เรื่องเด่น เรื่องต้องรู้ “พายุฤดูร้อน” ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เสี่ยงหลังคาปลิว-ต้นไม้ล้ม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 16 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    ไทยพีบีเอสออนไลน์หาคำตอบที่มาของพายุฤดูร้อนว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่กรมอุตุฯเตือนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 เมษายน เตรียมพร้อมรับมือ

    วันนี้ (16 เม.ย.2561) กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าฤดูร้อนของประเทศไทยช่วงเดือนเมษายน ประเทศไทยจะเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ลำแสงของดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับผิวพื้นโลกในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ จึงทำให้สภาวะอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป

    ในฤดูนี้แม้ว่าประเทศไทยอากาศจะร้อนและแห้งแล้ง แต่ในบางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาถึงประเทศไทยตอนบนได้
    ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศเย็น ที่แผ่ลงมากับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง หรือ อาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกว่า “พายุฤดูร้อน”

    “พายุฤดูร้อน” (Thunderstorms) คืออะไร


    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) อธิบายเรื่องพายุฤดูร้อน ในเว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีไว้ว่า

    พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนองจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่างๆ เริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลาง

    อากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีนคราวใด จะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ (Lightning) ฟ้าร้อง (Thunder) และฟ้าผ่ารวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นมีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง

    โดยทั่วไปพายุฤดูร้อนนี้ มักเกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากการแผ่ลิ่มของความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ลงมาบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนและชื้น มีการยกตัวของมวลอากาศอยู่บ้างแล้ว แต่เมื่อมีอากาศเย็นจากบริเวณความกดอากาศสูง ซึ่งมีลักษณะจมตัวลงและมีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้มวลอากาศร้อนยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่ก่อตัวขึ้นก็จะเจริญขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิยอดเมฆต่ำกว่า -60 ถึง 80 องศาเซลเซียส จึงทำให้เกิดลูกเห็บตกได้

    0b887e0b895e0b989e0b8ade0b887e0b8a3e0b8b9e0b989-e0b89ee0b8b2e0b8a2e0b8b8e0b8a4e0b894e0b8b9e0b8a3.png

    ลักษณะอากาศร้ายที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง


    พายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง เป็นต้นกำเนิดของลักษณะอากาศเลวร้ายเกือบทุกชนิด อากาศร้ายเหล่านี้ สามารถก่อความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นจำนวนมาก แม้จะเกิดในบริเวณไม่กว้างนัก และสามารถจำแนกได้เป็นชนิดสำคัญๆ คือ

    1. พายุทอร์นาโด (TORNADO) เป็นอากาศร้ายรุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลำเหมือนงวงช้างยื่นออกมาจากฐานเมฆ เมื่อพายุฟ้าคะนองดูดเอาอากาศจากภายนอกเข้าไปที่ฐานเซลล์ด้วยพลังมหาศาล และถ้ามีการหมุนวนจะหมุนและบิดเป็นเกลียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำพายุเล็กมากคือ ประมาณพันฟุต มักเห็นเป็นเมฆลักษณะเป็นลำพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส ดูคล้ายกับมีงวงหรือท่อหรือปล่องยื่นออกมา ถ้าเมฆที่ยื่นมาไม่ถึงพื้น เรียกว่า “FUNNEL CLOUD” ถ้าลงมาถึงพื้นดินเรียกว่า ทอร์นาโด แสดงลักษณะดังกล่าวและถ้าเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ำเรียกว่า สเปาท์น้ำ (WATER SPOUT) ในประเทศไทย จะเรียกสเปาท์น้ำนี้ว่า ลมงวงช้าง หรือ นาคเล่นน้ำ ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุทอร์นาโดมาก

    2. อากาศปั่นป่วน อากาศปั่นป่วนและลมกระโชกแรง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งต่าง ๆ บนพื้นดิน อากาศปั่นป่วนเกิดขึ้นทั้งภายในพายุฝนฟ้าคะนองและภายนอกตัวเซลล์ ภายในตัวเซลล์พายุอากาศปั่นป่วนรุนแรง เกิดจากกระแสอากาศเคลื่อนที่ขึ้นและกระแสอากาศเคลื่อนที่ลงสวนกัน ภายนอกเซลล์พายุฝนฟ้าคะนอง อากาศปั่นป่วนที่เกิดขึ้นบางครั้งสามารถพบห่างออกไปไกลกว่า 30 กิโลเมตร จากตัวเซลล์พายุฝนฟ้าคะนอง อากาศปั่นป่วนรุนแรงสามารถพัดทำลายสิ่งต่างๆบนพื้นดินได้ โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง

    3. ลูกเห็บ ลูกเห็บมักเกิดขึ้นพร้อมกับอากาศปั่นป่วนรุนแรง กระแสอากาศเคลื่อนที่ขึ้น ทำให้หยดน้ำถูกพัดพาไปสู่ระดับสูงมาก และเมื่อหยดน้ำเริ่มแข็งตัวเป็นกลายเป็นน้ำแข็ง จะมีหยดน้ำอื่น ๆ รวมเข้ามารวมด้วย ดังนั้นขนาดของก้อนน้ำแข็งจะโตขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดก็ตกลงมาเป็นลูกเห็บ ลูกเห็บขนาดใหญ่มักจะเกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงและมีเมฆยอดสูงมาก บางครั้งสามารถพบลูกเห็บได้ที่ระยะไกลออกไปหลายกิโลเมตรจากต้นกำเนิด และสามารถทำความเสียหายต่อพื้นที่ที่ปรากฏลูกเห็บนั้น
    ในขณะที่ลูกเห็บตกผ่านบริเวณที่สูงที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ลูกเห็บจะหลอมละลายกลายเป็นหยาดน้ำฟ้า ทำให้ที่ผิวพื้นสามารถตรวจพบฝนและลูกเห็บเกิดขึ้นปะปนกันหรืออาจตรวจพบฝนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควรตั้งข้อสังเกตของการเกิดลูกเห็บ แม้จะตรวจไม่พบที่ผิวพื้นโดยเฉพาะใต้ ANVIL ของพายุฟ้าคะนองขนาดใหญ่

    4. ฟ้าแลบและฟ้าผ่า ฟ้าแลบและฟ้าผ่าเป็นภัยธรรมชาติที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุด ฟ้าแลบฟ้าผ่า เกิดจากประกายไฟฟ้าของการปล่อยประจุอิเล็กตรอน เมื่อเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างตำแหน่งสองตำแหน่งที่ระดับค่าหนึ่ง ความต่างศักย์ทำให้เกิดแรงดันและการไหลของประจุไฟฟ้า ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างสองตำแหน่ง เป็นไปตามสภาวะอากาศที่เป็นสื่อนำและระยะห่างของตำแหน่งทั้งสองนั้น เช่น ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างเมฆกับพื้นดิน ระหว่างเมฆสองกลุ่ม หรือส่วนหนึ่งส่วนใดภายในเมฆกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น จึงมักปรากฏว่าฟ้าผ่าวัตถุที่อยู่ในที่สูงในโลหะหรือในน้ำซึ่งเป็นสื่อไฟฟ้า

    0b887e0b895e0b989e0b8ade0b887e0b8a3e0b8b9e0b989-e0b89ee0b8b2e0b8a2e0b8b8e0b8a4e0b894e0b8b9e0b8a3.jpg

    สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน


    พายุฤดูร้อนก่อตัวจากเมฆคิวมูลัสก่อน เมื่อเมฆคิวมูลัสขยายตัวขึ้นและมีกระแสลมแนวตั้งแรงขึ้นก็จะขยายตัวสูงใหญ่เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนอง การเกิดเมฆพายุฟ้าคะนองในบรรยากาศต้องมีเงื่อนไข คือ
    – อากาศร้อนและมีความชื้นมาก
    – อากาศไม่มีเสถียรภาพ (ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ คือ อากาศมีการลอยตัวขึ้น)
    – มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงที่พื้นดิน มวลอากาศเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่อพัดผ่านภูเขาหรือมีการปะทะกันของมวลอากาศที่แตกต่างกัน

    ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยตอนบน จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม ทำให้มีอุณหภูมิสูงและได้รับความชื้นจากลมตะวันออกเฉียงใต้ หรือลมใต้ซึ่งพัดจากอ่าวไทย ขณะเดียวกันถ้ามีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ซึ่งเป็นมวลอากาศเย็น หรือบางครั้งมีคลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเคลื่อนมาเสริม จะก่อให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน และมวลอากาศร้อนชื้นที่ปกคลุมประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดการยกตัวของอากาศขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกมาด้วย ประเทศไทยตอนบนจึงมีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้มาก ส่วนภาคใต้ก็มีโอกาสเกิดได้แต่น้อย

    ลักษณะอากาศก่อนเกิดพายุฤดูร้อน


    – อากาศร้อนมาหลายวัน และในวันที่จะเกิดพายุฤดูร้อนอากาศจะร้อนอบอ้าวมากขึ้น
    – ลมสงบ
    – ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยไม่ดี
    – มีเมฆทวีมากบึ้นในท้องฟ้า ลักษณะที่ฝนจะตกมีมากขึ้น
    – ลมเริ่มพัดแรงขึ้นในทิศทางใดทางหนึ่ง มีลักษณะเป็นลมกระโชกเป็นครั้งคราว
    – เมฆก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว และมีฟ้าแลบ และมีฟ้าคะนองในระยะไกล

    ความรุนแรงและผลกระทบ


    ความรุนแรงของพายุเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิของอากาศร้อนและอากาศเย็นที่ปะทะกัน ความรุนแรงนี้จะปรากฎออกมาในลักษณะของพายุลมแรง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก ผลกระทบมีดังนี้

    – แผ่นป้ายโฆษณาและต้นไม้ยักโค่นล้ม
    – บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพังทลาย กระเบื้องหลังคาหลุดปลิวเป็นอันตรายต่อผู้คน
    – ฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
    – มีลูกเห็บตกได้ในกรณีที่พายุมีกำลังแรงๆ
    – ขณะเกิดจะมีฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ซึ่งอาจทำให้คนและสัตว์เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

    887e0b895e0b989e0b8ade0b887e0b8a3e0b8b9e0b989-e0b89ee0b8b2e0b8a2e0b8b8e0b8a4e0b894e0b8b9e0b8a3-1.png

    การเกิดลูกเห็บ


    ลูกเห็บ เกิดขึ้นภายในเมฆพายุฟ้าคะนองเป็นเมฆก่อตัวแนวตั้งขนาดใหญ่ เมฆคิวมูโลนิมบัสเกิดขึ้น เมื่ออากาศชื้นมีการยกตัวขึ้น อุณหภูมิอากาศเย็นลงตามความสูงจนกระทั้งอุณหภูมิอากาศเท่ากับอุณหภูมิจุดน้ำค้าง ไอน้ำจะอิ่มตัวแล้วกลั่นตัวจนเป็นหยดน้ำ อากาศยังคงมีการลอยตัวสูงขึ้น อุณหภูมิอากาศยังคงเย็นต่อไปอีกจนกระทั่งอุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และเย็นต่อไปอีกจนกระทั่งหยดน้ำในเมฆกลายเป็นน้ำแข็ง เม็ดน้ำแข็ง อาจตกลงมาเนื่องจากน้ำหนัก แต่อากาศข้างล่างที่ยังคงมีการลอยตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ กลับลอยขึ้นไปอีกรวมกับก้อนน้ำแข็งที่อยู่ภายในเมฆ เกิดเป็นก้อนน้ำแข็งใหญ่ขึ้นในลักษณะการพอก แล้วตกลงมาเนื่องจากน้ำหนักและกลับลอยขึ้นไปอีก เกิดการพอกทำให้เม็ดน้ำแข็งนี้ใหญ่ขึ้นอีกเป็นลักษณะเช่นนี้จนกระทั่งอากาศข้างล่างที่ลอยขึ้นนั้น ไม่สามารถรับน้ำหนักของก้อนแข็งได้ ก้อนน้ำแข็งจึงตกลงสู่พื้นดินเป็น “ลูกเห็บ”

    สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดพายุฤดูร้อน


    1. ในขณะปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง หากอยู่ใกล้อาคาร หรือ บ้านเรือนที่แข็งแรง และปลอดภัยจากน้ำท่วม ควรอยู่แต่ภายในอาคาร จนกว่าพายุฝนฟ้าคะนองจะยุติลง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก

    2. การอยู่ในรถยนต์ จะเป็นวิธีการที่ปลอดภัยวิธีหนึ่ง แต่ควรจอดรถให้อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่น้ำอาจท่วมได้

    3. อยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นน้ำ ขึ้นจากเรือ ออกห่างจากชายหาด เมื่อปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากน้ำท่วม และฟ้าผ่า

    4. ในกรณีที่อยู่ในป่า ในทุ่งราบ หรือในที่โล่ง ควรคุกเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้า แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น เนื่องจากพื้นเปียกเป็นสื่อไฟฟ้าและไม่ควรอยู่ในที่ต่ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ ไม่ควรอยู่ในที่โดดเดี่ยวหรืออยู่สูงกว่าสภาพสิ่งแวดล้อม

    5. ออกให้ห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด เช่น ลวด โลหะ ท่อน้ำ แนวรั้วบ้าน รถแทรกเตอร์ จักรยานยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ทําสวนทุกชนิด รางรถไฟ ต้นไม้สูง ต้นไม้โดดเดี่ยวในที่แจ้ง

    6. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ฯลฯ และควรงดใช้โทรศัพท์ชั่วคราว นอกจากกรณีฉุกเฉิน

    7. ไม่ควรใส่เครื่องประดับโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ฯลฯ ในที่แจ้ง หรือ ถือวัตถุโลหะ เช่น ร่ม ฯลฯ ในขณะปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง นอกจากนี้ ควรดูแลสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง และปลอดภัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะสิ่งของที่อาจจะหักโค่นได้ เช่น หลังคาบ้าน ต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า



    ขอบคุณที่มา

    https://news.thaipbs.or.th/content/271676
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 เมษายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...