แผนบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Singhanat, 8 เมษายน 2012.

  1. Singhanat

    Singhanat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +4
    แผนบรรเทาสาธารณภัย
    ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.)
    The Mahasurasinghant Disaster Protect Operations Centre.

    หลักการและเหตุผล

    เนื่องด้วยสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งประเทศไทยและทั่วโลก ในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ ซุปเปอร์มูน พายุสุริยะ แกนโลกเอียง หลุมยุบ หิมะตกในเขตร้อน น้ำท่วม และสัตว์หลายชนิดมีการตายอย่างเป็นปริศนา ประกอบกับคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา ทั้งในและต่างประเทศรวมถึงคำทำนายต่าง ๆ จากหลาย ๆ ศาสตร์เช่นพุทธทำนาย อนาคตังสญาณจากครูบาอาจารย์ฝ่ายสงฆ์และฆราวาสผู้มีอภิญญาญาณ โหราศาสตร์ ฯลฯ ได้กล่าวไปในทางเดียวกันในเรื่องของการเกิดมหาภัยพิบัติใหญ่ทั้งภัยธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ในยุคกึ่งพุทธกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2562

    ข้อมูลการคาดการณ์ของวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ หรือ นิมิตต่างๆ เป็นเรื่องของอนาคตซึ่งเหตุปัจจัยต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ขณะเดียวกันเพื่อความไม่ประมาทในการดำรงชีวิต เราควรนำข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาและปรับประยุกต์ใช้ เพราะหากเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติขั้นรุนแรงเกิดขึ้น อย่างน้อยเราก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ไว้แล้ว ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง ครอบครัว ญาติพี่น้อง รวมถึงเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ ได้ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าหากเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง โดยไม่มีการเตรียมการป้องกันไว้ก่อน ถึงเวลาเราอาจทำอะไรไม่ทันเลยก็ได้

    การเตรียมความพร้อม ทั้งในด้านข้อมูลของการเกิดและการรับมือภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ รวมถึงการให้ความรู้และซักซ้อมแผนการรับมือกับสมาชิกในครอบครัวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเราจะเห็นได้จากประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศทางตะวันตกหลาย ๆ ประเทศ มีการเตรียมความพร้อมทั้งการให้ความรู้กับประชาชน การเตรียมการเจ้าหน้าที่ บุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ทั้งหน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย เพื่อเผชิญและรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ ตลอดเวลา โดยไม่คิดว่าการดำเนินการเหล่านั้นก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ในทางกลับกันเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ที่เตรียมแผนการรองรับในการปกป้องประชาชนเมื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น

    ในปัจจุบันภัยพิบัติทางธรรมชาติหลาย ๆ ชนิดเช่น แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ หลุมยุบ วาตภัย อุทกภัย ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ ถือว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทย โดยเฉพาะพ.ศ. 2554 ถือเป็นปีแห่งภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทย และทั่วโลกเลยทีเดียวและมีแนวโน้มความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งพระสงฆ์ พุทธบริษัท ศาสนสถาน หนังสือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วยเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการให้ความรู้ การเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้าไปช่วยเหลือในกรณีที่พระสงฆ์ พุทธบริษัทศาสนสถาน หนังสือ คัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์กับภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยเฉพาะ

    ดังนั้นจึงมีการดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.)” เพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ปกปักรักษาพระพุทธศาสนา ธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ท่ามกลางสถานการณ์มหาภัยพิบัติ โดยดำเนินการขอยื่นจดทะเบียนจัดตั้งในรูปของสมาคม หรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ,สาธารณภัย ,การศาสนา ,และพุทธสาธารณประโยชน์ โดยมีแนวทางการดำเนินงานคือ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และการสังคมสงเคราะห์,ปกปักรักษา เสริมสร้างพระพุทธศาสนา และพุทธสาธารณประโยชน์,การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในสภาวะฉุกเฉิน การบาดเจ็บ และบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ ซึ่งตรงกับนโยบายและมติของมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 27 / 2554 ที่ต้องการให้วัดจัดตั้งเป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยมีแนวทางดำเนินการคือ
    1.ให้วัดเป็นศูนย์พักอาศัย
    2.จัดตั้งวัดเป็นศูนย์ประสานงานในการให้ความช่วยเหลือ
    3.จัดตั้งวัดเป็นศูนย์ประสานงานการรักษาพยาบาล
    4.จัดตั้งวัดเป็นศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิตโดยใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา

    ตรงตามแนวทางและนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้อาสาสมัคร มูลนิธิ สมาคมและองค์กรเอกชน สนับสนุนทรัพยากรในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เช่นเครื่องจักรกล เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือ เครื่องใช้อุปกรณ์ รวมทั้งกำลังคน ในการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยอย่างต่อเนื่อง ตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. 2548

    วัตถุประสงค์

    1.เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในยุคมหาภัยพิบัติ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา ตามกำลังความสามารถที่จะทำได้ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม สืบต่อไปในอนาคต
    2.เพื่อธำรงรักษาสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้ ให้รอดพ้นจากมหาภัยพิบัติ อันได้แก่ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ หนังสือ คัมภีร์ เอกสารสำคัญ พุทธบริษัทสี่ พระภิกษุ-ภิกษุณี สามเณร-สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ฯลฯ และเสริมสร้าง ฟื้นฟู และวางรากฐานให้พระพุทธศาสนาให้เจริญถึงห้าพันปีภายหลังยุคมหาภัยพิบัติ
    3.เสริมสร้างธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสามัคคี กลมเกลียวของคนในชาติ

    กลุ่มเป้าหมายหลัก

    1.พุทธบริษัทสี่ พระภิกษุ-ภิกษุณี สามเณร-สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ฯลฯ ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง เป็นผู้ประสบภัย ได้รับภยันตรายและความเสียหายจากสาธารณภัยและมหาภัยพิบัติต่าง ๆ
    2.เพื่อนมนุษย์ผู้ประสบภัยได้รับภยันตราย ความเสียหายจากสาธารณภัยทั่วไป และมหาภัยพิบัติ ไม่แบ่งชนชั้น วรรณะ ยากดีมีจน เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ
    3.ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงมูลนิธิ องค์กรเอกชนต่าง ๆ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในด้านกำลังคน เครื่องไม้เครื่องมือ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลหนัก เป็นต้น

    บทบาทศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.)

    1.เป็นหน่วยงานหรือองค์กร ภาคประชาชน จัดตั้งเพื่อดำเนินการช่วยเหลือและสนับสนุนภาครัฐเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    2.ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติการ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคเอกชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและให้การสงเคราะห์เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย ผู้ได้รับภยันตราย หรือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากสาธารณภัย และมหาภัยพิบัติต่าง ๆ
    3.ดำเนินการปกปักรักษาพระพุทธศาสนา พุทธบริษัทสี่ พระภิกษุ-ภิกษุณี สามเณร-สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ฯลฯ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ หนังสือ คัมภีร์ เอกสารสำคัญ จากจากสาธารณภัย และมหาภัยพิบัติต่าง ๆ
    4.เสริมสร้าง ฟื้นฟู และวางรากฐานให้พระพุทธศาสนาให้เจริญถึงห้าพันปีตามพุทธพยากรณ์
    5.เสริมสร้างและธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสามัคคี กลมเกลียวของคนในชาติ

    การดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

    ระยะที่หนึ่ง ก่อนเกิดภัยพิบัติใหญ่

    1.ให้ความรู้เรื่องภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ แก่เพื่อนมนุษย์ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการเตรียมการรับมือและการดำรงชีวิต การรักษาสภาวะร่างกายและจิตใจ ท่ามกลางสถานการณ์ภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต
    2.แจ้งเตือนเหตุการณ์ภัยพิบัติที่สำคัญ เพื่อให้เพื่อนมนุษย์ ได้มีระยะเวลาเตรียมตัว เตรียมใจ เข้าใจสถานการณ์ล่วงหน้า เพราะภัยพิบัติบางชนิด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว แก้ไขตั้งตัวไม่ทัน เช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยจุดประสงค์เพื่อความตระหนัก ไม่ใช่เพื่อความตระหนก โดยวิธีการที่ละเอียดอ่อน รอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบต่อสภาวะจิตใจ และระบบเศรษฐกิจของสังคม
    3.เตรียมความพร้อม ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) เรื่องบุคลากร เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหนัก และสถานที่ เพื่อรองรับบุคลากรผู้เข้าร่วมทำงาน ,เพื่อนมนุษย์ผู้ประสบภัย และการออกช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ฯลฯ

    ระยะที่สอง ยุคเกิดมหาภัยพิบัติ

    1.รักษาไว้ซึ่งชีวิตของตนเอง ผู้เป็นที่รัก และเพื่อนมนุษย์ ในสถานการณ์ซึ่งกำลังเกิดภัยพิบัติทั้งภัยธรรมชาติและภัยมนุษย์ ให้มีความปลอดภัย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
    2.การออกช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ประสบภัยพิบัติ ในพื้นที่ประสบภัย การฟื้นฟูดูแลรักษาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
    3.การออกช่วยเหลือและรักษาพระพุทธศาสนาในยุคมหาภัยพิบัติ อันได้แก่สิ่งสำคัญ เช่น ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ หนังสือ คัมภีร์ เอกสารสำคัญ พุทธบริษัทสี่ พระภิกษุ-ภิกษุณี สามเณร-สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ฯลฯ โดยอยู่ในเหตุและผลอันชอบธรรม
    4.การธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสามัคคี กลมเกลียวของคนในชาติในยุคที่ขณะเกิดภัยพิบัติ และหลังยุคภัยพิบัติ ฯลฯ

    ระยะที่สาม หลังยุคเกิดมหาภัยพิบัติ

    คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ซึ่งเรียกว่ายุคฟื้นฟู วางรากฐาน เพื่อเริ่มต้นกันใหม่ในทุก ๆ ด้านและเป็นการเข้าสู่ “ยุคศิวิไลน์” หรือ “ยุคธรรมิกราชจักรพรรดิ”

     สำรวจ เก็บกู้ ฟื้นฟู เสริมสร้าง ชีวิต ทรัพย์สิน ทรัพยากร สังคม เศรษฐกิจ และพระพุทธศาสนา ฯลฯ

    สถานที่ตั้ง

    อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการอพยพและหลบภัยจากมหาพิบัติต่าง ๆ เพราะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร เทียบเท่าที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านป่าไม้พืชพรรณธัญญาหาร และน้ำดื่มน้ำใช้ จากน้ำฝนและน้ำที่ไหลจากภูเขาสอยดาวตลอดทั้งปี อีกทั้งเป็นปราการธรรมชาติ ช่วยบดบังพายุที่พัดมาจากทางด้านอ่าวไทย สามารถเดินทางไปมาสู่ภาคกลางหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สะดวก ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นมิตรและโอบอ้อมอารีต่อผู้คนต่างถิ่น

    การจัดองค์กร

    ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) ประกอบด้วย บุคคลที่มีอุดมการณ์และเจตนารมณ์เดียวกันในการดำเนินการเพื่อ ปกปักรักษา ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พระพุทธศาสนา และธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จากสาธารณภัยและมหาภัยพิบัติต่าง ๆ โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น
    1.คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.)
    2.คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส และฝ่ายสงฆ์
    3.เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ เช่น กองอำนวยการ ,เจ้าหน้าที่ประสานงานและปฏิบัติการ, ทีมกู้ชีพ , ทีมกู้ภัย , ทีมปฏิบัติการพิเศษ , ทีมรักษาความปลอดภัย ,ฝ่ายยานพาหนะ ,ฝ่ายเครื่องจักรกลหนัก เป็นต้น
    4.อาสาสมัคร ที่มีจิตอาสา ในการดำเนินการตามอุดมการณ์และเจตนารมณ์ เพื่อปกปักรักษา ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พระพุทธศาสนา และธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จากสาธารณภัยและมหาภัยพิบัติต่าง ๆ

    การแบ่งระดับความรุนแรงของสถานการณ์สาธารณภัย เป็นการจัดระบบในการป้องกันภัยพิบัติตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ได้แบ่งสถานการณ์สาธารณภัยออกเป็น 3 ระดับดังนี้

    1.ความรุนแรงระดับ 1 สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไป หรือมีขนาดเล็ก ซึ่งกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่สามารถควบคุมสถานการณ์และจัดการงะงับภัยได้โดยลำพัง

    2. ความรุนแรงระดับ 2 สาธารณภัยระดับกลาง เป็นภัยพิบัติซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการภายในเขตจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียง ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอ เทศบาล และเมืองพัทยา ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และจัดการระงับภัยได้ ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดจะต้องเข้าควบคุมสถานการณ์ทันที

    3. ความรุนแรงระดับ 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ (มหาภัยพิบัติ) เป็นภัยพิบัติที่มีผลกระทบรุนแรงและกว้างขวาง หรือสาธารณภัยที่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ ต้องระดมความช่วยเหลือจากทุกส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด ไม่สามารถที่จะเข้าควบคุมสถานการณ์และระงับภัยได้ ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหน่วยงานนอกจังหวัด และกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนภาค ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการ

    เมื่อเกิดสถานการณ์สาธารณภัยที่มีความรุนแรงระดับ 3 หรือ มหาภัยพิบัติ ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน ภาคราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทำการประกาศเปิดศูนย์อพยพ ส่งทีมกู้ชีพ ทีมกู้ภัย ปฏิบัติภารกิจเพื่อสนับสนุนภาครัฐในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายผู้ประสบภัย ที่ได้รับภยันตรายและความเสียหายตลอดจนปกปักรักษาพระพุทธศาสนา และธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้

    ระยะก่อนเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยความรุนแรงระดับที่ 3 หรือ มหาภัยพิบัติ

    ในระยะก่อนเกิดมหาภัยพิบัติ เป็นช่วงเวลาการเตรียมความพร้อม (Preparedness) สร้างความตระหนัก (Awareness) มีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

    การเตรียมความพร้อม

    - เตรียมความพร้อม ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) เรื่องบุคลากร เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหนัก และสถานที่ เพื่อรองรับบุคลากรผู้เข้าร่วมทำงาน ,เพื่อนมนุษย์ผู้ประสบภัย และการออกช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ฯลฯ
    - ประสานงานกับภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อผนึกกำลังในการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์สาธารณภัยขนาดใหญ่ หรือมหาภัยพิบัติ เช่น กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนภาค และส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือ ดูแลผู้อพยพ และประสานขอรับการสนับสนุนจาก องค์กรการกุศล มูลนิธิ สมาคม และภาคเอกชนอื่น ๆ
    - ให้ความรู้แก่ประชาชน และพุทธบริษัทสี่ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรับมือกับสถานการณ์สาธารณภัยขนาดใหญ่ หรือมหาภัยพิบัติ ให้สามารถช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และช่วยเหลือทางภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้
    - จัดตั้งหน่วยกู้ชีพ ,หน่วยกู้ภัย เพื่อการปฏิบัติให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งให้ความสนับสนุนภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบรรเทาสาธารณภัยทั้งในยามปกติ และสถานการณ์สาธารณภัยขนาดใหญ่ หรือมหาภัยพิบัติ
    - ซักซ้อมภารกิจ หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยกู้ชีพ ,หน่วยกู้ภัย ในด้านการปฏิบัติ และประสานการปฏิบัติ และให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    - จัดเตรียมสถานที่ปลอดภัยสำหรับการอพยพประชาชน และเครื่องอุปโภค บริโภค ที่พักอาศัยชั่วคราว และสวัสดิการอื่น ๆ ให้ทั่วถึง รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
    - ศึกษา สำรวจสถานที่สำคัญ เส้นทางคมนาคม อุปกรณ์การขนส่งเพื่อใช้ในการอพยพประชาชนจากสถานการณ์สาธารณภัยขนาดใหญ่ หรือมหาภัยพิบัติ
    - จัดเตรียมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยอพยพ
    - จัดเตรียมยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ เช่นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ไฟฉาย พลุส่องสว่าง นกหวีด เสื้อชูชีพ วิทยุสื่อสารสมัครเล่น,เครือข่าย CB 245 ฯลฯ
    - ดำเนินการในแนวทางและนโยบายของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. 2548
    - จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนอพยพจากสาธารณภัยทั่วไป และมหาภัยพิบัติ ร่วมกับทางภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
    - จัดทำคู่มือการอพยพจากมหาภัยพิบัติ ให้ประชาชนได้ศึกษา

    ระยะที่คาดว่าจะเกิดมหาภัยพิบัติ

    ในระยะที่คาดว่าจะเกิดมหาภัยพิบัติ โดยการติดตามการแจ้งเตือนโดยตรง จากระบบเตือนภัยพื้นฐานประจำหมู่บ้าน ประกอบด้วยผู้สังเกตการณ์ ซึ่งเป็นเวรยามหรืออาสาสมัครเฝ้าระวัง ณ จุดสังเกตการณ์ประจำ ในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามข่าวสารจากทางราชการและเอกชน เช่นศูนย์เตือนพิบัติแห่งชาติ,กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.), กรมทรัพยากรธรณี สำนักข่าวทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ ระบบการกระจายข่าว ระบบวิทยุสมัครเล่น เป็นต้น มีกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้

    การเตรียมการอพยพประชาชน

    การจัดลำดับความสำคัญของการอพยพ ให้แบ่งประเภทของบุคคลตามลำดับความเร่งด่วน โดยเริ่มจาก ผู้ป่วย คนทุกพลภาพ คนชรา เด็ก และสตรี ตามลำดับ
    จัดเตรียมสถานที่อพยพ ให้จัดเตรียมสถานที่อพยพไว้ล่วงหน้าตามความเหมาะสมและความจำเป็น ดังนี้

    (1) เป็นสถานที่ที่อยู่บนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตพื้นที่เสี่ยง และเป็นพื้นที่สูงพ้นน้ำท่วม
    (2) เป็นสถานที่ที่สามารถจัดการด้านสุขลักษณะได้
    (3) มีการกำหนดเส้นทางอพยพไปสู่สถานที่ปลอดภัยไว้ล่วงหน้า
    (4) มีสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภคตามสมควร

    การจัดทำแผนอพยพ โดยกำหนดรายละเอียด ดังนี้

    (1) สำรวจและทำบัญชีจำนวนผู้อพยพไว้ล่วงหน้าโดยแยกประเภทตามลำดับความเร่งด่วน
    (2) กำหนดจุดนัดหมายและพื้นที่รองรับการอพยพไว้โดยแน่นอน
    (3) กำหนดเจ้าหน้าที่ดำเนินการอพยพไว้ล่วงหน้า โดยระบุความรับผิดชอบไว้ให้ชัดเจน
    (4) สำรวจยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนระบบสื่อสารสำหรับการอพยพ
    (5) กำหนดเส้นทางอพยพหลักและเส้นทางรองที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการอพยพ
    (6) กำหนดระเบียบปฏิบัติในด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในการอพยพ การอยู่อาศัยในพื้นที่การอพยพ ตลอดจนการอพยพกลับมือเหตุการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ
    (7) ให้ความช่วยเหลือและบริการในการดำรงชีอพและระบบสุขลักษณะตามสมควร
    (8) จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมตลอดจนร่างระเบียบในการควบคุมการใช้สิ่งดังกล่าว
    (9) ให้แบ่งการจัดการในพื้นที่อพยพออกเป็นกลุ่ม และให้จัดทำทะเบียนและจัดระเบียบการจัดการ

    การแจกจ่ายคู่มือการอพยพแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจถึงวิธีการอพยพ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและดำเนินการเข้าร่วมฝึกซ้อมการอพยพ หรือการจำลองสถานการณ์ฉุกเฉิน ร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

    การประสานงานกับหน่วยงานเครือข่ายของทุกภาคส่วนแบบบูรณากา

    ในการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในทุกภาคส่วนสำหรับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเพื่อนมนุษย์ การประสานการปฏิบัติในการอพยพประชาชน ควรดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

    (1) สำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    (2) ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต (ผอ.ศูนย์ ฯ ปภ.)
    (3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    (4) ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด (ผอ.ปพร.จว.) ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด
    (5) ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอ(ผอ.ปพร.อำเภอ) ในฐานะนายอำเภอ
    (6) ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาล (ผอ.ปพร.เทศบาล) ในฐานะนายกเทศมนตรี
    (7) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่
    (8) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
    (9) ภาคเอกชน สมาคม มูลนิธิ ต่าง ๆ เป็นต้น

    ระยะที่เกิดมหาภัยพิบัติ

    การอพยพประชาชน เมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยความรุนแรงระดับที่ 3 หรือมหาภัยพิบัติ
    ประชาชน เมื่อได้รับข่าวสารการแจ้งเตือนภัยสาธารณภัยขนาดใหญ่ หรือมหาภัยพิบัติ ประชาชนต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการอพยพโดยจัดเตรียมกระเป๋าของที่มีค่า เงินสด เอกสารสำคัญ ของใช้จำเป็นส่วนตัว ยารักษาโรค อาหาร น้ำดื่มเท่าที่จำเป็น รวมถึงดูแลให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวให้อยู่ในความสงบ ก่อนออกจากบ้านเรือนต้องปิดบ้านเรือนให้มิดชิดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเดินทางไปรวมกัน ณ จุดนัดหมายโดยเร็ว
    เจ้าหน้าที่หน่วยอพยพ ต้องทราบและศึกษาเส้นทางเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย (ทั้งชุมชน หรือหมู่บ้าน และสถานที่ปลอดภัยสำหรับการอพยพ) และจะต้องตรวจสอบสภาพยานพาหนะสำหรับการอพยพให้พร้อม ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ

    แผนการอพยพกลุ่มเป้าหมายของศภม.ในสถานการณ์สาธารณภัยความรุนแรงระดับ 3 หรือมหาภัยพิบัติ

    1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ภัยพิบัติ จากหน่วยงานทางราชการ และเอกชนเช่น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จากสื่อต่าง ๆ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต และติดตามข้อมูลข่าวสารของ ศภม. ได้ที่ www.mahasurasinghanat.org หรือโทร. 085-251-9141 ,088-209-2789,088-520-9182

    2. เมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติเริ่มเกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าสถานการณ์อาจเกิดขึ้นรุนแรงระดับที่ 3 หรือมหาภัยพิบัติ ทางศูนย์ ศภม. จะประเมินสถานการณ์และประกาศตั้งศูนย์อพยพ หากพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ไม่สามารถพักอาศัยในสถานการณ์สาธารณภัยความรุนแรงระดับ 3 หรือมหาภัยพิบัติได้ จำเป็นต้องอพยพในพื้นที่ปลอดภัยที่ศูนย์ ศภม. จัดเตรียมไว้ให้ ณ อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี หรือสถานที่ปลอดภัยอื่น ๆ ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการอพยพโดยจัดเตรียมกระเป๋าของที่มีค่า เงินสด เอกสารสำคัญ ของใช้จำเป็นส่วนตัว ยารักษาโรค อาหาร น้ำดื่มเท่าที่จำเป็น รวมถึงดูแลให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวให้อยู่ในความสงบ ก่อนออกจากบ้านเรือนต้องปิดบ้านเรือนให้มิดชิดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเดินทางไปรวมกัน ณ จุดนัดหมายโดยเร็ว

    3.การเดินทางสามารถทำได้อย่างน้อยสองวิธีคือ
    1.) เดินทางด้วยรถส่วนตัว ไปยังจุดประสานงาน ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภับพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) ณ สามแยกบ้านตามูล หมู่ที่ 1 ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี บนถนนเลขที่ 317 จันทบุรี – สระแก้ว ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 55-56 ศึกษาสถานที่ตั้งได้ที่ที่ www.mahasurasinghanat.org หรือโทร . 085-251-9141 ,088-209-2789,088-520-9182

    2.) เดินทางด้วยยานพาหนะที่ทางศูนย์จัดเตรียมหรือประสานงานขอกำลังสนับสนุนไว้ โดยเดินทางไปยังจุดนัดหมายตามวัน เวลา สถานที่ ที่แจ้งใน www.mahasurasinghanat.org หรือโทร . 085-251-9141 ,088-209-2789,088-520-9182 เพื่อเดินทางไปยังจุดประสานงาน ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภับพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.)อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

    4.ลงทะเบียน ณ จุดประสานงานศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภับพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) ณ สามแยกบ้านตามูล หมู่ที่ 1 ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และเดินทางไปพักยังศูนย์อพยพที่จัดเตรียมไว้ตามความเหมาะสม เพื่อพักอาศัย พักผ่อนและปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์มหาภัยพิบัติจากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

    5. เมื่อสถานการณ์มหาภัยพิบัติคลี่คลาย หรือกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) จะประกาศแจ้งให้ทราบเพื่อปิดศูนย์อพยพ ผู้อพยพเตรียมพร้อมในการอพยพกลับสู่บ้านเรือนภูมิลำเนาของตนเอง โดยยานพาหนะที่จัดเตรียมหรือประสานงานไว้ให้ เพื่อสำรวจความเสียหาย และฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนและทรัพย์สินต่าง ๆ ของตนเองต่อไป



    แผนการสร้างที่พักอาศัยเพื่อการหลบภัย แบบชั่วคราวและถาวร ในพื้นที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

    สถานการณ์ภัยพิบัติในปัจจุบันมีความถี่และความรุนแรงที่มากขึ้น ดังกรณีของการเกิดมหาอุทกภัยน้ำท่วม ปี 54 ที่ผ่านมา อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยาทั้งในประเทศเทศและต่างประเทศได้ เผยแพร่ข้อมูลมหานครทั่วโลกที่มีความเสี่ยงในการจมน้ำจากสถานการณ์ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ตลอดจนโอกาสเกิดมหาภัยพิบัติครั้งใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้น ไม่มีใครที่จะยืนยันได้ว่า เหตุการณ์มหาอุทกภัยที่มีความรุนแรงเท่าปี 54 หรือมากกว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ เป็นวงกว้าง เพราะพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเป็นเส้นทางของน้ำจากเขื่อนไหลระบายออกสู่ทะเล และพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียงไม่กี่เมตร อีกทั้งยังเสี่ยงต่อน้ำทะเลที่เพิ่มระดับสูงขึ้นในทุก ๆ ปีเพราะปรากฏการณ์สภาวะโลกร้อน (Global warming)

    การหาทำเลที่พักอาศัย สถานที่ตั้งกิจการ ภาคเศรษฐกิจ หรือหน่วยงานของภาครัฐที่สำคัญ ๆ ในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ในระยะยาว จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วเราอาจจะต้องประสบปัญหาภัยพิบัติซ้ำซากในทุก ๆ ปี ก็เป็นได้
    ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ปลอดภัยหลาย ๆ จุดด้วยกัน จากมหาภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระดับ 30-40 เมตรขึ้นไป ไม่อยู่ในแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก และภูเขาไฟที่กบดานอยู่อย่างเงียบเชียบในประเทศไทย หรืออยู่ในแนวการไหลของน้ำที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่

    พื้นที่จุดศูนย์กลางที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ก็เป็นพื้นที่หนึ่งในประเทศไทย ที่คาดว่าจะปลอดภัยจากมหาภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ เหมาะสำหรับการตั้งที่พักอาศัย สถานที่ตั้งกิจการ ภาคเศรษฐกิจ หรือหน่วยงานของภาครัฐที่สำคัญ ๆ เพราะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร มีเทือกเขาสอยดาวเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันวาตภัย หรือพายุขนาดรุนแรงจากด้านอ่าวไทย อีกทั้งป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี ประชาชนเป็นมิตร พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรอง ทั้งคามวาสีและอรัญวาสี สามารถรองรับผู้คนที่ต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการปกปักรักษา พระพุทธศาสนา ท่ามกลางสถานการณ์มหาภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ

    ศูนย์ปฏิบัติการรับมือมหาภัยพิบัติ มหาสุรสิงหนาท (ศภม.) จึงเลือกพื้นที่ อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ โดยจัดหาที่ดินและเงินทุนเพื่อตั้งอาคารสำนักงาน และสถานที่พักอาศัยรองรับผู้อพยพ นอกเหนือศูนย์อพยพอื่น ๆ ที่ประสานงานไว้ เช่นวัด โรงเรียน ที่ดินหรืออาคารขนาดใหญ่ของราชการและเอกชนที่สามารถจัดตั้งศูนย์อพยพได้ รวมทั้งจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักรกลหนัก เพื่อจัดตั้งทีมกู้ชีพ ทีมกู้ภัย ทีมปฏิบัติการพิเศษ ในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ปกปักรักษาพระพุทธศาสนา และธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ในสถานการณ์มหาภัยพิบัติ

    อ้างอิง

    - แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ.2548 แผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหมแผนแม่บทการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน สำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)เอกสารประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทยแถลงการณ์และมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 27 / 2554
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2012
  2. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ขอบคุณมากค่ะ

    อ่านแล้ว ข้อมูลดีมาก แต่จะทำได้หรือไม่ นะ .. ? ลุ้นๆๆๆ เอาใจช่วย

    เป็นห่วงว่า ภัยแต่ละอย่างอาจทยอยเกิด ไม่พร้อมกัน การวางแผนหาที่ปลอดภัยไว้ก่อนล่วงหน้า น่าจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
    เพราะส่วนตัวเชื่อว่ายังไงๆ ก็ต้องเกิดอยู่ดี

    สำหรับท่านที่ไม่เชื่อ คงว่ากันอีกประเด็น
     
  3. Twana

    Twana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +725
    Hullo Hullo (f) ป้าเอง คิดถึงทั้ง 2 คน นะคะ
     
  4. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452

    อิ๊ อิ๊... คิดถึงเหมือนกัน ก่อนภัยพิบัติ ว่าจะชวนมาขึ้นบ้านใหม่อยู่นา
    คุงป้าขา :z4:z4
     
  5. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    นับว่าเป็นประโยชน์ครับ แต่จะกระทำได้แค่ไหนและจะแก้ไขได้ทันท่วงทีหรือเปล่า หรือจะส่งผลกระทบรุนแรงมากมายอย่างไร จะต้องดูทันอีกที....ภัยธรรมชาติไม่เรื่องง่ายที่จะแก้ไข อย่างไรก็ดีก็ขอขอบคุณในโครงการดี ๆ นี้
     
  6. Twana

    Twana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +725
    ok ok ชวนด้วยนะ จะรอค่า
     
  7. moopanda_kae

    moopanda_kae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    546
    ค่าพลัง:
    +1,107
    เข้ามากระติดข่าวค่ะ งานสัมมนาเมื่อวานขอบคุณมากๆ นะคะ ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะได้อะไรดีกว่าที่คาดหมายจริงๆค่ะ อิอิ ^___^
     

แชร์หน้านี้

Loading...