เรื่องเด่น UN เผยระดับ ‘ก๊าซเรือนกระจก’ ทั่วโลก สูงสุดในรอบ 8 แสนปี!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 1 พฤศจิกายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    8D45F103-1DA7-4A95-82FB-00FFF34CB2B7_cx0_cy5_cw0_w1597_n_r1_s.jpg


    Pop-out player

    องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO เผยระดับก๊าซเรือนกระจก สร้างสถิติสูงสุดในรอบ 8 แสนปี และได้ส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนหลายร้อยล้านชีวิตทั่วโลกแล้ว

    รายงานระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก ที่จัดทำโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ก่อนการประชุมองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในสัปดาห์หน้า ที่เมือง Bonn ของเยอรมนี เพื่อส่งสัญญาณไปยังนานาประเทศว่าเวลาในการจัดการกับปัญหาโลกร้อนนั้น ใกล้หมดลงเต็มที

    รายงานฉบับนี้ เปิดเผยว่า จากการติดตามความเปลี่ยนแปลงของระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอด 8 แสนปีที่ผ่านมา พบว่า เมื่อปีที่แล้วมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศทำสถิติสูงสุด มากกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมราว 145%

    ซึ่งมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวงจรของสภาพอากาศโลก ที่อาจนำไปสู่ภัยพิบัติเลวร้ายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    1D3E668A-CFE1-4596-9F5D-3A5443D40D39_w1597_n_r0_s.jpg


    Petteri Taalas เลขาธิการ WMO บอกว่า เรามาไกลเกินกว่าระดับความผันผวนแปรปรวนตามธรรมชาติไปแล้ว และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยิ่งเร่งกระบวนการที่หลายคนหวาดกลัวให้รวดเร็วขึ้น เราได้เห็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 3 เท่าตัว นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980

    ในรายงานฉบับนี้ ยังได้ย้ำว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มอุณหภูมิให้กับโลกมากถึง 60% และต้นตอสำคัญของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็มาจากฝีมือมนุษย์

    และตอนนี้สุขภาพร่างกายของมนุษย์ กำลังรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนโดยไม่รู้ตัว

    วารสารการแพทย์ Lancet ของอังกฤษ ฉบับล่าสุด ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำลายสุขภาพของมนุษย์มานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเกิดในกลุ่มประเทศยากจน และคนสูงอายุจะได้รับผลกระทบมากที่สุด

    ในรายงานที่อิงจากการศึกษาวิจัยของ 24 หน่วยงาน ซึ่งรวมถึงธนาคารโลก หรือ World Bank และองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า ผู้คนกว่า 125 ล้านคนทั่วโลก เผชิญกับคลื่นความร้อนในระดับอันตรายมาตั้งแต่ปี 2000-2016 ผลผลิตทางการเกษตรลดลงกว่า 5% ในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะเกษตรกรไม่สามารถออกไปทำการเกษตรได้เหมือนก่อน นำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร รวมทั้งโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้นจากภาวะโลกร้อน ที่ส่วนใหญ่จะมีแมลงดูดเลือดและยุงเป็นพาหะ

    รายงานจากวารสารการแพทย์ Lancet ได้เตือนว่า อาการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนจะแสดงอาการชัดเจนและไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้

    เลขาธิการ WMO ออกมาเตือนด้วยว่า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นถึงระดับอันตรายในอีกราว 80 ปีข้างหน้า หากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน

    โดยเสนอให้ผลักดันการพัฒนาพลังงานทดแทนในระบบขนส่งมวลชน และการสนับสนุนเทคโนโลยีที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ หรือ Low Carbon Technologies

    ขอบคุณที่มา
    https://www.voathai.com/a/greenhouse-gas/4094914.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 พฤศจิกายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...