เรื่องเด่น เปิดชื่อเขื่อนเข้าขั้นวิกฤติ ฝนจ่อพายุส่อซ้ำ น้ำล้นจมบาดาลตามยถากรรม!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 3 สิงหาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899.jpg


    ฝนตกหนักมาแล้วหลายวัน โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ แต่…ที่น่าหดหู่ใจก็เหตุที่เกิดที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เกิดดินสไลด์ทับบ้านเรือนประชาชน 4 หลัง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ บาดเจ็บอีก 1 ราย


    ขณะเดียวกัน “เขื่อน” หลายแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะ เขื่อนน้ำอูน ใน จ.สกลนคร น้ำได้ล้นเขื่อนไหลออกจากสปิลเวย์แล้ว และภาคกลางฝั่งตะวันตก คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และ วชิราลงกรณ ที่ตอนนี้มีปริมาณน้ำ 86 และ 82 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ


    จากเหตุดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวล เกรงว่าจะเกิดเหตุอุทกภัยใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งในบ้านเรา หากไม่เตรียมรับมือให้ดี ภาพฝันร้ายปี 2554 ก็อาจจะตามมาหลอกหลอนชาวไทยอีกก็เป็นได้


    เพื่อความกระจ่าง ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้ติดต่อพูดคุยกับกูรูด้านน้ำ และฝนฟ้าอากาศ มาให้ข้อมูลสำคัญ โดยเฉพาะชาวอีสานที่อาศัยริมฝั่งโขง ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะเหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเป็นอย่างยิ่ง


    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-1.jpg
    เปิดตัวเลขน้ำในเขื่อนที่น่าเป็นห่วง น้ำอูน เขื่อนศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ และ แก่งกระจาน



    จากข้อมูลเว็บไซต์ www.thaiwater.net ที่มีการเก็บรวบรวมตัวเลขน้ำในเขื่อนแบบเรียลไทม์ วันต่อวัน พบว่า ข้อมูลน้ำในเขื่อนประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2560 ระบุไว้ว่า เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำในเขื่อน 100% โดยมีความจุ 520 ล้าน ลบ.ม. แต่กลับมีปริมาณน้ำ 522 ล้าน ลบ.ม. ต่อมา เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี มีความจุ 17,745 ปัจจุบัน จุแล้ว 15,258 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 86% เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ความจุ 8,860 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำ 7,295 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 82% นอกจากนี้ ยังมีเขื่อนแก่งกระจาน ที่มีความจุ 710 ล้าน ลบ.ม. ตอนนี้มีน้ำแล้ว 656 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 92%


    เห็นสถิติน่าห่วงไหม…หากฝนตกหนักอีกจะเป็นอย่างไร


    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-2.jpg

    ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ยอมรับว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนเริ่มมีมากขึ้น ทุกขนาดของเขื่อน คือ ใหญ่ กลาง และ เล็ก ทางกรมชลประทานได้เดินหน้าพร่องน้ำตามเกณฑ์ที่มีการควบคุมทั้งสิ้น เช่น เขื่อนที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ คือ เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนน้ำอูน ปรากฏว่า ห้วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนัก เราก็ได้ทำการระบายน้ำแล้ว แต่ต้องระบายโดยคำนึงไม่ให้เกิดผลกระทบกับท้ายเขื่อน จึงทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเกินเกณฑ์ควบคุม แต่ก็ไม่ถึงขั้นเต็มเขื่อน


    “ใน 1 สัปดาห์นี้ เราจึงต้องรีบเร่งระบายน้ำออก ก่อนที่จะมีฝนตกเติมน้ำเข้าไป ด้วยการใช้มาตรการเสริม ด้วยการติดตั้ง “กาลักน้ำ” ขนาดใหญ่ ซึ่งที่เกินในเกณฑ์ควบคุม ทั้ง 11 เขื่อนนั้น จะมีเขื่อนของ กฟผ.ด้วย ซึ่งได้ใช้มาตรการเดียวกัน”


    อธิบดีกรมชลประทาน อธิบายลักษณะของ “เขื่อนน้ำอูน” ว่า เป็นเขื่อนน้ำล้น หากน้ำในเขื่อนเต็ม มันก็จะล้นออก ซึ่งช่วงปีที่ผ่านมามีน้ำมากกว่าปีนี้อีก ซึ่งเกิน 100% (ปริมาณน้ำในเขื่อน 645 ล้าน ลบ.ม. เกินความจุ 125 ล้าน ลบ.ม.) ซึ่งไม่ต้องกังวล เพราะน้ำมามันก็ระบายออกในเส้นทางปกติ แต่ปัญหาใหญ่คือ น้ำที่ล้นออกมามันควบคุมไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากการปล่อยออกทางอาคารระบายน้ำ!


    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-3.jpg
    เขื่อนวชิราลงกรณ
    เรื่องอันตราย หากน้ำเต็มเขื่อน = ให้ประชาชนรับน้ำตามยถากรรม



    ด้าน ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต กล่าวว่า เราไม่เคยเจอสถานการณ์น้ำใกล้เต็ม 50 เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ แต่ปีนี้เราเจอแบบนี้ ก็เลยมีคำถามว่า “ปล่อยให้เต็มได้อย่างไร?” บางเขื่อนต้องระวังใกล้ชิด เช่น เขื่อนวชิราลงกรณ์ น้ำอูน และ แก่งกระจาน นี่คือ 3 เขื่อนใหญ่ที่น่าเป็นห่วง ขณะที่เขื่อนเล็กๆ เรายังไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไร..


    ดร.เสรี กล่าวต่อว่า ซึ่งอ่างเก็บน้ำและเขื่อนทั้ง 50 แห่งนั้น ส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง ส่วนที่เป็นขนาดเล็กนั้น เราไม่ทราบเลย เพราะอยู่ในความรับผิดชอบของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)


    “สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เดือนสิงหาคมนี้ ส่วนใหญ่จะมีฝนตกต่อเนื่อง ถ้าไม่เร่งพร่องตอนนี้ก็จะเกิดปัญหา หากเขื่อนมีน้ำเต็มเมื่อไหร่ น้ำมาเท่าไหร่ปล่อยหมดจะเป็นอันตราย ดังนั้น ช่วงนี้ต้องเร่งบริหารและทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะฝนไม่สามารถคาดการณ์ได้ พายุจะมาเมื่อไหร่ คาดการณ์ได้ยาก..”


    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-4.jpg

    ถามว่า ทำไมสถานการณ์การบริหารจัดการเขื่อนจึงมาถึงจุดนี้ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ตอบว่า “ผมก็ไม่ทราบ” แต่สิ่งที่เกิดขึ้น อยากสะท้อนให้ทางภาครัฐได้รับทราบ เพราะในอดีตไม่เคยเกิดขึ้นเช่นนี้มาก่อน ซึ่งเรื่องนี้ทราบมาจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ออกมาให้ข่าว..


    “บางครั้งเราดูแต่ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำในเขื่อนไม่ได้ เพราะเขื่อนแต่ละแห่งมีความจุไม่เท่ากัน เช่น 100% ของเขื่อนศรีนครินทร์ 17,745 ล้านลูกบาศเมตร ขณะที่ 100% ของเขื่อน วชิราลงกรณนั้น มีความจุ 8,660 ซึ่งเราอย่าให้ตัวเลขเปอร์เซ็นต์มาหลอกเรา เราจึงต้องดูว่า ปริมาตรที่เหลือที่สามารถรับน้ำได้มีมากน้อยขนาดไหน”


    เราจำเป็นต้องประเมินว่า เขื่อนแต่ละเขื่อนสามารถรับน้ำได้เท่าไร หากฝนตกทั้งสัปดาห์จะมีปริมาณน้ำเข้าเขื่อนเมื่อไหร่…


    “แต่ละเขื่อนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่..หากคุมน้ำไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องอันตราย เพราะน้ำมาเท่าไรก็จะล้นออกไปเท่านั้น เรียกว่า ปล่อยไปตาม “ยถากรรม” เราต้องอย่าให้เกิดแบบนั้น”



    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-5.jpg


    อธิบดีกรมชลฯ ยัน เตรียมแผนรับมือไว้ ประสานทุกหน่วยรับมือ



    สำหรับแผนรับมือการรับน้ำนั้น อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า “สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความแข็งแรงปลอดภัยของเขื่อน ปัจจุบันได้มีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา… เราได้มีการแจ้งเตือนไปยังประชาชนให้รับทราบว่า หากปริมาณน้ำล้นสปิลเวย์ จะมีผลกระทบในพื้นที่ใด ขนาดใดบ้าง

    “ปกติแล้ว การบริหารจัดการเขื่อน จะมีความแตกต่างกันตามขนาดเขื่อน ซึ่งมีมาตรฐานตามเกณฑ์เก็บกักน้ำ (Rule Curve) โดยมีระบุไว้ว่า ควรจะมีเท่าไรในห้วงเวลาใด บางเขื่อนที่เป็นขนาดเล็กอาจไม่มีเกณฑ์การควบคุม เราก็จะใช้ปริมาณน้ำเป็นตัววัด เช่น ห้วงเวลานี้ไม่ควรเกิน 70-80% เป็นต้น”


    สิ่งสำคัญคือ การประสานงานกับหน่วยอื่นในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตอนนี้มีหน่วยงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นตัวช่วยในการดูแลภาพรวมทั้งประเทศอีก 10-12 หน่วยงาน โดยมีศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ ของกรมชลประทาน เป็นเซ็นเตอร์ดูแลร่วมกัน


    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-6.jpg
    ห่วงหลายจังหวัดภาคอีสานริมน้ำโขง น้ำสมทบจากเพื่อนบ้าน ระบายออกยาก เหตุปริมาณน้ำสูง



    “ตอนนี้สิ่งที่น่าห่วง คือ ระดับน้ำโขงมีสูงขึ้นมาก เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเจอวิกฤติน้ำท่วม จึงทำให้มีการระบายน้ำลงไปในแม่น้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงที่ไหลผ่าน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร และ อุบลราชธานี สูงขึ้น ทำให้เขื่อนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว สามารถระบายน้ำออกได้ช้า น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ส่วนใหญ่จะมีประตูระบายน้ำ ตอนนี้จึงต้องปิดไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำโขงไหลเข้า แต่น้ำที่อยากระบายก็ระบายไม่ออก เราก็ใช้เครื่องมือช่วยด้วยการปิดประตูน้ำ แล้วใช้เครื่องสูบน้ำสูบออก แต่การสูบดังกล่าว อาจจะได้น้อยหรือช้ากว่า อีก 1 ปัจจัยสำคัญที่กังวล คือ เรื่องพายุ ถ้ามาเติมน้ำมาก ก็จะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่แน่นอน”ดร.ทองเปลว กล่าว


    สอดคล้องกับ ดร.สันติ ที่มองว่า สถานการณ์อีสานอยู่ในขั้นอันตราย และเป็นไปได้ว่า ชาวอีสานโดยเฉพาะชาวบ้านจังหวัดริมฝั่งโขง จะต้องเผชิญกับน้ำขัง หรือน้ำท่วม นานนับเดือน


    “ผมเชื่อว่าสถานการณ์ที่อีสานอาจจะหนักตรงที่ริมน้ำโขง โดยเราต้องผ่านเดือนสิงหาคมให้ได้”


    ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต กล่าวด้วยน้ำเสียงเคร่งเครียดว่า สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำโขงถือว่าวิกฤติ เพราะน้ำที่ถูกปล่อยลงมาสูงขึ้นเรื่อยๆ หากฝนตก ระบายน้ำไม่ออกจะเป็นอย่างไร


    แล้วแบบนี้มีโอกาสเจอน้ำขัง เพราะระบายไม่ออก ได้หรือไม่ ดร.สันติ ตอบสวนทันทีว่า “ใช่..ใช่ หากสิงหาคมปริมาณน้ำยังสูงอยู่ ก็อาจจะต้องไประบายช่วงกันยายน ซึ่งอาจจะนานนับเดือน”


    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-7.jpg
    เขื่อนแก่งกระจาน
    อุตุฯ ชี้ 1-4 ฝนหาย แต่ 5-8 มาแน่ จากสถิติพายุจะก่อตัวปลายสิงหาคมต้นกันยายน และอาจถล่มอีสาน!



    ขณะเดียวกัน ทีมข่าวฯ ได้พูดคุยกับ นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อประเมินสถานการณ์ฝนที่อาจจะซ้ำเติมในช่วงนี้ ซึ่งนายวันชัย เปิดเผยว่า ในช่วง 1-4 ส.ค.นี้ ฝนจะลดลง แต่ทางอีสานก็อาจจะมีฝนบ้างเล็กน้อย แต่หลังจากนั้น วันที่ 5-8 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะประเทศไทยทางตอนบน คือ เหนือ กับ อีสาน จะมีฝนมากขึ้น และอาจจะตกหนักในบางพื้นที่


    “พายุในช่วงนี้ยังไม่พบ แต่ก็ต้องระวัง โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนสิงหาคม อาจจะมีการก่อตัวแถวๆ ทะเลจีนใต้ แต่ก็ต้องติดตามอีกครั้ง เพราะยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเข้าจุดไหน คงต้องรอให้เริ่มมีการก่อตัวเสียก่อน แต่โดยทั่วไปหากมีพายุก่อตัวในช่วงนี้ ก็จะพัดพาเข้ามายังฝั่งภาคอีสาน ซึ่งจะผ่านอีสานบนหรือด้านล่าง หากด้านบนก็จะไปทางมุกดาหาร นครพนม หรือ สกลนคร หากเป็นอีสานล่างก็จะพัดไปที่อุบลราชธานี”


    อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวต่อว่า ลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงน่าห่วง แม้ฝนในประเทศไทยไม่มาก แต่น้ำโขงยังมีอยู่ เพราะถูกปล่อยมาจากจีน ดังนั้นปริมาณน้ำที่อยู่ในแม่น้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม หรือ แม่น้ำก่ำ ไม่สามารถระบายออกได้ น้ำก็จะเอ่ออยู่ในลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ลงมา หากพื้นที่ด้านในก็จะเป็น สกลนคร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น หากเป็นซีกตะวันตก ก็จะมาจากพรมแดนไทย-เมียนมา เพราะเมียนมายังมีฝนตกอยู่ ดังนั้นจังหวัดที่ต้องระวังเพราะน้ำไหลผ่านมายังแม่น้ำสาละวิน ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปัจจุบัน เขื่อนใน จ.กาญจนบุรี ได้รับน้ำเกินขีดที่ได้ตั้งเกณฑ์ไว้ไม่ให้เกิน 80% ตอนนี้ฝนยังไม่ตกจึงต้องรีบระบาย


    b988e0b8ade0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b882e0b8b1e0b989e0b899-8.jpg
    แนะรัฐ ปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการน้ำ เหตุคาดการณ์สภาพอากาศยาก เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง



    ในช่วงท้าย ดร.สันติ ได้ฝากไปถึงรัฐบาลว่า การบริหารจัดการน้ำไม่สามารถใช้รูปแบบเดิมได้แล้ว เพราะรูปแบบของฝนตกเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะความรุนแรงของสภาพอากาศ ไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น การบริหารจัดการในเชิงภาพรวม จะมาบอกว่า ทั่วประเทศมีฝนน้อยกว่าปี 54 บอกแบบนี้ไม่ได้ แม้ภาพรวมฝนตกอาจจะเท่ากัน แต่เราไม่รู้ว่าจะตกหนักที่ใดที่หนึ่งหรือเปล่า สิ่งที่ควรทำคือ เร่งวิเคราะห์ความเปราะบางของแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ เราต้องรู้สภาพกายภาพของแต่ละพื้นที่ ก่อนจะมีการป้องกัน อย่างเช่นกรณีที่ จ.น่าน (เหตุดินถล่ม เสียชีวิต 8 ศพ ) เขาอาศัยอยู่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายายแล้ว นี่ไม่ใช่ความผิดที่เขาเข้าไปอยู่ แต่ทำไมภาครัฐไม่ไปบอกเขาว่ามันมีความเสี่ยง..ว่าจะมีฝนตกหนัก ควรออกจากพื้นที่ก่อน เป็นต้น

    สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วง คือ เหตุซ้ำรอยปี 2554 ดร.สันติ กล่าวว่า ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่มีอะไรน่าห่วง เพราะฝนหนักมีเฉพาะสิงหาคม กันยายน จากนั้นจะเข้าสู่โหมดภัยแล้ง จากปรากฏการณ์ เอลนินโญ่ จะเข้ามาช่วงปลายปี โดยมีการคาดการณ์กันว่า อาจจะมีน้ำท่วมอีกครั้งในปี 2563 หรือ 2564


    ขณะที่ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การบริหารงานในเชิงภาพรวม เรามีกระบวนการ วิธีการ และแผนการ เรามีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ยังเชื่อว่าสามารถดูแลควบคุมได้ ด้วยการใช้วิธีการพร่องน้ำด้วยเกณฑ์ที่มีการควบคุม โดยมีการประสานงานหน่วยงานอื่นๆ ในการทำงานร่วมกัน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนกรณีฝนตกท้ายเขื่อน ที่อาจจะส่งผลกระทบกับคันกั้นน้ำต่างๆ ตอนนี้เราได้พยายามลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบจุดเสี่ยง จุดอ่อน จากนั้นจะมีการแจ้งล่วงหน้าหรือป้องกันไว้ก่อน หากเกิดฝนตกหนักจริงๆ แล้วเกิดน้ำท่วม เราก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเยียวยา


    ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1346921
     

แชร์หน้านี้

Loading...