ระทึก! ลาว แผ่นดินไหว ขนาด6.4 แรงสั่นเขย่าไทยหลายจังหวัด สะเทือนถึงกรุงเทพฯ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 21 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b89be0b8b9e0b899e0b981e0b895e0b881e0b8a3e0b989e0b8b2e0b8a7-e0b980e0b8abe0b895e0b8b8e0b8a5e0b8b2.jpg

    21 พฤศจิกายน 2562


    407

    ลาวแผ่นดินไหว กระทบจังหวัดเลย แรงสั่นสะเทือนส่งผลให้โรงพยาบาลมีรอยปูนร้าว


    เมื่อเวลา 04.03 น. วันที่ 21 พ.ย.62 เกิดเหตุแผ่นดินไหวจุด ศูนย์กลางอยู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ขนาด 5.9 ริกเตอร์ ลึก 5 กิโลเมตร ห่างจาก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 19 กิโลเมตร และเวลา 06.50 น. เกิดแผ่นดินไหวซ้ำบริเวณใกล้เคียงจุดเดิม ขนาด 6.4 ริกเตอร์ ความลึก 3 กิโลเมตร และเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้ง

    ในส่วนของ จ.เลย สามารถรับรู้ แรงสั่นสะเทือนได้ในหลายอำเภอ เบื้องต้นได้ตรวจสอบข้อมูลกับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังไม่ได้รับราย งานความเสียหาย ในส่วนของโรงพยาบาลเลย ซึ่งมีอาคารสูงหลายอาคาร ได้รับรายงานว่าตึกสงฆ์บูรพาจารย์ มีรอยร้าวตามมุมห้อง ฝ้าเพ ดานและบริเวณดาดฟ้าบางส่วน แต่ไม่กระทบกับโครงสร้างพื้นฐาน จังหวัดได้ประสานงานสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเลย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เทศบาลเมืองเลย และฝ่ายช่างของโรงพยาบาลเลย ตรวจสอบความเสียหาย พบว่ามีรอยร้าวเล็กน้อย ได้อพยพผู้ป่วยห้องพิเศษ ชั้น 6 จำนวน 7 เตียง ไปยังที่ปลอดภัย และได้สำรวจโดยละเอียดและซ่อมแซมจุดที่เกิดรอยร้าวให้กลับคืนสภาพเดิมต่อไป

    อ่านข่าว-‘วังเหนือ’ เฝ้าระวังแผ่นดินไหวตลอด24ชม. หวั่นเกิดเหตุ

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง




    ข่าวอื่นๆ ในเครือ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855442
     
  2. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    แนะอาคารสูงทั่วกรุงตรวจสอบรอยร้าว หลังแผ่นดินไหวลาวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา สั่งจับตาแผ่นดินไหวที่มาจากทิศตะวันตกและประเทศเมียนมา

    ผศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ นักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ( สกสว.) จากมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เบื้องต้นเชื่อว่าเกิดบนรอยเลื่อนน้ำเป็ง ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่อำเภอปัว เมื่อปี พ.ศ.2478 ที่ระยะห่างประมาณ 30 กม. ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่เป็นจำนวนมากจึงเกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้ง ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมามีแผ่นดินไหวขนาดกว่า 6.0 เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อประเทศไทย เมียนมา และลาวกว่า 7 ครั้ง รวมทั้งครั้งนี้ด้วย

    e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8b9e0b887e0b897e0b8b1e0b988e0b8a7e0b881e0b8a3e0b8b8e0b887e0b895e0b8a3e0b8a7.png


    ทั้งนี้ สำหรับผู้อยู่อาศัยบนอาคารสูงในกรุงเทพมหานครนั้นสามารถรับรู้ถึงแผ่นดินไหวได้ประมาณปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ระยะไกล เนื่องจากการพัฒนาอาคารสูงตามการพัฒนาของเศรษฐกิจในระยะหลัง บุคคลทั่วไปรับรู้แผ่นดินไหวได้มากขึ้นกว่าในอดีต ที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้ศึกษาผลกระทบดินอ่อนต่ออาคารในกรุงเทพมหานคร และพัฒนามาตรฐานการออกแบบแผ่นดินไหวครอบคลุมทุกอำเภอและกรุงเทพมหานคร โดยมาตรฐานแผ่นดินไหว (มยผ 1302-61) ซึ่งเผยแพร่โดยกรมโยธาและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กำหนดค่าการออกแบบสำหรับวิศวกรในการออกแบบตึกสูงให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครได้ แต่แม้ว่าจะเผยแพร่มาตรฐานดังกล่าวแล้วประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจถึงการนำไปใช้ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่จะต้องพิจารณาให้นำมาใช้ในการออกแบบอาคาร

    สำหรับอาคารในกรุงเทพมหานคร ยังจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดการสั่นไหวในบริเวณแอ่งดินอ่อนเพิ่มขึ้น เพื่อให้วิศวกรนำค่าดังกล่าวไปออกแบบอาคารให้ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เจ้าของอาคาร นิติบุคคล และผู้ใช้งานอาคารสามารถรับทราบถึงความปลอดภัยของอาคารในเวลาที่รวดเร็ว โดยผลการวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวที่วัดได้ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลยา พบค่าความเร่งสูงสุดเท่ากับ 0.002 g ซึ่งเป็นค่าการสั่นไหวที่ต่ำแต่คนทั่วไปอาจรู้สึกได้ ทว่ายังมีความปลอดภัยจึงไม่จำเป็นต้องระงับการใช้งานอาคาร

    b8b2e0b8a3e0b8aae0b8b9e0b887e0b897e0b8b1e0b988e0b8a7e0b881e0b8a3e0b8b8e0b887e0b895e0b8a3e0b8a7-1.png

    ด้านศ. ดร.อมร พิมานมาศ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ในระดับกลางและระยะไกลแต่ส่งผลให้อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานครได้รับแรงสั่นสะเทือน ทั้งนี้อยากแนะนำให้เจ้าของอาคารตรวจสอบอาคารของตนว่ามีรอยร้าวที่บริเวณใดบ้าง เช่น เสา คาน ผนังอาคาร เป็นต้น หากพบรอยร้าวควรแจ้งวิศวกรเข้าตรวจสอบ และควรให้ความใส่ใจกับแผ่นดินไหวที่มาจากทิศตะวันตกและประเทศเมียนมา ซึ่งมีรอยเลื่อนที่มีพลังคือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รวมถึงรอยเลื่อนสะแกงในประเทศเมียนมาซึ่งอาจเกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรงถึง 8.5 และส่งผลกระทบให้อาคารในกรุงเทพมหานครได้รับความเสียหาย

    ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์

    Add Friend Follow ขอบคุณที่มา
    https://www.thebangkokinsight.com/242441/
     
  3. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8b4e0b89b-e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b980e0b882e0b8a2e0b988.jpg

    เปิดคลิปและภาพเหตุการณ์ขณะที่คนงานในเขื่อนไฟฟ้าหงสา แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว บันทึกไว้ขณะที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศลาว เมื่อเช้าตรู่วันที่ 21 พ.ย. 2562 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสั่นสะเทือน และคนงานที่กำลังทำงานอยู่ได้หลบออกจากตัวอาคารเพื่อความปลอดภัย ท่ามกลามความแตกตื่นตกใจของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บ้านเรือนประชาชนชาวเมืองหงสา และอีกหลายเมืองของแขวงไซยะบุรี ได้รับความเสียหาย อาคารหลายหลังแตกร้าว ฝ้าเพดานพังลงมา บ้านบางหลังทรุดตัวลง เสาศาลาวัดซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่แตกร้าวอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่กรมอุตุนิยมและอุทกศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว ได้ออกประกาศว่า ในวันที่ 21 พ.ย.2562 ได้เกิดมีสภาพแผ่นดินไหวในขอบเขต สปป.ลาว 18 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 มีความรุนแรง 5.9 ริกเตอร์ เวลา 04.03 น. ครั้งที่ 17 มีความแรง 6.4 ริกเตอร์ เวลา 06.50 น. อยู่เมืองหงสา แขวงไซยะบุรี และรู้สึกสั่นสะเทือนในบรรดาแขวงทางเหนือ จนถึงนครหลวงเวียงจันทน์ ดังนั้นจึงแจ้งให้ประชาชนที่อยู่ในเขตดังกล่าวจงมีสติ ระวังตัว ต่อสถานการณ์เกิดแผ่นดินไหว และให้ติดตามข้อมูลจากกรมอุตุนิยมและอุทกศาสตร์เป็นระยะ ในขณะที่จังหวัดหนองคายเองก็สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของเหตุแผ่นดินไหวในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ลักษณะโคลงเคลง สั่นไหว พบว่าชาวหนองคายมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหตุการณ์แผ่นดินไหว อาฟเตอร์ช็อกผ่านเฟซบุ๊กกันอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย https://youtu.be/gKL5JlfAm_k



    matichon


    ขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/social/news_1762718
     
  4. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b2e0b8a1-e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-6-4-e0b897e0b8b5e0b988.jpg
    เช้าวันนี้ (21พ.ย.2562) ชาวไทยต่างตื่นเต้นตกใจกับแรงสั่นสะเทือนที่สัมผัสได้ในอาคารสูงต่างๆในภาคอีสาน มาถึงกรุงเทพมหานครในช่วงประมาณ 07.00 น.

    กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 06.50น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ลึก 3 กม. มีจุดศูนย์กลางที่แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว อยู่ในทิศตะวันออกฉียงใต้ ของบ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 25 กิโลเมตร

    แรงสั่นสะเทือน รู้สึกได้ถึงภาคตะวันออกฉียงเหนือของไทย มาจนถึงกรุงเทพมหานคร … อาคารสั่นไหวประมาณเกือบ 1 นาที

    ก่อนหน้านั้น เวลา 04.03น. เกิดแผ่นดินไหวที่จุดเดียวกันนี้ใน สปป.ลาว มาแล้ว ขนาด 5.9 มีอาฟเตอร์ช็อคตามมาหลายครั้ง ก่อนจะมาเกิดขนาด 6.4

    คำถาม คือ ทำไมเกิดแผ่นดินไหวครั้งหลัง จึงแรงกว่าครั้งแรก … ทำให้มีความกังวลตามมาว่าจะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวที่แรงกว่า 6.4 อีกหรือไม่ และอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร ปลอดภัยหรือไม่ … มีคำตอบ

    ดร.ไพบูลย์ นวลนิล นักแผ่นดินไหววิทยา หนึ่งเดียวในประเทศไทย อธิบายว่า การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ในเวลา 04.03น. และเกิดอาฟเตอร์ช็อกที่เล็กลงตามมาแล้ว ก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวที่ใหญ่กว่า คือขนาด 6.4 และมีอาฟเตอร์ช็อกที่เล็กลงเรื่อยตามมาอีก อาจจะเรียกว่า “ดับเบิ้ลช็อก” ก็ได้ แต่โดยหลักการแล้ว การที่แผ่นดินไหวที่เกิดก่อนมีขนาดเล็กกว่า จะเรียกว่า Foreshock ซึ่งเกิดขึ้นได้ โดยถือว่า 6.4 เป็น Mainshock

    ส่วนคำถามว่า หลังจากนี้มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวที่จุดเดิมในขนาดที่มากกว่า 6.4 หรือไม่ ดร.ไพบูลย์ แสดงความมั่นใจจากข้อมูลที่วัดได้ว่าจะไม่เกิดแผ่นดินไหวที่ใหญ่กว่านี้แล้ว โดยถึงเวลานี้ อาฟเตอร์ช็อกที่รุนแรงที่สุด มีขนาด 4.8 เมื่อเวลา 07.57น. และในทางวิชาการ หากจะมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาในขนาดใหญ่ ก็จะมีขนาดไม่เกิน 5.4 โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ขนาด 2 ถึง 3 เท่านั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่ใหญ่กว่า 6.4 อีกในรอบนี้

    ดร.ไพบูลย์ ให้ข้อมูลว่า แผ่นดินไหวที่ สปป.ลาว อยู่ในลักษณะที่ต่างจากใน ญี่ปุ่น หรือ ฟิลิปปินส์ ซึ่งในกลุ่มนั้นเรียกว่า Multipleshock เป็นพื้นที่ที่อยู่ตามแนวมุดตัว มีพลังงานเยอะ ไม่สามารถปลดปล่อยได้หมดภายใน 1–2 ครั้ง ซึ่งมีรูปแบบการสะสมพลังงานต่างจากที่ สปป.ลาว

    ส่วนสาเหตุที่แรงสั่นสะเทือนทำให้รู้สึกได้ไกลถึงกรุงเทพมหานคร นักแผ่นดินไหววิทยา อธิบายว่า เป็นผลกระทบจากคลื่นแผ่นดินไหวที่เรียกว่า “คลื่นพื้นผิว” ซึ่งมีความสูงของรูปคลื่นสูงที่สุด การปลดปล่อยคลื่นพื้นผิวจะใช้เวลายาวประมาณ 10-20 วินาที บางครั้งอาจถึง 30 วินาที ทำให้รู้สึกถึงแรงเขย่าอยู่ซักพักหนึ่ง และมีพลังงานมากพอที่จะสัมผัสได้ถึงกรุงเทพมหานคร แต่ยืนยันได้ว่า ด้วยระยะทางที่ไกลจากจุดศูนย์กลางมาก จะไม่ส่งผลกระทบในกรุวงเทพมหานครแน่นอน

    นักแผ่นดินไหววิยา บอกด้วยว่า แผ่นดินไหวขนาด 6.4 พื้นที่ที่อยู่เกินรัศมี 50 กิโลเมตร แม้จะรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ แต่จะไม่ได้รับผลกระทบ

    ประเด็นสำคัญที่ ดร.ไพบูลย์ กล่าวถึงอีกประเด็นหนึ่ง คือ “เขื่อนไซยะบุรี” ซึ่งมีความเห็นในโลกออนไลน์แสดงความกังวลกันมาก

    ดร.ไพบูลย์ เห็นว่า เขื่อนไซยะบุรี ถูกบังคับด้วยมาตรฐานสากลให้ต้องออกแบบเพื่อรับแรง “อัตราเร่งพื้นดิน” (Gravity) ได้อย่างต่ำที่สุด คือ 0.1G(Gravity)อยู่แล้ว และจุดที่ตั้งเขื่อนอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 55 กิโลเมตร ซึ่งแม้ว่าแผ่นดินไหวขนาด 6.4 จะมีแรงประมาณ 0.5-0.6G แต่เมื่อเดินทางไปถึงตัวเขื่อนจะเหลือแรงอัตราเร่งพื้นดินเพียงนิดเดียว ไม่มีทางส่งผลกระทบต่อตัวเขื่อน โดยเฉพาะกลุ่มเขื่อนที่อยู่ในแนวรอยเลื่อนทั้งหลาย รวมทั้ง “เขื่อนศรีนครินทร์” จะถูกออกแบบเผื่อไว้เพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว

    ส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ดร.ไพบูลย์ เห็นว่า พื้นที่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย แม้จะเป็นบ้านชั้นเดียว เพราะไม่ถูกบังคับตามกฎหมายให้ต้องก่อสร้างตาม “มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหว” โดยมาตรฐานนี้ บังคับใช้กับอาคารสาธารณะ 2 ชั้นขึ้นไป เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม แต่ ดร.ไพบูลย์ ก็เห็นว่า นี่ยังไม่ใช่สิ่งที่น่าวิตกมากนัก เว้นแต่การก่อส้างนั้นจะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจริงๆ เพราะในประเทศไทย ไม่เคยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่เป็นเขตเมือง

    b8b2e0b8a1-e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-6-4-e0b897e0b8b5e0b988-1.jpg

    b8b2e0b8a1-e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-6-4-e0b897e0b8b5e0b988-2.jpg

    b8b2e0b8a1-e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-6-4-e0b897e0b8b5e0b988-3.jpg

    b8b2e0b8a1-e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-6-4-e0b897e0b8b5e0b988-4.jpg

    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000111839
     
  5. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b980e0b882e0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b8b2e0b8a7-e0b984e0b8a1.jpg

    21 พฤศจิกายน 2562


    58

    เหตุแผ่นดินไหวที่ลาวเช้านี้ ไม่กระทบการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ลาว กว่า 400 กม.


    บริษัท ลาว-ไชน่า เรลเวย์ ซึ่งรับผิดชอบการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวที่วิ่งผ่านทางภาคเหนือของประเทศลาว เปิดเผยในวันนี้ (21 พ.ย.) ว่า การก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางดังกล่าว ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวแต่อย่างใด

    ด้าน นายบุญพัตร อินทปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดไชยบุรีของลาวเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวของเวียงจันทน์ ไทม์ส หนังสือพิมพ์ออนไลน์ท้องถิ่นของลาวว่า ทุกเขตของจังหวัดไชยบุรีอาจได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว โดยเขตหงสาได้รับผลกระทบมากที่สุด

    เขาระบุว่า “บางอาคารได้รับความเสียหาย แต่ทางจังหวัดยังไม่ได้รับรายงานโดยละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายหรือผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต”

    นายบุญพัตร กล่าวด้วยว่า ทางจังหวัดได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปยังทุกเขตเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวดังกล่าวแล้ว

    นาย เด่นมณี เกล้าสวัสดิ์ ชาวบ้านที่อยู่ในจังหวัดไชยบุรีเปิดเผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า ตนเองตื่นเพราะแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

    “ลูกของผมก็ตื่นขึ้นด้วยเช่นกัน เธอถามผมว่าเช้านี้มีการก่อสร้างนอกบ้านหรือไม่ และผมบอกกับเธอว่าเป็นแผ่นดินไหว” เขากล่าวทางโทรศัพท์เช้านี้

    อย่างไรก็ตาม สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.1 แมกนิจูดที่บริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวในช่วงเช้าวันนี้ เมื่อเวลาประมาณ 06.50 น. โดยแผ่นดินไหวเกิดที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร ทั้งนี้ ทางรถไฟดังกล่าวความยาว 414.332 กิโลเมตร พร้อมด้วยอุโมงค์ความยาว 198 กม.และสะพานที่มีความยาว 62 กม. จะเริ่มจากประตูชายแดนที่หมู่บ้านบ่อเต็นทางภาคเหนือของลาวซึ่งอยู่ติดกับชายแดนจีน ไปยังเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ซึ่งจะมีการเดินรถไฟความเร็ว 160 กม.ต่อชั่วโมง

    ข่าวอื่นๆ ในเครือ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855468
     
  6. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3.jpg
    ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – เจ้าอาวาสวัดล่ามช้าง จังหวัดเชียงใหม่ สำรวจความเสียหายองค์เจดีย์อายุหลายร้อยปี หลังแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศลาวแต่สะเทือนถึง เบื้องต้นยังไม่เสียหายเพิ่มเติมจากปี 57 ที่เชียงรายไหวหนัก

    [embedded content]

    b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3-1.jpg
    ตามที่วันนี้ (21 พ.ย. 62) เวลา 04.03 น. ตามเวลาในประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาดแรงสั่นสะเทือน 5.9 ที่ประเทศลาว ใกล้ชายแดนประเทศไทยด้านจังหวัดน่าน ซึ่งแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งตามมาด้วยนั้น เช้าวันนี้ ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระครูปลัดอานนท์ วิสุทโธ เจ้าอาวาสวัดล่ามช้าง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกสำรวจความเสียหายบริเวณโดยรอบวัด โดยเฉพาะตัวองค์เจดีย์ล่ามช้างซึ่งเป็นพระเจดีย์เก่าแก่อยู่คู่กับวัดมานานหลายร้อยปี

    เบื้องต้นไม่พบว่ามีความผิดปกติหรือความเสียหายเพิ่มเติม โดยจากการสังเกตด้วยสายตา อย่างไรก็ตาม คงต้องรอให้กรมศิลปากรเข้ามาตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากขณะนี้องค์เจดีย์ก็ยังอยู่ในช่วงของการบูรณะซ่อมแซมจากเหตุการณ์ฝนตกหนักเมื่อหนึ่งเดือนที่ผ่านมาจนเป็นเหตุให้มีความชื้นสะสมในองค์เจดีย์และปูนที่ฉาบองค์เจดีย์กะเทาะล่อนออกมาจนต้องทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง โดยเมื่อครั้งแผ่นดินไหวใหญ่ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557 ในครั้งนั้นจังหวัดเชียงใหม่เองก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนจนเป็นเหตุให้องค์พระเจดีย์ล่ามช้างเกิดความชำรุดเสียหาย โดยองค์เจดีย์แตกร้าวอย่างเห็นได้ชัดจนกรมศิลปากรต้องทำการบูรณะครั้งใหญ่ในปีต่อมา

    อย่างไรก็ตาม แตกต่างจากแผ่นดินไหวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา แม้ว่าจะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ขณะที่ตัวท่านเจ้าอาวาสเองกลับจากการบิณฑบาต พอมาถึงที่ศาลาวัดเป็นช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวตอนแรกนึกว่าตัวท่านมีอาการวิงเวียนศีรษะ แต่พอเห็นโคมไฟและข้าวของมีการสั่นไหวถึงมั่นใจได้ทันทีว่าเป็นเหตุแผ่นดินไหว หลังจากนั้นช่วงสายก็ได้ออกสำรวจความเสียหายต่างๆ ซึ่งเบื้องต้นก็ยังไม่พบสิ่งผิดปกติทางด้านล่างและตัวฐานขององค์เจดีย์ ส่วนยอดเจดีย์ล่ามช้างด้านบนก็ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรมาสำรวจโดยละเอียดอีกครั้ง

    ขณะที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายเข้ามา ขณะเดียวกัน สำนักงานชลประทานเชียงใหม่แจ้งว่า 2 เขื่อนหลัก ทั้งเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เบื้องต้นก็ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

    b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3-2.jpg

    b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3-3.jpg

    b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3-4.jpg

    b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3-5.jpg

    b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3-6.jpg

    b8b2e0b980e0b88ae0b8b5e0b8a2e0b887e0b983e0b8abe0b8a1e0b988e0b980e0b8a3e0b988e0b887e0b8aae0b8b3-7.jpg


    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/local/detail/9620000111692
     
  7. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b8a7e0b8aae0b8b0e0b980e0b897e0b8b7e0b8ade0b899e0b896e0b8b6.jpg
    พิษณุโลก – แผ่นดินไหวใน สปป.ลาว-ชายแดนน่านรับรู้ถึงชาติตระการ ทำบ้านร้าว 3 หลัง

    b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b8a7e0b8aae0b8b0e0b980e0b897e0b8b7e0b8ade0b899e0b896e0b8b6-1.jpg
    วันนี้ (21 พ.ย.) หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่องข้ามคืนใน สปป.ลาว ซึ่งศูนย์กลางอยู่ใกล้ชายแดน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ของไทย ส่งผลให้มีความรู้สึกสั่นไหวบริเวณทั่วภาคเหนือหลายจังหวัด รวมถึง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ที่เป็นอำเภอเดียวของจังหวัดฯ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับชายแดนไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า อ.ชาติตระการ

    ล่าสุด พันจ่าอากาศโท พงษ์พิชญ์ ภูลวรรณ ปลัดฝ่ายความมั่นคง อำเภอชาติตระการ กล่าวว่า เบื้องต้นพบบ้านเรือนชาวบ้าน หมู่ 1 ต.ชาติตระการ เกิดรอยร้าว 3 หลัง คือ 1. นายทน กุนนะ เลขที่ 47/2 หมู่ 1 ต.ชาติตระการ อ.ชาติตระการ ผนังปูนบริเวณห้องครัวหลังบ้าน 2. นายทองเรียน ทาสีดา เลขที่ 55/1 หมู่ 1 ต.ชาติตระการ อ.ชาติตระการ รอยร้าวบริเวณผนังหน้าบ้าน 3. นายชด คำอินทาง เลขที่ 93 หมู่ 1 ต.ชาติตระการ อ.ชาติตระการ รอยร้าวบริเวณผนังหัวเสาด้านข้างของบ้าน

    b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b8a7e0b8aae0b8b0e0b980e0b897e0b8b7e0b8ade0b899e0b896e0b8b6-2.jpg
    ทั้งนี้ ได้ทำรายงานถึงนายอำเภอชาติตระการเรียบร้อยแล้วพร้อมส่งให้จังหวัดรับทราบต่อไป ส่วนแนวทางช่วยเหลือจะประสานไปยัง อบต.เพื่อให้ความช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป

    นางวินิจ กุนนะ ชาวบ้านเลขที่ 47/2 หมู่ 1 ต.ชาติตระการ กล่าวว่า เช้าตรู่วันนี้รู้สึกได้ว่าบ้านยวบซ้ายและยวบขวา ลักษณะบ้านเอียง แต่สำรวจแล้วบ้านไม่ได้รับความเสียหายใดๆ เพียงแต่ผนังปูน ซึ่งติดกับเสาบ้านเกิดร้าวเป็นรอยยาวบริเวณผนังห้องครัวหลังบ้าน

    b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b8a7e0b8aae0b8b0e0b980e0b897e0b8b7e0b8ade0b899e0b896e0b8b6-3.jpg


    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/local/detail/9620000111821
     
  8. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8a2e0b899e0b899e0b988e0b8b2e0b899e0b984e0b894e0b989e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b89ce0b8a5e0b881e0b8a3.jpg

    วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 15.30 น.


    เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 เวลา 04.05 น. ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 38 ได้รับรายงานจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ความลึก 3 กิโลเมตร ในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงในพื้นที่จังหวัดน่าน และอีก 6 จังหวัดภาคเหนือ จากการตรวจสอบพบที่โรงเรียนบ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ได้รับความเสียหายมีผนังแตกร้าว, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 100 ปี บ้านสะไล หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อาคารเรียนได้รับความเสียหายเศษกระเบื้องแตก และ มีรอยร้าว , โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง หมู่ที่ 15 ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ได้รับความเสียหายมีผนังแตกร้าวและได้รับความเสียหายบริเวณเพดานและกำแพง

    และเมื่อเวลา 08.00 น. พลตรี จรัส ปัญญาดี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38/ ผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 38 มอบหมายให้หน่วยสัสดีทั้ง 15 อำเภอ และส่วนที่เกี่ยวข้อง เร่งเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลความเสียหายของบ้านเรือนประชาชนและอาคารสถานที่ของทางราชการ ภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดน่าน และให้รายงานให้ทราบเพื่อเตรียมการช่วยเหลือต่อไป ทั้งนี้ หน่วยได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ความช่วยเหลือเป็นการด่วนแล้ว


    ขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/region/170813
     
  9. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศลาว ตั้งแต่คืนวันที่ 20 พฤศจิกายนถึงช่วงเช้าวันที่ 21 พฤศจิกายนโดยมีระดับความรุนแรงต่ำสุดที่ 2.9 ริกเตอร์และสูงสุดที่ 6.4 ริกเตอร์ ส่งผลให้ประเทศไทย ได้รับผลกระทบถึงเเรงสั่นสะเทือนหลายจังหวัด

    a8e0b8a7e0b881e0b8a3-e0b88ae0b8b5e0b989-3-e0b981e0b899e0b8a7e0b897e0b8b2e0b887e0b980e0b895e0b8a3.jpg

    ภาพจากอีจัน

    หลังเกิดแผ่นดินไหว ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ได้ประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับคนกรุงเพื่อรับมือแผ่นดินไหว
    คือ
    1. จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนเรื่องผลกระทบจากแผ่นดินไหววิธีการดูแลอาคารให้ปลอดภัย
    2 มีการตรวจสอบอาคารตามความเสี่ยงโดยแบ่งประเภทของอาคารตามความเสี่ยง เช่นสีแดงอาคารเก่าที่เสี่ยงมากต้องปรับปรุงเสริมโครงสร้างทันทีสีส้มอาคารที่เสี่ยงระดับกลางที่ต้องหมั่นตรวจสอบตามกำหนดและสีเหลืองอาจมีความเสี่ยงเช่นมีการต่อเติม
    3 มีสถานีวัดแรงสั่นสะเทือนพร้อมแจ้งเตือนประชาชนในทุกช่องทางทันที

    e0b8a7e0b881e0b8a3-e0b88ae0b8b5e0b989-3-e0b981e0b899e0b8a7e0b897e0b8b2e0b887e0b980e0b895e0b8a3-1.jpg

    ภาพจากอีจัน

    สำหรับอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวคือ อาคารเก่าหรือมีการก่อสร้างก่อนปี 2550 เพราะอาคารลักษณะดังกล่าวได้รับการออกแบบและก่อสร้างมายาวนาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไม่นิ่งนอนใจเข้าตรวจสอบความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของอาคารอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในอนาคตอาจจะเกิดแผ่นดินไหวที่ขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น

    e0b8a7e0b881e0b8a3-e0b88ae0b8b5e0b989-3-e0b981e0b899e0b8a7e0b897e0b8b2e0b887e0b980e0b895e0b8a3-2.jpg

    ภาพจากอีจัน

    นายกสภาวิศวกรยังเปิดเผยอีกว่า สำหรับอาคารสูงรุ่นใหม่มักเป็นอาคารที่มีโครงสร้างรองรับการเกิดแผ่นดินไหวอยู่แล้ว เนื่องจากมี พ.ร.บ ควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้มีการก่อสร้างที่รองรับแผ่นดินไหว และออกแบบเพื่อรับแรงลม
    ขอบคุณที่มา
    https://www.ejan.co/news/5dd6581f85820
     
  10. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    วันนี้ (21 พ.ย. 62 ) เวลา 04.00 น. เมืองหงสา แขวงไซยะบุลี สปป.ลาว เกิดเหตุแผ่นดินไหว แรงสั่นสะเทือนระดับ 5.9 แมกนิจูด และอาฟเตอร์ช็อกอีก
    13 ครั้ง โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากตัวเมืองหงสา 28 ก.ม. และเมื่อเวลา 06.50 น. ก็ได้เกิดแผ่นดินไหว 6.4 แมกนิจูด ระดับความลึก 3
    กิโลเมตร

    e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b897e0b8b5e0b988.jpg

    ภาพจากอีจัน

    ทั้งนี้ ผลกระทบที่ตามมาจากเหตุแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อก ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก พระอุโบสถเก่าแก่ อายุ 400 ปี และบ้านเรือน
    ประชาชนเมืองหงสา แตกร้าว เสียหาย โดยเพจเป็นเรื่อง เป็นลาว ได้โพสต์ประมวลภาพความเสียหายในครั้งนี้ พร้อมระบุด้วยว่า ประชาชนเมืองหงสา
    บอกว่าเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีครั้งไหนหนักเท่านี้

    b8a0e0b8b2e0b89ee0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b897e0b8b5e0b988-1.jpg

    ภาพจากอีจัน

    ขณะที่ประเทศไทย ได้รับรายงานความรู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นที่จากเหตุแผ่นดินไหวที่ลาว ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จ.น่าน จ.แพร่
    จ.พะเยา จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำปาง จ.เลย จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี รวมทั้งกรุงเทพมหานคร

    b8a0e0b8b2e0b89ee0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b897e0b8b5e0b988-2.jpg

    ภาพจากอีจัน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.ejan.co/news/5dd6120364c61
     
  11. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8a5e0b881e0b8a3e0b8b0e0b897e0b89ae0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7.jpg

    เมื่อวันที่ 21 พ.ย. นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีเกิดแผ่นดินไหวในประเทศลาวซึ่งส่งผลกระทบถึงประเทศไทย ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นได้รับรายงานมีโรงพยาบาลได้รับผลกระทบ 3 แห่ง คือ 1. โรงพยาบาลเชียงคำ จ.พะเยา ผนังห้องผ่าตัดชั้น 3 ตึกอำนวยการ ร้าวเพิ่มเล็กน้อยจากรอยร้าวเดิม ไม่มีผลกระทบต่อตัวอาคารและระบบต่างๆ ในการให้บริการผู้ป่วย 2.โรงพยาบาลเลย พบว่าตึกสงฆ์มีรอยร้าวบริเวณผนัง ได้ย้ายผู้ป่วยห้องพิเศษ 10 ราย ไปอาคารผู้ป่วยใน และอยู่ระหว่างการสำรวจประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารจากเจ้าหน้าที่โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด และ 3. โรงพยาบาลยโสธร ได้ประสานสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเข้าไปตรวจสอบอาคาร 10 ชั้น และอาคาร 9 ชั้น พบว่าโครงสร้าง เช่น เสา คาน ไม่ได้รับผลกระทบ มีเพียงรอยร้าวเพิ่มจากรอยร้าวเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ ใน 3 พื้นที่ดังกล่าวปลอดภัยดี และยังสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ

    นพ.สุขุม กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์ และความแข็งแรงของอาคารสถานที่อีกครั้ง ในพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก เลย ขอนแก่น อุดรธานี บึงกาฬ หนองคาย เพื่อประเมิน 5 ด้าน คือ อาคารสถานที่ ระบบอ็อกซิเจน ระบบไฟฟ้า และไฟฟ้าสำรอง ระบบสาธารณูปโภค และผลกระทบต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ขอย้ำว่าเรื่องของการปรับโครงสร้างอาคารโรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขนั้นได้ดำเนินการมาสักระยะแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง จะเป็นอาคารที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเหตุแผ่นดินไหวด้วย อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 22 พ.ย. นี้ ตนจะมีการประชุมทางไกลร่วมกับสสจ. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพื่อสรุปสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง

    ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้ทีมสบส.เขตในพื้นที่ ลงไปสำรวจเรื่องสถานที่ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งจะมีการสรุปรายงานในวันที่ 22 พ.ย. นี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีแนวโน้มว่าอาจจะมีการเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นอีกได้ ดังนั้นตนได้ให้กองแบบแผนไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องอาคารสถานที่เพิ่มเติมด้วย หากจำได้ก่อนหน้านี้มีเหตุแผ่นดินไหวอยู่เราก็ได้มีการสำรวจและกำหนดพื้นที่เสี่ยง ว่าต้องมีการออกแบบอาคารสถานที่ให้สามารถต้านแผ่นดินไหวแล้ว แต่ก็จะมีการทบทวนเพิ่ม.

    ขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/politics/742850
     
  12. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b983e0b899e0b8a5e0b8b2e0b8a7-e0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899.jpg Image copyright HANDOUT/CK POWER/AFP/Getty Images
    คำบรรยายภาพ บริเวณเขื่อนไซยะบุรี เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา

    แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ที่เกิดขึ้นในประเทศลาว ก่อนเช้าตรู่วันนี้ (21 พ.ย.) มีจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวห่างจากชายแดนไทยที่ จ.น่าน ราว 20 กิโลเมตร คนไทยในหลายจังหวัดรวมถึงผู้อยู่ในตึกสูงใน กทม. รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้

    แผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายครั้งในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าเกิดจากการเคลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนปัว ซึ่งเป็นแนวรอยเลื่อนเปลือกโลกบริเวณรอยต่อของประเทศไทย และลาว

    มีรายงานความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสาในเมืองหงสา แขวงไซยะบุรี ประเทศลาว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นผู้ลงทุนโครงการระบุว่า ต้องหยุดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 2 วัน ส่วนในไทยปรากฏภาพความเสียหายของอาคารบางแห่งใน จ.น่าน


    ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแขวงไซยะบุรีของลาว ประมาณ 49 กิโลเมตร ขณะที่เขื่อนไซยะบุรี ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไซยะบุรีราว 40 กิโลเมตร แม้ครั้งนี้ บริษัทซีเค พาวเวอร์ ผู้ลงทุนก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีระบุว่า โครงสร้างหลักของตัวเขื่อนไม่ได้รับผลกระทบ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา บอกกับบีบีซีไทยว่า พื้นที่แขวงไซยะบุรี ยังมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่

    แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร และมีความเสี่ยงกับสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างเขื่อนไซยะบุรี ที่กั้นขวางลำน้ำโขงและอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวหรือไม่ บีบีซีไทยคุยกับ ศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ที่ปรึกษากรมทรัพยากรธรณี และอดีตอาจารย์ ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ศ.ดร.ปัญญา ชี้ว่าพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจาก แผ่นดินไหว เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนมีพลัง

    Image copyright EPA
    คำบรรยายภาพ ภาพจากพื้นที่ก่อสร้างอาคารในจังหวัดน่าน ถ่ายเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2562

    รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ เพราะเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไม่ลึก

    ศ.ดร.ปัญญา อธิบายว่าในทางธรณีวิทยา บริเวณทางตอนใต้ของจีน เวียดนาม และลาว มีรอยเลื่อนแขนงใหญ่ที่เรียกว่ารอยเลื่อนเดียนเบียนฟูซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ลากเส้นต่อจากแม่น้ำแดงของจีน รอยเลื่อนนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลัง

    ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาผู้นี้ ระบุว่าจากข้อมูลที่มีชี้ว่าพื้นที่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว มีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่อย่าง “ชุกชุม” แต่ยังไม่มีการสำรวจพิสูจน์ได้ครบทั้งหมด ขณะที่รอยเลื่อนหลายแห่งลากเส้นต่อเนื่องเข้ามาในพื้นที่ของไทย

    Image copyright Facebook/Lao Youth Radio FM 90.0 Mhz
    คำบรรยายภาพ สภาพความเสียหายของโรงไฟฟ้าหงสา

    สำหรับรอยเลื่อนที่อยู่ในบริเวณ จ.น่าน เรียกว่ารอยเลื่อนอุตรดิตถ์ เป็นรอยเลื่อนที่ลากผ่านมาทาง เมืองหลวงพระบาง ส่วนอีกรอยเลื่อนอีกหนึ่งแห่งคือรอยเลื่อนไซยะบุรี ซึ่งลากเส้นต่อเนื่องมายัง จ.เพชรบูรณ์ ของไทย

    ศ.ดร. ปัญญา กล่าวว่าสาเหตุที่แผ่นดินไหวในลาวครั้งนี้ สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ มากในไทยเป็นเพราะเกิดขึ้นในระดับไม่ลึกและเกิดในบริเวณที่มีรอยเลื่อนเชื่อมต่อกัน

    กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยระบุว่า แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ที่เกิดขึ้นในลาวครั้งนี้ มีความลึกจากผิวดิน 3 กิโลเมตร

    ที่ตั้้งเขื่อนไซยะบุรีเสี่ยงได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวหรือไม่

    เมื่อปี 2557 ศ.ดร. ปัญญา เคยออกมาเตือนในเรื่องอันตรายที่จะเกิดกับเขื่อนที่ก่อสร้างใกล้รอยเลื่อน ที่มีพลัง

    เขายังคาดการณ์ในปีนั้นว่า มีโอกาสราว 30 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางบริเวณ พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนในอีก 30 ปีข้างหน้า และมีโอกาสราว 10 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเกิดแผ่นดินไหว รุนแรงมากถึงขนาด 7 และชี้ชัดว่าไม่ควรสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในบริเวณดังกล่าว

    Image copyright EPA
    คำบรรยายภาพ ภาพจากสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ

    ศ.ดร. ปัญญา บอกกับบีบีซีไทยว่า แม้ที่ตั้งของเขื่อนไซยะบุรีตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่เป็นหินแข็ง เป็นรอยเลื่อนที่ตายแล้วไม่มีพลัง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือบริเวณใกล้เคียง เช่น ตัวเมืองไซยะบุรี เคยมีศึกษาแล้วว่ายังปรากฏรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็อาจส่งผลกระทบต่อตัวเขื่อนได้

    “รอยเลื่อนมีพลังมีโอกาสใกล้เคียงที่จะเกิดขึ้น คือขนาด 6 แต่ไม่ถึง 7 เราตรวจสอบเชิงพื้นที่ได้ แต่ไม่สามารถตรวจสอบเชิงเวลาได้” ศ.ดร. ปัญญา กล่าว “มันเหมือนโดมิโน ถึงต้องเฝ้าระวัง เพราะหากมีผลกระทบอาจทำให้เขื่อนมีปัญหา เช่น การตัดสโลป แลนด์สไลด์ หรือโครงสร้าง”

    ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา เห็นว่าความที่ลาวมีโครงการก่อสร้างเขื่อนในอนาคตอีกหลายแห่ง จึงควรสำรวจความเสี่ยงการแผ่นดินไหวในบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนทุกแห่ง

    Image copyright PIYAVIT THONGSA-ARD/BBCTHAI
    คำบรรยายภาพ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตก

    เคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในบริเวณเดียวกัน

    เมื่อเดือน ก.พ. 2554 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 ที่แขวงไซยะบุรี ส่วนบริเวณรอยต่อของประเทศไทย และ สปป. ลาว อธิบดีกรมกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 เมื่อปี 2478 เชื่อว่าเป็นอิทธิพลของการเลื่อนตัวของ “รอยเลื่อนปัว”

    นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมกรมทรัพยากรธรณี แถลงว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนปัว โดยรอยเลื่อนดังกล่าวเป็นรอยเลื่อนปกติ มีทิศทางการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ แนวของรอยเลื่อนเริ่มตั้งแต่บริเวณรอยต่อของประเทศไทยและ สปป.ลาว เรื่อยลงมาในพื้นที่ของ อ. ทุ่งช้าง อ.เชียงกลาง อ.ปัว และต่อเนื่องไปยัง อ.สันติสุข ของ จ.น่าน มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 110 กิโลเมตร

    ซีเค พาวเวอร์ แจงไม่กระทบโรงไฟฟ้าไซยะบุรีและน้ำงึม 2 ส่วนเอ็นจีโอ– นักวิชาการ ชี้ต้องมีแผนรับมือฉุกเฉิน

    บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในเครือ ช.การช่าง บริษัทไทยในฐานะผู้ลงทุน และดำเนินการเขื่อนและโรงไฟฟ้าไซยะบุรีในลาว และเขื่อนน้ำงึม 2 ระบุในแถลงการณ์ที่แจกสื่อมวลชนว่า จากการสำรวจเบื้องต้น โครงสร้างหลังของโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่ง ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน สปป.ลาว เมื่อเวลา 04.03 น.


    แถลงการณ์ระบุอีกว่า โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งยังคงเดินเครื่องผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ กฟผ. และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวตามสัญญาได้อย่างต่อเนื่องตามปกติ นอกจากนี้โครงสร้างและอุปกรณ์ ทุกส่วนของโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งเป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด

    เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยงจากภัยพิบัติสืบเนื่องจากเขื่อนนี้ ดร. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. มหาสารคาม ให้ความเห็นบนเฟซบุ๊ก Chainarong Setthachua ว่า เขื่อนไซยะบุรีต้องมีคือแผนเผชิญเหตุสิ่งแวดล้อมฉุกเฉิน (environmental emergency response plan)

    เขายกตัวอย่างเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกที่ลาวเมื่อปีที่แล้วว่า ไม่มีแผนดังกล่าว ส่งผลให้เมื่อเกิดภัยพิบัติเขื่อนแตกทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

    “เราไม่รู้ข้อมูลเลยว่าเขื่อนแห่งนี้ได้ออกแบบเพื่อต้านทานแผ่นดินไหวได้เท่าไหร่”

    สอดคล้องกับ เพียรพร ดีเทศน์ ผอ. รณรงค์ประเทศไทย องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) ที่ระบุว่า กฟผ. และบริษัทซีเค พาวเวอร์ ต้องเปิดเผยแผนรับมือฉุกเฉินต่อความเสี่ยงหากเกิดภัยพิบัติ

    เอกสารสารสนเทศของบริษัท ซีเค พาวเวอร์ ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุเกี่ยวกับความปลอดภัยไว้ว่า ได้ออกแบบและก่อสร้างประตูระบายนํ้าล้นและประตูระบายตะกอน ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อรองรับแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติอย่างเหมาะสม

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bbc.com/thai/thailand-50501931
     
  13. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    กระทรวงสาธารณสุข สำรวจความเสียหายโรงพยาบาลจากแผ่นดินไหวที่ประเทศลาว เบื้องต้น พบ 4 โรงพยาบาลภาคเหนือและภาคอีสานได้รับผลกระทบเล็กน้อย ไม่กระทบโครงสร้างและระบบบริการผู้ป่วย ทุกแห่งเปิดให้บริการได้ตามปกติ

    วันนี้ (21 พ.ย.2562) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีแผ่นดินไหวที่ประเทศลาวเมื่อช่วงเช้า และมีอาฟเตอร์ช็อคต่อเนื่อง ว่า ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก เลย ขอนแก่น อุดรธานี บึงกาฬ หนองคาย ประเมินผลกระทบต่อสถานบริการสาธารณสุข 5 ด้าน ได้แก่ อาคารสถานที่ ระบบออกซิเจน ระบบไฟฟ้าและไฟฟ้าสำรอง ระบบสาธารณูปโภค และ ผลกระทบต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่

    988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-4-e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2.png

    นพ.สุขุม ระบุว่า เบื้องต้นได้รับรายงานจากโรงพยาบาลว่า ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ปลอดภัย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ทุกแห่งเปิดให้บริการได้ตามปกติ มี 4 แห่งที่ได้รับผลกระทบ คือ โรงพยาบาลเชียงคำ จ.พะเยา ผนังห้องผ่าตัดชั้น 3 ตึกอำนวยการ ร้าวเพิ่มเติมเล็กน้อยจากรอยร้าวเดิม ไม่มีผลกระทบต่อตึกและระบบต่างๆ ในการบริการผู้ป่วย

    8e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-4-e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2-1.png

    โรงพยาบาลเลย ตึกสงฆ์มีรอยร้าวบริเวณผนัง ได้ย้ายผู้ป่วยห้องพิเศษ 10 รายไปอาคารผู้ป่วยใน อยู่ระหว่างสำรวจประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารจากเจ้าหน้าที่โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด รวมถึงโรงพยาบาลยโสธร ได้ประสานสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดยโสธร เข้าตรวจสอบอาคาร 10 ชั้น และอาคาร 9 ชั้น พบโครงสร้างหลักของอาคาร เช่น เสา คาน ไม่ได้รับผลกระทบ มีเพียงรอยร้าวเพิ่มจากรอยร้าวเดิม และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน

    8e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-4-e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2-2.png

    ทั้งนี้ ได้ให้กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เข้าตรวจสอบผลกระทบต่ออาคารแก่โรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย รวมทั้งให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ ติดตามประเมิน และให้คำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพจิต แก่ประชาชนที่อาจตื่นตระหนก มีความวิตกกังวลกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว

    ขอบคุณที่มา
    https://news.thaipbs.or.th/content/286328
     
  14. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b88ae0b987e0b8ade0b881-e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b882e0b8ade0b887e0b8a3e0b989e0b8b2e0b899e0b8aa.jpg
    ช็อกในช็อก! เจ้าของร้านสังฆภัณฑ์สะดุ้ง แผ่นดินไหว ตื่นลงมาดูหัวใจแทบวาย เงินหาย 1.5 หมื่น เปิดวงจรปิดถึงรู้ควาจริง คนร้ายย่องเข้ามาในร้าน งัดลิ้นชักฉกเงินหนี


    แผ่นดินไหว วันที่ 21 พ.ย. ร.ต.ท.(หญิง) วรรณภา พรมบัญชา รองสารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองอุดรธานี ได้รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายงัดร้านลานบุญสังฆภัณฑ์ เลขที่ 155/2 ถนนอุดรดุษฎี ตลาดบ้านห้วย เขตเทศบาลนครอุดรธานี จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมตำรวจชุดสืบสวน

    ที่เกิดเหตุเป็นอาคารพาณิชย์สูง 2 ชั้น 3 คูหา เปิดเป็นร้านจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ พบ น.ส.เจนจิรา ศิริทวีสุข อายุ 64 ปี เจ้าของร้าน ก่อนพาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจสอบบริเวณภายในร้าน พบว่าคนร้ายได้ใช้ของแข็งงัดประตูหลังร้านจนพังเสียหายแล้วเข้ามาขโมยทรัพย์สินในร้าน จากการตรวจสอบพบว่าคนร้ายได้งัดลิ้นชักโต๊ะทำงานแล้วได้เอาเงินสดไปประมาณ 15,000 บาท

    น.ส.เจนจิรา ให้การว่า ตนเปิดร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ที่นี่มานานแล้ว เมื่อวานนี้ได้ปิดร้านในช่วงหัวค่ำก่อนจะขึ้นไปพักผ่อน จนกระทั่งเวลาประมาณ 05.00 น. ก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเพราะตัวบ้านสั่นจากการเกิดแผ่นดินไหว จึงรีบงมาข้างล่าง และก็ต้องตกใจเมื่อพบว่าโต๊ะทำงานโดนงัดแล้วลิ้นชักถูกดึงออกมาวางไว้บนโต๊ะ เงินสดในลิ้นชักที่เก็บไว้จ่ายค่าสินค้าจำนวน 15,000 บาทได้หายไป จึงรีบโทรศัพท์บอกหลานชายให้มาเปิดกล้องวงจรปิดดู

    [​IMG] [​IMG]

    จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดพบว่าเวลา 00.22 น.ที่ผ่านมา มีคนร้ายเป็นชาย รูปร่างผอม สูงประมาณ 160–170 เซนติเมตร สวมเสื้อคุมแขนยาวแบบมีหมวกคลุมศีรษะ นุ่งกางเกงขายาว ใช้ผ้าปิดบังใบหน้า เข้ามาภายในร้าน แล้วเดินไปมา ภายในร้านค้นหาทรัพย์สินที่มีค่า ใช้เวลาประมาณ 10นาที ก่อนเดินออกไป

    กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
    0b88ae0b987e0b8ade0b881-e0b980e0b888e0b989e0b8b2e0b882e0b8ade0b887e0b8a3e0b989e0b8b2e0b899e0b8aa.png

    ร.ต.ท.(หญิง) วรรณภา เปิดเผยว่า เบื้องต้นจากการตรวจสอบภายในร้านและกล้องวงจรปิด คาดว่าคนร้ายอาจจะคุ้นเคยหรือรู้ช่องทางเข้าออกของร้านเป็นอย่างดี เนื่องจากในขณะลงมือ คนร้ายสวมเสื้อผ้าปิดบังมิดชิด เพื่อหลบกล้องวงจรปิด เข้ามาลักทรัพย์ภายในร้าน ซึ่งตำรวจจะได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดตามเส้นทางเพื่อหาเบาะแสติดตามคนร้ายดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

    ขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_3076659
     

แชร์หน้านี้

Loading...