครนายก (อ.เมือง บ้านนา)
    • ปราจีนบุรี (อ.เมือง นาดี)
    • สระแก้ว (อ.ตาพระยา)
    • ระยอง (อ.เมือง บ้านค่า)
    • จันทบุรี (อ.เมือง ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ)
    • ตราด (อ.เกาะช้าง เขาสมิง)

    พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง


    ภาคเหนือ

    • สุโขทัย (อ.เมือง ศรีสําโรง สวรรคโลก ศรีนคร คีรีมาศ ทุ่งเสลี่ยม กงไกรลาศ บ้านด่านลานหอย ศรีสัชนาลัย)
    • กําแพงเพชร (อ.ขาณุวรลักษบุรี โกสัมพีนคร)
    • พิจิตร (อ.โพธิ์ประทับช้าง สามง่าม บึงนาราง โพทะเล)
    • ตาก (อ.สามเงา วังเจ้า)
    • พิษณุโลก (อ.บางระกํา เนินมะปราง วังทอง)
    • เพชรบูรณ์ (อ.เมือง วิเชียรบุรี หล่มสัก)
    • อุทัยธานี (อ.ทัพทัน)

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    • ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ)
    • นครราชสีมา (อ.เมือง ปากช่อง เทพารักษ์ โชคชัย ด่านขุนทด สูงเนิน โนนสูง พิมาย เฉลิมพระเกียรติ จักราช)
    • ชัยภูมิ (อ.เมือง จัตุรัส เนินสง่า หนองบัวระเหว บ้านเขว้า เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว คอนสวรรค์ บำเหน็จณรงค์)
    • ขอนแก่น (อ.โคกโพธิ์ไชย มัญจาคีรี ชุมแพ)
    • ศรีสะเกษ (อ.ห้วยทับทัน กันทรารมย์)
    • อุบลราชธานี (อ.เมือง)

    0b8aae0b896e0b8b2e0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b893e0b98c-e0b8abe0b8a5e0b8b2e0b8a2e0b888e0b8b1e0b887.jpg

    ภาคกลาง

    • ชัยนาท (อ.สรรพยา)
    • พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล พระนครศรีอยุธยา)
    • อ่างทอง (อ.ป่าโมก สามโก้ วิเศษชัยชาญ)
    • สิงห์บุรี (อ.เมือง อินทร์บุรี)
    • สุพรรณบุรี (อ.สองพี่น้อง)
    • กาญจนบุรี (อ.บ่อพลอย)
    • นครปฐม (อ.บางเลน)
    • ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี)

    พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม


    ภาคกลาง

    • จันทบุรี (อ.เขาคิชฌกูฏ)
    • ตราด (อ.เกาะข้าง เขาสมิง)

    อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์สาธารณภัยในระยะ 1-3 วัน ระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน 2564 ว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ทำให้ฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคกลางและภาคใต้ โดยยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง รวมทั้งระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น

    กรมทางหลวง อัปเดตการจราจรผ่านไม่ได้ทั้งสิ้น 34 แห่ง

    ขณะที่ กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ เมื่อเวลา 15.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 19 จังหวัด (49 สายทาง 101 แห่ง) โดยการจราจรผ่านไม่ได้ทั้งสิ้น 34 แห่ง ดังนี้


    จ.ชัยภูมิ (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)

    • ทล.2179 วัดปทุมชาติ-หนองจาน ช่วง กม.ที่ 12+300-21+600 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำสูง 10-30 ซม.

    จ.นครราชสีมา (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)

    • ทล.2217 ด่านขุนทด-หนองกราด ช่วง กม.ที่ 0+700-20+460 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำสูง 50 ซม.
    • ทล.2246 โคกสี-ตะโก ช่วง กม.ที่ 49+945 น้ำกัดเซาะบริเวณคอสะพาน ให้ใช้ ทล.202 หรือ ทล.2160 แทน
    จ.สุโขทัย (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)

    • ทล.12 ตอน เมืองเก่า-สุโขทัย ช่วง กม.ที่ 168+178-171+270 ด้านซ้ายทาง ระดับน้ำสูง 40 ซม.
    • ทล.101 คลองโพธิ์-ท่าช้าง ช่วง กม.ที่ 79+969-82+000 ระดับน้ำสูง 65 ซม.
    • ทล.125 แจกัน-บ้านสวน ช่วง กม.ที่ 14+450-19+400 ด้านซ้ายทาง ระดับน้ำสูง 75 ซม.
    • ทล.1347 วัดโคก-สระบัว ช่วง กม.ที่ 0+000-5+284 (เป็นช่วงๆ) ด้านซ้ายทาง ระดับน้ำสูง 45 ซม. หากเดินทางจากตากไปพิษณุโลกขอให้ใช้ทางเลี่ยง ทล.12 แทน
    • ทล.1195 สุโขทัย-เตว็ดใน ช่วง กม.ที่ 0+000-1+900 ระดับน้ำสูง 60 ซม.
    จ.ลพบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 10 แห่ง)

    • ทล.2243 บัวชุม-สี่แยกบัวชุม ช่วง กม.ที่ 0+340 สะพานทรุดตัว
    • ทล.2243 บัวชุม-สี่แยกบัวชุม ช่วง กม.ที่ 1+400 เส้นทางขาด ระดับน้ำสูง 40 ซม.
    • ทล.2247 จงโก-ลำสมพุง ช่วง กม.ที่ 1+500-2+800 ระดับน้ำสูง 40 ซม.
    • ทล.2260 ลำสนธิ-ซับลังกา ช่วง กม.ที่ 1+800-2+500 ระดับน้ำสูง 70 ซม.
    • ทล.205 ดงพลับ-ม่วงค่อม ช่วง กม.ที่ 22+200-24+600 ระดับน้ำสูง 70 ซม.
    • ทล.205 ดงพลับ-ม่วงค่อม ช่วง กม.ที่ 27+300-27+500 ระดับน้ำสูง 45 ซม.
    • ทล.205 ดงพลับ-ม่วงค่อม ช่วง กม.ที่ 32+000-32+600 ระดับน้ำสูง 45 ซม.
    • ทล.205 ดงพลับ-คลองห้วยไผ่ ช่วง กม.ที่ 53+300-53+500 ระดับน้ำสูง 60 ซม.
    • ทล.205 เทศบาลลำนารายณ์-ช่องสำราญ ช่วง กม.ที่ 82+900 (ทางลอดใต้สะพานแม่น้ำป่าสัก) ระดับน้ำสูง 60 ซม.
    • ทล.205 เทศบาลลำนารายณ์-ช่องสำราญ ช่วง กม.ที่ 100+400-104+900 ด้านซ้ายและขวาทาง ระดับน้ำสูง 20-70 ซม.
    จ.กำแพงเพชร (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)

    • ทล.1 ตอน โนนปอแดง-ปากดง ช่วง กม.ที่ 432+030 (จุดกลับรถคลองสุวรรณ) ระดับน้ำสูง 120 ซม.
    • ทล.1 ตอน โนนปอแดง-ปากดง ช่วง กม.ที่ 419+036 (จุดกลับรถคลองพะยอม) ระดับน้ำสูง 100 ซม.
    • ทล.1 ตอน โนนปอแดง-ปากดง ช่วง กม.ที่ 431+701 (จุดกลับรถคลองสุวรรณ) ระดับน้ำสูง 120 ซม.
    จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)

    • ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง จุดกลับรถใต้สะพานหลวงปู่ทวด ระดับน้ำสูง 40-50 ซม.

    จ.เพชรบูรณ์ (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)

    • ทล.21 คลองกระจัง-ศรีเทพ ช่วง กม.ที่ 99+000-102+500 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม.
    • ทล.21 ศรีเทพ-ซับสมอทอด ช่วง กม.ที่ 112+700-116+000 ระดับน้ำสูง 100 ซม.
    • ทล.2275 แยกศรีเทพ -ซับบอน ช่วง กม.ที่ 44+000-48+500 ระดับน้ำสูง 100 ซม.
    จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)

    • ทล.33 สุพรรณบุรี-นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 50 ซม.
    • ทล.340 สาลี-สุพรรณ ช่วง กม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 60-65 ซม.

    จ.นครสวรรค์ (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)

    • ทล.11 ไตตาล-น้ำสาดเหนือ ช่วง กม.ที่ 71+600-72+000 ด้านซ้ายและขวาทาง ระดับน้ำสูง 40-50 ซม.
    • ทล.225 เกยชัย-ศรีมงคล ช่วง กม.ที่ 82+000-84+500 ระดับน้ำสูง 30-40 ซม.
    • ทล.3330 เกษตรชัย-สำโรงชัย ช่วง กม.ที่ 20+000-29+000 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม.
    จ.อุทัยธานี (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)

    • ทล.3456 หนองกระดี่-คลองข่อย ช่วง กม.ที่ 3+604 สะพานโคกหม้อ ระดับน้ำสูง 20-30 ซม.

    จ.ตาก (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)

    • ทล.1090 ห้วยน้ำริน-อุ้มผาง ช่วง กม.ที่ 148+750-148+900 ระดับน้ำสูง 40 ซม.
    • ทล.1090 ห้วยน้ำริน-อุ้มผาง ช่วง กม.ที่ 163+100-163+175 ระดับน้ำสูง 120 ซม.
    • ทล.1167 แม่กลอง-เขตแดนไทย-พม่า ช่วง กม.ที่ 0+300-0+450 ระดับน้ำสูง 60 ซม.
    ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่คาดว่าจะเกิดความสุ่มเสี่ยง พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1.


    ขอบคุณที่มา

    https://www.thairath.co.th/news/local/2203665
     

แชร์หน้านี้

Loading...