เรื่องเด่น โลกทุบสถิติร้อนที่สุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 7 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8aae0b896e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b8aae0b8b8e0b894e0b895.jpg
    สหประชาชาติยืนยันว่า ในช่วง 4 ปีหลังนี้โลกร้อนสูงสุดต่อเนื่องติดต่อกัน นับตั้งแต่เราเริ่มบันทึกอุณหภูมิของโลก ชี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” นั้นจะเดินหน้าต่อไปอีกเป็นระยะเวลายาวนาน

    รายงานจากเอเอฟพีเผยว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meterological Organization) ขององค์การสหประชาชาติ ได้ระบุไว้เมื่อเดือน พ.ย.ปีที่ผ่านมา ปี ค.ศ.2018 ถูกจัดให้เป็นปีที่ร้อนสูงสุดเป็นอันดับ 4 นับตั้งแต่มีบันทึกอุณหภูมิโลก พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องลงมือควบคุมภาวะโลกร้อนที่กำลังเร่งเครื่องขึ้นเรื่อยๆ

    ล่าสุดองค์การอุตุนิยมวิทยายังได้น้ำข้อมูลอุณหภูมิโลกช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของปี 2018 ที่ผ่านมาเข้าไปร่วมคำนวณในแบบจำลองทางภูมิอากาศ และได้ข้อสรปว่า อุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยเมื่อปี 2018 นั้นสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม 1 องศาเซลเซียส

    ส่วนปีที่ร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือปี 2016 ซึ่งได้แรงหนุนจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ที่ทำให้ปีดังกล่าวร้อนมากขึ้น อีกทั้ง 20 ปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ยังเกิดขึ้นในช่วง 22 ปีหลังมานี้ด้วย

    เพตเตอรี ตาลัส (Petteri Taalas) เลขาธิการทั่วไปขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าวว่าแนวโน้มของอุณหภูมิระยะยาวนั้นมีความสำคัญมากกว่าอันดับอุณหภูมิรายปี และแนวโน้มระยะยาวคืออุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งบอกด้วยว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้นผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ทั้งบนบกและในมหาสมุทร

    ทางด้านองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นยังก่อให้เกิดสภาพอากาศที่วิปริตหลายๆ อย่าง เช่น พายุเฮอริเคน ภัยแล้ง และน้ำท่วมฉับพลัน โดยตาลัสกล่าวว่า สภาพอากาศรุนแรงหลายอย่างนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เราคาดว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และเป็นเรื่องจริงที่เราจำเป็นต้องเผชิญหน้า

    ทางด้านสหประชาชาติระบุด้วยว่า ปี ค.ศ.2019 นี้ยังรับเอาสิ่งที่ปี ค.ศ.2018 หลงเหลือไว้ ตัวอย่างเช่นออสเตรเลียที่เผชิญอากาศเดือน ม.ค.ที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเตือนด้วยว่า คลื่นความร้อนที่รุนแรงนั้นจะเกิดถี่ขึ้นมาก เนื่องจากผลพวงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    นอกจากนี้ยังมีรายงานที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับภูมิอากาศ ที่เผยแพร่โดยองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) และองค์การบริหารมหาสมุทรศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ (NOAA) ยืนยันว่าปี 2018 ที่ผ่านมาคือปีที่โลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่

    อีกทั้งมีรายงานสังเกตการณ์ว่าทะเลน้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกและแอนตาร์กติกนั้น ทำสถิติลดเหลือต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

    ด้านโนอาแถลงด้วยว่ามีภัยพิบัติจากสภาพอากาศเลวร้าย 14 เหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียคิดเป็นมูลค่ามากกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยระบุว่า เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนอย่างน้อย 247 ราย และคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 9.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท

    ส่วนปรากฏการณ์ลมหมุนขั้วโลก หรือ โพลาร์วอร์เทกซ์ (polar vortex) ที่เกิดขึ้นในภาคตะวันตกตอนกลางของสหรัฐฯ จนทำให้อุณหภูมิลดต่ำถึง -53 องศาเซลเซียสนั้น ทางตาลัสจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกกล่าวว่าเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงภาวะขั้วโลกที่ร้อนขึ้น ซึ่งความหนาวเย็นของละติจูดที่ต่ำลงมาจากขั้วโลกก็เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลที่แถบอาร์กติก

    “สิ่งที่เกิดขึ้นที่ขั้วโลกไม่ได้คงอยู่แค่ขั้วโลกเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อสภาพอากาศและลักษณะภูมิอากาศของละติจูดที่อยู่ด้านล่างลงมา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีประชาชนหลายล้านคนอาศัยอยู่” ตาลัสกล่าว

    ยิ่งโลกยังคงเดินหน้าพึ่งพิงพลังงานฟอสซิลมากเท่าไร ก๊าซเรือนกระจกก็ยิ่งสะสมเพิ่มมากขึ้น และกักเก็บความร้อนไว้ในชั้นบรรยากาศ ซึ่ง โรวาน ซัตตัน (Rowan Sutton) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศสหรัฐฯ (National Centre for Atmospheric Science: NCAS) กล่าวว่าลักษณะเช่นนี้หมายถึงสถิติปีที่โลกร้อนที่สุดจะเกิดขึ้นตามมาอีกเรื่อยๆ
    “อีก 5 ปีจากนี้อุณหภูมิที่ร้อนจัดอย่างที่เห็นทุกวันนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ และอาจจะเกิดอุณหภูมิที่ร้อนมากยิ่งขึ้นอีก เป็นไปได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีอาจจะทำสถิติใหม่ทุกปี” ซัตตันกล่าว

    สอดคล้องกับที่ ไบรอัน ฮอสกินส์ (Brian Hoskins) ประธานสถาบันแกรนแธม มหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน เห็นด้วยกับคาดการณ์ดังกล่าว และเปรียบเปรยการขาดมาตรการที่เด็ดขาดต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศว่า เราเป็นเหมือนนักไต่เขาที่พยายามไต่ขึ้นสู่ที่สูง ทั้งที่รู้ว่าจะไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่ที่ความสูงระดับหนึ่ง แต่เราก็ยังคงไต่ขึ้นไป
    b8aae0b896e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b8aae0b8b8e0b894e0b895-1.jpg
    b8aae0b896e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b8aae0b8b8e0b894e0b895-2.jpg
    b8aae0b896e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b8aae0b8b8e0b894e0b895-3.jpg
    b8aae0b896e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b8aae0b8b8e0b894e0b895-4.jpg

    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/science/detail/9620000013391
     

แชร์หน้านี้

Loading...